Table of Contents
ค่าความชื้น Moisture content คืออะไร?
ความชื้น (Moisture Content) คือ ปริมาณน้ำหนักของน้ำที่ประกอบอยู่ในสิ่งของหรือ วัสดุต่างๆ ซื่งโดยปกติจะอ่านค่าเป็น % ของน้ำหนักทั้งหมด(%wt) หรือ % ของปริมาตรทั้งหมด (%Vol)
ปริมาณความชื้น (Moisture content)เป็นตัวแปรที่สำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การเกษตร การก่อสร้าง การผลิต และการแปรรูปอาหาร ซึ่งความชื้นจะส่งผลต่อคุณภาพ ความคงตัว เป็นต้น
นั่นจึงเป็นเหตุผลให้การกำหนดและควบคุมความชื้น จึงมีความสำคัญต่อการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั่นเอง
สนใจวิเคราะห์ค่าความชื้น ราคาพิเศษ ติดต่อเราได้ทันที ปรึกษาฟรี
ขั้นตอนการวิเคราะห์ค่าความชื้น (Moisture Content) ทำได้อย่างไร ?
โดยวิธีการที่อ้างอิงและดัดแปลงตามมาตรฐานของ Standard Test Methods for Laboratory Determination of Water (Moisture) Content of Soil and Rock by Mass
ขั้นตอนที่ 1
นำภาชนะบรรจุและฝาปิดมาชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่ง 2 ตำแหน่ง และบันทึกค่าน้ำหนักก่อนบรรจุตัวอย่างลงในแบบฟอร์มบันทึก (ภาชนะต้องสะอาดและแห้ง) พร้อมระบุชื่อตัวอย่างไว้บนภาชนะ
ขั้นตอนที่ 2
นำภาชนะที่บันทึกค่าน้ำหนักของภาชนะแล้ววางไว้บนเครื่องชั่ง 2 ตำแหน่ง กด TARE ให้น้ำหนักเป็นศูนย์ นำตัวอย่างที่จะทดสอบชั่งให้ได้ 20 กรัม และบันทึกค่าลงในแบบฟอร์มบันทึก
ขั้นตอนที่ 3
ปิดภาชนะที่มีตัวอย่างอยู่ภายในด้วยฝาปิดให้แน่นหนา นำน้ำหนักของภาชนะและฝาปิดก่อนบรรจุตัวอย่าง บวก กับน้ำหนักของตัวอย่างลงในแบบฟอร์มบันทึก
ขั้นตอนที่ 4
เปิดฝาภาชนะบรรจุตัวอย่างก่อนนำภาชนะบรรจุตัวอย่างเข้าตู้อบ ที่อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นตัวอย่างประเภททรายใช้ 4 ชั่วโมง เวลาที่ต้องใช้ในการอบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ ประเภทและขนาดของตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 5
เมื่อครบตามเวลาที่ตั้งไว้ นำภาชนะบรรจุตัวอย่างออกจากตู้อบและปิดฝา นำไปทิ้งไว้ให้เย็นในโถดูดความชื้น
ขั้นตอนที่ 6
นำภาชนะบรรจุตัวอย่างที่อุณหภูมิลดลงแล้วมาชั่งน้ำหนักหลังอบบันทึกค่าลงในแบบฟอร์มบันทึกและนำค่าที่ได้มาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ความชื้น
วิธีการคำนวณผลทดสอบความชื้น
%water = (A – B / B – C) x 100
A = น้ำหนักของภาชนะบรรจุพร้อมฝาปิดและตัวอย่างก่อนอบ, g,
B = น้ำหนักของภาชนะบรรจุพร้อมฝาปิดและตัวอย่างหลังอบ, g,
C = น้ำหนักของภาชนะบรรจุพร้อมฝาปิด, g,
%Water(Moisture) = เปอร์เซ็นต์ความชื้น
และนี่คือ 6 ขั้นตอนการวิเคราะห์หาค่าความชื้น (Moisture Content) ในกากตะกอน หิน และทราย
สำหรับห้องปฏิบัติการ เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด (ว. 302)
เรายินดีให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสียตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น pH COD BOD TSS TDS Sulfide เป็นต้น โดยเครื่องมือที่ทันสมัยและผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน
ต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์น้ำ สามารถติดต่อเราได้ทางช่องทางต่างๆ
ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ บริการวิเคราะห์น้ำเสีย
โทร 062-337-0067 และ Line ID 062-337-0067
อีเมล : sscoillab@thailandwastemanagement.com
รับวิเคราะห์น้ำเสีย น้ำประปา น้ำดื่ม น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน
วิเคราะห์โลหะหนัก ทุกชนิด
ติดตามเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab
บทความน่ารู้เพิ่มเติม
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออะไร? ใช้งานอย่างไร?
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) เป็นเครื่องมือทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลาย กระดาษลิตมัสมีบทบาทสำคัญในการทำงานในห้องปฏิบัติการ
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) คืออะไร?
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ปฏิกิริยานี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้สารอีกตัวหนึ่งได้รับอิเล็กตรอนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างต่อเนื่อง
วิธีการเช็กคุณภาพน้ำดื่มด้วยตัวเองเบื้องต้น
น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา เราต้องแน่ใจว่าน้ำที่เราดื่มนั้นสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้
วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด
น้ำเสียคืออะไร วิเคราะห์อย่างไร (Sewage Waste Analysis)
น้ำเสีย (Sewage waste) คืออะไร แล้วเรามีวิธีการวิเคราะห์ Analysis อย่างไรบ้าง
อุณหภูมิ (Temperature) คืออะไร?
อุณหภูมิ (Temperature) คือหน่วยที่ใช้บอกความรู้สึกต่อความเย็นหรือความร้อน โดยหลักการในการวัดของอุณหภูมิเป็นการใช้พลังงานจลน์ที่เป็นค่าเฉลี่ยของอนุภาคในสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นพลังงานประเภทหนึ่ง