Table of Contents
นอกจากเรื่องคุณภาพในการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการ ความสำคัญรองลงมา ที่ถ้าหากไม่วางแผนให้ดีอาจทำให้คุณสมบัติที่ดีของห้องปฏิบัติการขาดหายไป สิ่งนั้นคือ “ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ’’
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการแบ่งออกเป็นหลายๆส่วนซึ่งต้องวางแผนให้ครบทุกมิติครับ ซึ่งในบทความนี้เราจะเน้นความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการในส่วน “การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ’’ กันครับ
การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ เริ่มอย่างไร?
การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ ก่อนอื่นห้องปฏิบัติการนั้นๆ จะรู้อยู่แล้วว่าห้องปฏิบัติการของตนเองนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อการวิเคราะห์ประเภทไหน เช่น ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ น้ำเสีย น้ำดื่ม ก็ต้องวางแผนว่าจะวิเคราะห์ พารามิเตอร์อะไรบ้าง เช่น COD BOD pH TSS TDS โลหะหนักหรืออื่นๆ
ดังนั้นห้องปฏิบัติการจะรู้ว่าต้องใช้สารเคมีอะไรบ้างในการวิเคราะห์พารามิเตอร์เหล่านั้น หลังจากนั้นจะมีการดำเนินการจัดซื้อสารเคมีเข้ามาในห้องปฏิบัติการ
6 ขั้นตอนในการจัดการสารเคมี
โดยทั่วไปจะเริ่มจากจุดนี้ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นทั้งหมดคราวๆ 6 ขั้นตอนดังนี้
1. รับสารเคมี
ขั้นตอนการรับสารเคมีนี้ จะเป็นการตรวจสอบว่าสารเคมี ตรงตามที่ห้องปฏิบัติการได้สั่งซื้อหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ยี่ห้อ เกรดของสารเคมี ภาชนะที่บรรจุสารเคมีอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จำนวนที่สั่งซื้อ
2. ตรวจสอบเอกสารประจำตัวของสารเคมี
สารเคมีแต่ละชนิดจะมีเอกสารกำกับ เช่น เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (SDS) เอกสารรับรองผลการวิเคราะห์คุณภาพของสารเคมี (COA) ให้ดำเนินการตรวจสอบว่า ชื่อ ยี่ห้อ ความเข้มข้นสารเคมีในเอกสารเหล่านี้ตรงตามความต้องการของห้องปฏิบัติการหรือไม่
3. ลงทะเบียนสารเคมี
ขั้นตอนลงทะเบียนสารเคมีนี้ ห้องปฏิบัติการต้องทำแบบฟอร์มขึ้นมาเพื่อลงบันทึกประวัติสารเคมีที่รับเข้ามา ข้อมูลที่ควรบันทึกลงไปควรมี ดังนี้ ชื่อสารเคมี ยี่ห้อ ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า CAS No. วัตถุประสงค์ในการใช้งาน ปริมาณรับเข้า วันที่ลงทะเบียนสารเคมี รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีชนิดนั้นๆที่ต้องปฏิบัติตาม การลงทะเบียนสารเคมีจะเป็นการลงทะเบียนในครั้งแรกที่นำมาใช้ในห้องปฏิบัติการ
4. การจัดเก็บสารเคมี
ก่อนจะถึงขั้นตอนการจัดเก็บต้องทราบก่อนว่า สารเคมีที่จะจัดเก็บจะต้องพิจารณาคุณสมบัติของสารเคมีในเรื่องไหน และเรื่องไหนไม่นำมาพิจารณา รวมถึงสารเคมีที่จะจัดเก็บนั้นแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
โดยในบทความนี้ขออ้างอิงตาม ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องคู่มือ การเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ.2550
อ่านเพิ่มเติมได้จาก http://eis.diw.go.th/haz/hazard/pdf/pagad-kep-2550.pdf
4.1 การจัดเก็บสารเคมีพิจารณาตามคุณสมบัติของสารเคมี
การจัดเก็บสารเคมีในห้องปฏิบัติการจะพิจารณาจากความเป็นอันตรายของสารเคมีโดยจัดลำดับความสำคัญ ดังนี้
- สารติดเชื้อ (ประเภท 6.2)
- วัสดุกัมมันตรังสี (ประเภท 7)
- วัตถุระเบิด (ประเภท 1)
- ก๊าซอัด ก๊าซเหลว หรือก๊าซที่ละลายภายใต้ความดัน หรือก๊าซภายใต้ความดันในภาชนะบรรจุขนาดเล็ก (กระป๋องสเปรย์) (ประเภท 2A 2B)
- สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (ประเภท 4.2)
- สารให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ (ประเภท 4.3)
- สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (ประเภท 5.2)
- สารออกซิไดซ์ (ประเภท 5.1A, 5.1B และ5.1C)
- ของแข็งไวไฟ (ประเภท 3A และ3B)
