เลขทะเบียน lab -302

การบริการของเรา รับวิเคราะห์น้ำ

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด รับตรวจวัดคุณภาพน้ำ วิเคราะห์น้ำเสีย และพารามิเตอร์น้ำอื่นๆ 

โดยผู้ทำการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพน้ำ จะใช้วิธีทดสอบ เครื่องมืออุปกรณ์ และสารเคมีโดยอ้างอิงตาม มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater ซึ่ง American Public Health Association, American Water Work เป็นมาตรฐานสากลที่เรามั่นใจนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด พารามิเตอร์ที่รับตรวจวัดคุณภาพน้ำ ได้แก่ pH, COD, BOD, TSS, TDS, อุณหภูมิ(Temperature), ซัลไฟด์ (Sulfide), ของแข็งจมตัว (Settleable solids), ความเป็นกรด-ด่าง (Acidity-Alkalinity)  เป็นต้น

ตรวจสอบราคาค่าวิเคราะห์ คลิกที่นี่

บริการเก็บตัวอย่างน้ำ

รับตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม

การบริการของเรา ครอบคลุมไปถึงการตรวจวัดสภาพแวดล้อม ตามกฏหมาย ได้แก่ ตรวจคุณภาพอากาศในสถานที่ทำงาน, ตรวจวัดปล่องระบายอากาศเสีย ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงงาน สถานที่ราชการ โรงพยาบาล เป็นต้น

รับตรวจคุณภาพน้ำดื่ม น้ำประปา น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน น้ำเสีย

เราสามารถให้คำแนะนำเพื่อตรวจตามมาตรฐานต่างๆที่กฏหมายกำหนด เราสามารถให้บริการลูกค้า ได้ทุกประเภท เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม คอนโดมิเนียม โรงพยาบาล หมู่บ้าน เป็นต้น

ตัวอย่างพารามิเตอร์น้ำต่างๆที่เราตรวจวัด

ภาพ  ห้องปฏิบัติการบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด

1. การวัดค่าค่าพีเอช (pH)

การวัดค่าpH เป็นค่าวัดค่าความเป็นกรดด่าง โดยใช้เครื่องวัดพีเอช (pH meter) โดยวิธีไฟฟ้า (Electrometric method) สามารถวัดค่าความเป็นกรดและด่างในน้ำเสียหรือน้ำธรรมดาได้ในช่วง 0-14

2. การวิเคราะห์ปริมาณของสารแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids, TSS)

รับวิเคราะห์ค่า TSS โดยวิธีระเหยแห้งที่อุณหภูมิ 103-105 องศาเซลเซียส  โดยสามารถรับวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำปริมาณสูงสุด 1000 มล. และต่ำสุด 10 มล. บริษัทสามารถรับวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสียได้ในช่วง 2.5-20,000 มิลลิกรัม/ลิตร

3. การวิเคราะห์ค่าบีโอดี (Biological Oxygen Demand, BOD)

รับวิเคราะห์ค่า BOD ในน้ำเสีย ซึ่ง ในห้องปฏิบัติการบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด เราใช้วิธี 5-Day BOD Test ซึ่งสามารถรับวิเคราะห์บีโอดีที่อยู่ในช่วงที่ต่ำที่สุดคือ 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร

4. การวิเคราะห์ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand:COD)

รับวิเคราะห์ COD โดยวิธี Closed Reflux-Titrimetric การวิเคราะห์ค่าซีโอดี ในห้องปฏิบัติการของเราใช้วิธีมาตรฐาน Closed Reflux-Titrimetric ห้องปฏิบัติการของเรา รับวิเคราะห์ค่าซีโอดีที่อยู่ในช่วงที่ต่ำที่สุดคือ 28 มิลลิกรัมต่อลิตร

5. รับวิเคราะห์ของแข็งละลายทั้งหมด (Total Dissolve Solids: TDS)

รับวิเคราะห์ค่าTDS ในตัวอย่าง โดยวิธีการระเหยแห้ง โดยใช้กับของแข็งละลายทั้งหมดอยู่ในช่วง 20-4,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ใช้น้ำตัวอย่างสูงสุดและต่ำสุดอยู่ในช่วง 10-200 มิลลิลิตรต่อกรัม

6. รับวิเคราะห์ค่าความร้อน (Heating value)

ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงที่ทันสมัย อย่าง Bomb calorimeter รุ่น IKA C3000 ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งตัวอย่างที่เป็นของแข็งและของเหลว

7. รับวิเคราะห์ซัลไฟด์ (Sulfide)

หลักการวิเคราะห์ซัลไฟด์ (Sulfide) คือ สารประกอบซัลไฟด์ที่สามารถละลายได้ด้วยกรดในตัวอย่าง จะทำปฏิกิริยากับไอโอดีนที่มากเกินพอ  ซัลไฟด์ในสารละลายจะถูกออกซิไดซ์ไปเป็นซัลเฟอร์ และทำการไตเตรทไอโอดีนคงเหลือ ด้วยสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต เพื่อหาปริมาณไอโอดีนที่ทำปฏิกิริยากับซัลไฟด์  และคำนวณกลับหาค่าซัลไฟด์นั่นเอง

หากท่านใดสนใจวิเคราะห์คุณภาพน้ำหรือน้ำเสียกับทางห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด ของเราสามารถติดต่อได้ที่ 0623370067 และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร ความรู้เพิ่มเติมได้ที่

Line: @thaitestlab

Facebook Fanpage: https://www.facebook.com/sscoillab

สนใจวิเคราะห์น้ำ น้ำเสีย น้ำดื่ม ติดต่อเราได้ทันที

รับวิเคราะห์ sulfide

หลักการวิเคราะห์ซัลไฟด์ (Sulfide) คืออะไร? มีวิธีการวิเคราะห์อย่างไร มาดูกัน

การวิเคราะห์ค่าซัลไฟด์ Sulfide คืออะไร? วิเคราะห์ได้อย่างไร? รับวิเคราะห์ค่าซัลไฟลด์ Sulfide ด้วยห้องปฏิบัติการมาตรฐาน

อ่านเพิ่มเติม
การจัดการของเสียห้องปฏิบัติการ

การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?

การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน

อ่านเพิ่มเติม
ห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการที่ดี ต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?

ห้องปฏิบัติการที่ดี อะไรคือสิ่งที่จะบ่งบอกว่าดีหรือไม่ดีจริงๆ?  วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยห้องปฏิบัติการที่ดีต้องทำอย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
moisture content คือ

ค่าความชื้น (Moisture Content) คืออะไร ? วิเคราะห์อย่างไร?

ค่าความชื้น (Moisture Content) คือ ปริมาณน้ำในกากตะกอน หิน และทราย ซึ่งแสดงอยู่ในรูปของเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก แล้ววิเคราะห์อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม