เลขทะเบียน lab -302

ค่าBOD

BOD คืออะไร? วิธีวิเคราะห์ BOD (Biochemical Oxygen Demand)

สารบัญ

ค่าบีโอดี (BOD) คืออะไร?

ค่าBODคือ
วิเคราะห์น้ำ BOD
หาBOD

ค่าบีโอดี BOD ย่อมาจาก Biological Oxygen Demand หมายถึง การหาปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการหายใจ หรือการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ค่าบีโอดีจึงสามารถบอกถึงลักษณะของน้ำเสียได้ว่ามีความสกปรก (ในรูปสารอินทรีย์) มากหรือน้อยแค่ไหน หากในแหล่งน้ำมีค่า BOD สูงแสดงว่า น้ำมีปริมาณสารอินทรีย์ที่มากทำให้จุลินทรีย์ในน้ำใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายมากขึ้น ทำให้ออกซิเจนที่ละลลาย (DO) มีค่าลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย 

นอกจากนี้ ค่า BODของน้ำยังเป็นตัววัดที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของโรงงานบำบัดน้ำเสียและการบำบัดน้ำเสียในกระบวนการบำบัดน้ำทั้งหมด และในการควบคุมการปล่อยน้ำเสียไปยังสิ่งแวดล้อมน้ำธรรมชาติให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้อีกด้วย 

ค่า BOD น้ำเสียหากในน้ำเสียมีค่าบีโอดีสูง เมื่อถูกทิ้งลงในแหล่งน้ำ จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำลดลง จนอาจเกิดสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้น้ำนั้นเน่าเสียได้

ค่า BOD มีหน่วยเป็น มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L) ซึ่งเป็นปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ที่ใช้ในการบ่มที่อุณหภูมิ 20 °C เป็นระยะเวลา 5 วัน

 

สนใจวิเคราะห์ BOD ติดต่อโทร 062-337-0067 และ Line ID 062-337-0067

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับค่า BOD

กฏหมาย BOD

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับค่า BOD มีดังนี้

  • ค่า BOD ในน้ำตามกฏหมายมาตรฐานน้ำทิ้ง ซึ่งค่า bod มาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานของกระทรวงอุตสาหกรรมมีค่าไม่เกิน 20 มก./ล.
  • ค่า BOD ในน้ำตามกฎหมายมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด ต้องมีค่า BOD ไม่เกิน 20 มก./ล.
  • ค่า BOD ที่เหมาะสมสำหรับน้ำที่ไม่มีมลพิษเพิ่มเติม เช่น BOD ในน้ำดี BOD ในน้ำประปา มีค่าอยู่ระหว่าง 3 ถึง 6 มก./ล.

ซึ่งในน้ำที่มีสารมลพิษเพิ่มเติมจะมีค่า BOD สูงมากยิ่งขึ้น

ค่า BOD เท่าไรต้องมีผู้ควบคุมมลพิษน้ำ?

ในกรณีที่โรงงานที่มีน้ำเสียปนเปื้อนสารอินทรีย์ ตั้งแต่ 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (ยกเว้นน้ำหล่อเย็น) หรือมีปริมาณความสกปรกก่อนเข้าระบบบำบัด (BOD Load of Influent) ตั้งแต่ 100 กิโลกรัม ต่อวันขึ้นไป

โรงงานนั้นจะต้องมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน ซึ่งได้แก่ ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม และ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ

ค่า BOD กับ COD ต่างกันอย่างไร?

ห้องแลปวิเคราะห์น้ำ

การดูค่า BOD นั้น ส่วนมากจะมีการดูค่าความสกปรกเทียบกับค่า COD (chemical oxygen demand) อีกด้วย ซึ่งค่า COD จะเป็น ค่าปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ 

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ค่า COD จะมากกว่า ค่า BOD เสมอ ถ้าค่า BOD:COD สูง เช่นน้ำเสียจากโรงฆ่าสัตว์ น้ำจากโรงงานผลไม้สำเร็จรูป เป็นต้น จะเหมาะแก่การบำบัดทางชีวภาพ มากกว่าการบำบัดด้วยเคมี

ดูข้อมูลเรื่องค่า COD เพิ่มเติมที่นี่

ค่า BOD กับ ค่า DO ต่างกันอย่างไร ?

ค่า DO ย่อมาจาก Dissolved oxygen คือ ปริมาณออกซิเจนในน้ำ ณ ช่วงหนึ่ง มีหน่วยเป็น มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L) ส่วนค่า BOD จะเป็นการวัดค่า DO วันแรก ที่เรียกกันว่า DO0 และนำไปบ่มต่ออีก 5 วัน นำมาวิเคราะห์ DO วันที่ห้า ที่เรียกกันว่า DO5 เมื่อนำผลต่างของปริมาณออกซิเจนในน้ำวันแรกและวันที่ห้า มาคำนวณเพื่อหาค่า BOD

โดยในธรรมชาติน้ำจะมีออกซิเจนละลายประมาณ 8- 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งค่าออกซิเจนในน้ำจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิ ความดันของน้ำ เป็นต้น

ค่า BOD สูงเกิดจากอะไร?

BOD (Biochemical Oxygen Demand) เกิดจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำโดยจุลินทรีย์และจุลินทรีย์เล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อม 

โดยแหล่งน้ำที่มีค่า BOD สูงมักมีแหล่งกำเนิดมาจาก 3 ประเภทด้วยกัน

  1. น้ำเสียมาจากโรงงานอุตสาหกรรม :  และกิจกรรมมนุษย์อื่น ๆ มีปริมาณสารอินทรีย์ที่สูง เช่น น้ำหลังจากกระบวนการผลิตอาหาร น้ำเสียจากการเคลื่อนไหวของยานพาหนะ และน้ำเสียจากการบำบัดน้ำมัน ซึ่งประกอบไปด้วยปริมาณมากของไขมัน โปรตีน และสารอื่น ๆ ที่สามารถย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ได้
  2. น้ำจากการเกษตร: น้ำที่ไหลลงมาจากพื้นที่ที่เพาะปลูก และที่มีการใช้สารเคมีในการเกษตร อาจมีสารอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้ น้ำนี้อาจมีปริมาณสารเคมีต่าง ๆ ที่จะเป็นแหล่งของ BOD เมื่อถูกนำไปล้างผ่านแหล่งน้ำต่าง ๆ
  3. น้ำพื้นบึงและแม่น้ำ: น้ำจากพื้นบึงและแม่น้ำเช่นกัน มีสารอินทรีย์จากการหล่อลื่นของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ในน้ำ เมื่อเกิดกระบวนการย่อยสลายจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด BOD

ในแหล่งน้ำเดียวกัน ค่า COD กับ ค่า BOD จะเป็นอย่างไร ?

ในแหล่งน้ำเดียวควรมีการวิเคราะห์ทั้งค่า BOD และ COD เนื่องจากเป็นดัชนีวัดความสกปรกในน้ำทั้งสองรายการ ซึ่งเกี่ยวกับปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำเหมือนกัน ทั้งนี้หากจะต้องมีการวิเคราะห์ค่า BOD และ COD ควรพิจารณาวิธีการเก็บตัวอย่างด้วย เนื่องจากในแหล่งน้ำแต่ละที่มีขนาดแตกต่างกัน อาจจะทำค่า BOD และ COD ในแต่ละจุดเก็บตัวอย่างแตกต่างกันได้

ความสำคัญของ BOD ในระบบบำบัดน้ำเสีย

ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียจำเป็นต้องทราบค่า BOD ในรายการ BOD loading ซึ่งเป็นปริมาณของ BOD ที่ถูกนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำ เป็นการวัดปริมาณของสารอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้ในน้ำโดยจุลินทรีย์

ซึ่ง BOD loading เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินปริมาณของสารอินทรีย์ที่ต้องถูกย่อยสลายภายในระบบบำบัดน้ำในระยะเวลาที่กำหนด

ปริมาณของ BOD loading ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำ โดยทั่วไปแล้ว เมื่อ BOD loading เพิ่มขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพในการลด BOD ของระบบลดลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำในระบบน้ำนั้นๆ และสิ่งมีชีวิตในน้ำได้

สูตรการหา BOD Loading :

BOD Loading (กก/วัน) = ค่า BOD (มิลลิกรัมต่อลิตร) x ปริมาณน้ำเสียเข้าระบบ (ลิตรต่อวัน)

การเก็บตัวอย่างน้ำก่อนทดสอบค่าบีโอดี BOD ทำอย่างไร?