- สารติดไฟที่เป็นสารพิษ (ประเภท 6.1A)
- สารไม่ติดไปที่เป็นสารพิษ (ประเภท 6.1B)
- สารติดไฟที่เป็นสารกัดกร่อน (ประเภท 8A)
- สารไม่ติดไฟที่เป็นสารกัดกร่อน (ประเภท 8B)
- ของเหลวติดไฟที่ไม่อยู่ในประเภท 3A หรือ 3B (ประเภท 10)
- ของแข็งติดไฟ (ประเภท 11)
- ของเหลวไม่ติดไฟ (ประเภท 12)
- ของแข็งไม่ติดไฟ (ประเภท 13)
หมายเหตุ : สารเคมีที่เป็นสารผสม มีส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิด การเก็บรักษาให้เป็นไปตามคุณสมบัติหลัก*ของสารผสมนั้น ดูจาก SDS
4.2 การจัดเก็บสารเคมีพิจารณาตามประเภทสารเคมี
ประเภทของสารเคมีมีทั้งหมด 13 ประเภทดังนี้
- ประเภท 1 วัตถุระเบิด (Explosive substance)
- ประเภท 2A ก๊าซอัด ก๊าซเหลว หรือก๊าซที่ละลายภายใต้ความดัน (Compressed liquefied and dissolved gases)
- ประเภท 2B ก๊าซภายใต้ความดันในภาชนะบรรจุขนาดเล็ก (Pressurized small gas containers; aerosol can/aerosol container)
- ประเภท 3A ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) คือ ของเหลวที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส
- ประเภท 3B ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) คือ ของเหลวที่มีจุดวาบไฟระหว่าง 60 ถึง 93 องศาเซลเซียส
- ประเภท 4.1A ของแข็งไวไฟ (Flammable solids) ที่มีคุณสมบัติระเบิด (มีการเจือจางกับสารอื่นเพื่อข่มการคุณสมบัติการระเบิดไว้)
- ประเภท 4.1B ของแข็งไวไฟ (Flammable solids) ที่ไม่มีคุณสมบัติระเบิด สามารถติดไฟได้เมื่อเกิดการเสียดสี
- ประเภท 4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances liable to spontaneous combustion) ได้แก่ สาร Pyrophoric และ สาร Self-heating
- ประเภท 4.3 สารให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ (Substances which in contact with water emit flammable gases)
- ประเภท 5.1A 5.1B 5.1C สารออกซิไดซ์ (Oxidizing substances)
- ประเภท 5.2 สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (Organic peroxides)
- ประเภท 6.1A และ 6.1B สารพิษ (Toxic substances) แบ่งออกเป็น 6.1A คือ สารติดไฟที่มีคุณสมบัติความเป็นพิษ (Combustible toxic substances) และ 6.1B คือ สารไม่ติดไฟที่มีคุณสมบัติเป็นพิษ (Non-combustible toxic substances)
- ประเภท 6.2 สารติดเชื้อ (Infectious substances)
- ประเภท 7 วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive substances)
- ประเภท 8A และ 8B สารกัดกร่อน (Corrosive substances) แบ่งออกเป็น 8A คือสารติดไฟที่มีคุณสมบัติกัดกร่อน และ 8B คือสารที่ไม่ติดไฟที่มีคุณสมบัติกัดกร่อน
- ประเภท 9 เป็นวัตถุอันตรายประเภทอื่นๆ
- ประเภท 10 ของเหลวติดไฟ (Combustible liquids) คือของเหลวติดไฟที่ไม่ได้จัดอยู่ในประเภท 3A หรือ 3B
- ประเภท 11 ของแข็งติดไฟ (Combustible solids) คือของแข็งติดไฟที่ไม่อยู่ในประเภทของแข็งไวไฟ 4.1B
- ประเภท 12 ของเหลวไม่ติดไฟ (Non-combustible liquids)
- ประเภท 13 ของแข็งไม่ติดไฟ (Non-combustible solids)
4.3 ขั้นตอนการเก็บรักษา
การจะเก็บรักษาสารเคมีจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าเราไม่รู้ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีนั้นๆ ดังนั้นต้องศึกษาข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีจาก SDS ที่เราได้มาตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารประจำตัวของสารเคมีหลัก
จากนั้นดูคุณสมบัติ และแบ่งประเภทสารเคมีออกตาม ข้อ4.1 และ 4.2 ตามลำดับ และวิธีการจัดเก็บสารเคมีตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการจัดเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตรายแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ
- การจัดเก็บแบบแยกบริเวณ : เก็บสารเคมีแยกบริเวณออกจากกัน
- การจัดเก็บแบบแยกห่าง : สารเคมี 2 ชนิดขึ้นไปจัดเก็บในบริเวณเดียวกัน แต่ต้องมีมาตรการป้องกันที่ดี
ขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่ห้องปฏิบัติการจะเก็บสารเคมีในปริมาณที่ไม่มากเท่ากับโรงงานอุตสาหกรรมแต่สามารถนำหลักการนี้ไปใช้ได้ในห้องปฏิบัติการของตนเองร่วมกับ หลักการอื่นๆเช่น การเรียงตามตัวอักษรหลังจากที่แยกคุณสมบัติของสารเคมี และประเภทของสารเคมีและมีการจัดเก็บตามวิธีข้างต้นไปแล้วสามารถนำเรียงตามตัวอักษรของสารเคมีในกลุ่มการจัดเก็บนั้นๆ
5. ขั้นตอนการกำหนดมาตรการป้องกัน
ขั้นตอนนี้เป็นการหามาตรการป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากการใช้สารเคมี การจัดเก็บสารเคมี หรืออันตรายอื่นๆที่จะเกิดขึ้นได้ โดยทั่วไปห้องปฏิบัติการควรมีมาตรการคราวๆ ดังนี้
- การจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยจากสารเคมีให้ผู้ปฏิบัติงานให้ห้องปฏิบัติการ
- มาตรการบังคับ เช่น ห้ามรับประทานอาหารเครื่องดื่ม ห้ามนำสารเคมีออกจากห้องปฏิบัติการเด็ดขาด มีผู้ควบคุมดูแลตรวจสอบการใช้สารเคมี เมื่อมีใช้สารเคมีแล้วทุกครั้งต้องล้างมือ
- ติดป้ายเครื่องหมายความเป็นอันตรายของสารเคมีในจุดที่จัดเก็บสารเคมี รวมถึงข้องมูลความปลอดภัยของสารเคมี SDS รวมถึงประเมินความเสี่ยงจากสารเคมีแต่ละตัว มีแผนรองรับ และควรมีการซ้อมแผนฉุกเฉินกรณีสารเคมีหกรั่วไหล
- บุคคลภายนอกห้ามเข้ามาในพื้นที่จัดเก็บสารเคมี
- มีขั้นตอนการจัดการขยะปนเปื้อนสารเคมี เช่น การจัดการภาชนะที่ใส่สารเคมีแล้ว
6. ขั้นตอนการเบิกจ่ายสารเคมี
ขั้นตอนนี้ห้องปฏิบัติการต้องจัดทำแบบฟอร์มในการบันทึกข้อมูลการใช้สารเคมีในห้องปฏิบัติการ เช่น วันที่เปิดใช้งาน ปริมาณที่ใช้ในแต่ละครั้ง วัตถุประสงค์การใช้งาน วันหมดอายุ ลงชื่อผู้ใช้งาน
สรุป การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ
จะเห็นได้ว่าการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในเฉพาะด้าน เป็นการลดความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีและบ่งบอกถึงความเป็นมาตรฐานของห้องปฏิบัติการนั้นๆ
ห้องปฏิบัติการบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด มีการจัดการและจัดเก็บสารเคมีตามมาตรฐาน และตามมาตรการที่ถูกต้อง เรามีการให้บริการในการวิเคราะห์น้ำทุกประเภทมาตรฐานในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม คอนโดมิเนียม โรงแรม พร้อมทั้งมีบริการเก็บตัวอย่างถึงที่ เปิดให้บริการวันจันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 8.00-17.00 น.
สำหรับท่านที่สนใจต้องการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำหรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์สามารถติดต่อมาที่
เบอร์โทรศัพท์ 062-337-0067
ช่องทาง Line : @thaitestlab
อีเมล์ sscoillab@thailandwastemanagement.com
และสามารถติดตามผลงานของพวกเราได้ที่ช่องทาง
Facebook : ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ บริการวิเคราะห์น้ำเสีย
TikTok : thaitestlab
บทความน่ารู้เพิ่มเติม
วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด
น้ำเสียคืออะไร วิเคราะห์อย่างไร (Sewage Waste Analysis)
น้ำเสีย (Sewage waste) คืออะไร แล้วเรามีวิธีการวิเคราะห์ Analysis อย่างไรบ้าง
อุณหภูมิ (Temperature) คืออะไร?
อุณหภูมิ (Temperature) คือหน่วยที่ใช้บอกความรู้สึกต่อความเย็นหรือความร้อน โดยหลักการในการวัดของอุณหภูมิเป็นการใช้พลังงานจลน์ที่เป็นค่าเฉลี่ยของอนุภาคในสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นพลังงานประเภทหนึ่ง
สารแขวนลอย (Suspension) คืออะไร?
สารแขวนลอย เป็นสารที่มีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าที่กระจายและลอยตัวอยู่ในน้ำ
หน่วย ppm คืออะไร
หน่วย ppm (part per million) คืออะไร แล้วมันสามารถคำนวนได้อย่างไร ทำไมปริมาณสารเคมีที่น้อยมากๆถึงต้องใช้หน่วยวัดนี้
ปริมาณออกซิเจนในน้ำ (DO หรือ Dissolved oxygen) คืออะไร
ปริมาณออกซิเจนในน้ำหรือ DO คืออะไรกันแน่ ค่านี้บ่อบอกอะไรถึงคุณภาพน้ำกันได้บ้าง น้ำดีน้ำเสียควรมีค่า DO อย่างไร?