การเก็บให้เก็บด้วยขวดแก้วหรือขวดพลาสติกชนิดโพลีเอทีลีน การรักษาสภาพให้แช่เย็นที่ ≤ 6 องศาเซลเซียส สามารถรักษาตัวอย่างได้ประมาณ 48 ชั่วโมง เท่านั้น

ทำไมต้องเลือกห้องแลปเรา

ทำไมต้องมีการ Dilute น้ำและมีการเติมหัวเชื้อ ก่อนวัดค่า BOD?

เนื่องจากออกซิเจนในอากาศสามารถละลายได้ในจำนวนจำกัด คือ ปริมาณ  9 มิลลิกรัมต่อลิตรในน้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิที่ 20 องศาเซลเซียส ดังนั้นในการทดสอบค่าบีโอดีในน้ำเสียซึ่งมีความสกปรกมาก จึงจำเป็นต้องทำให้ปริมาณความสกปรกเจือจาง อยู่ในระดับสมมูลพอดีกับปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่ 

เนื่องจากการทดสอบค่าบีโอดีนี้ เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในน้ำ จึงจำเป็นต้องทำให้น้ำ มีสภาพที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ คือ ไม่มีสารพิษ แต่มีอาหารเสริมเพียงพอสำหรับจุลินทรีย์ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส 

นอกจากนี้การย่อยสลายสารอินทรีย์ให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำจะกระทำโดยจุลินทรีย์หลายชนิด จึงจำเป็นต้องมีปริมาณจุลินทรีย์ต่างๆ เหล่านี้อย่างเพียงพออยู่ในน้ำตัวอย่างที่จะทำให้การทดสอบ ถ้าไม่มีหรือปริมาณน้อยเกินไปควรเติมจุลินทรีย์ซึ่งเรียกว่า หัวเชื้อ (Seed) ลงไปด้วย

ตารางที่ 1. การเจือจางตัวอย่าง กรณีการเจือจางใน Volumetric Glassware อื่นๆ 

%การเจือจาง

ช่วงบีโอดี (mg/L)

0.01

20,000-70,000

0.02

10,000-35,000

0.05

4,000-14,000

0.1

2,000-7,000

0.2

1,000-3,500

0.5

400-1,400

1

200-700

2

100-350

5

40-140

10

20-70

20

10-35

50

4-14

100 (ไม่เจือจาง(

0-7

บริการรับวิเคราะห์น้ำเสีย

ค่าBOD

การวิเคราะห์ BOD ทำได้อย่างไร สอนวิเคราะห์ BOD อย่างละเอียด

การวัดค่า BOD ในน้ำมีหลายวิธี เข่น 5-Day BOD Test, Ultimate BOD Test, Respirometric Method  เป็นต้นแต่ในบทความนี้จะขอพูดวิธีการวัดค่า BOD ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายนั่นคือ วิเคราะห์ BOD โดยใช้วิธี 5 – Day BOD Test

เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ BOD โดยใช้วิธี 5 – Day BOD Test และหาค่าออกซิเจนละลายน้ำ หรือ  DO ( Dissolved Oxygen) ตามมาตรฐาน Standard Method for the Examination of Water and Wastewater, APHA, AWWA, WEF.23th ed. Washington, DC: APHA, 2017. Part 5000, 5210 B มีดังนี้

เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับวิเคราะห์บีโอดี BOD

  1. ขวดบีโอดี (BOD Bottle) – ขนาด 300 มิลลิลิตร และจุกแบบ Ground – Glass พร้อมฝาครอบพลาสติก  (BOD Cap)
  2. ตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Incubator) – ที่สามารถป้องกันไม่ให้แสงผ่านเข้าไปได้และสามารถควบคุมอุณหภูมิ 20 ± 1 องศาเซลเซียส โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน ± 1 องศาเซลเซียส
  3. ตู้อบลมร้อน (Hot Air Oven)
  4. เครื่องชั่ง 4 ตำแหน่ง (Analytical balance 4 decimal places)
  5. เครื่องชั่ง 2 ตำแหน่ง (Analytical balance 2 decimal places)
  6. เครื่องกวนแม่เหล็ก (Magnetic Stirrer) และแท่งแม่เหล็ก (Magnetic Bar)
  7. กระบอกตวง (Cylinder) ขนาด 100, 500 และ1000 มิลลิลิตร
  8. ปิเปตแบบปริมาตร (Volumetric Pipette) ขนาด 0.1, 1.0, 10, 25, 50, 100 มิลลิลิตร
  9. เครื่องจ่ายลม และหัวฟู่ (หัวจ่ายลม), ลูกยาง
  10. บีกเกอร์ (Beaker) ขนาด 1000 มิลลิลิตร
  11. แท่งแก้วคนสาร
  12. ขวดสำหรับฉีดล้างชนิดพลาสติก (Washing Bottle)

สารเคมีที่ต้องเตรียมในวิเคราะห์บีโอดี BOD

บทความน่ารู้

  1. น้ำที่ใช้ในการเตรียมน้ำเจือจาง (Dilution Water) – สามารถใช้น้ำกลั่นหรือน้ำ DI หรือน้ำ RO  ที่ปราศจากโลหะโดยเฉพาะทองแดง และสารพิษที่รบกวนการทดสอบบีโอดี เช่น คลอรีน
  2. สารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ (Phosphate Buffer Solution) – ละลายมอนอโพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (KH2PO4) 8.5 กรัม โซเดียมฟอสเฟต  (Na2HPO4.7H2O) 33.4 กรัม ไดโพแทสเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต (K2HPO4) 21.75 กรัม  และแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) 1.7 กรัม ในน้ำรีเอเจนต์ 500 มิลลิลิตรแล้วเจือจางเป็น 1000  มิลลิลิตร สารละลายนี้จะมีค่า pH เท่ากับ 7.2
  3. สารละลายแมกนีเซียมซัลเฟต (Magnesium Sulfate Solution) – ละลายแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปต้าไฮเดรต (MgSO4.7H2O) 22.5 กรัม ในน้ำรีเอเจนต์ปรับปริมาตรเป็น  1000 มิลลิลิตร
  4. สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride Solution) – ละลายแอนไฮดรัสแคลเซียมคลอไรด์ (Anhydrous CaCl2) 27.5 กรัมในน้ำรีเอเจนต์ปรับปริมาตรเป็น 1000 มิลลิลิตร
  5. สารละลายไอร์รอน (III) คลอไรด์ (Iron (III) Chloride Solution) –  ละลายไอร์รอน (III) คลอไรด์เฮกซาไฮเดรต (FeCl3.6H2O) 0.25 กรัมในน้ำรีเอเจนต์ปรับปริมาตรเป็น 1000 มิลลิลิตร
  6. สารละลายกรดและด่าง (Acid and Alkali Solution) – ความเข้มข้น 1 N เพื่อใช้ในการปรับค่า pH  ของตัวอย่างให้เป็นกลาง
  7. สารละลายกรด: ปิเปตกรดซัลฟิวริกเข้มข้น ปริมาตร 28 มิลลิลิตร ค่อยๆ เติมลงในน้ำรีเอเจนต์ ปรับปริมาตรเป็น 1000 มิลลิลิตร
  8. สารละลายด่าง: ละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 40 กรัม ลงในขวดวัดปริมาตรขนาด 1000 มิลลิลิตร ปรับปริมาตรด้วยน้ำรีเอเจนต์
  9. สารละลายโซเดียมซัลไฟต์ (Sodium Sulfite Solution) – ความเข้มข้น 0.025 N ละลายแอนไฮดรัสโซเดียมซัลไฟต์ (Na2SO3) 1.575 กรัมในน้ำรีเอเจนต์ปริมาตร 1000 มิลลิลิตร (สารละลายนี้ไม่อยู่ตัวต้องเตรียมในวันที่จะใช้งาน)
  10. หัวเชื้อจุลชีพ (Seed Suspension)- อาจเตรียมหัวเชื้อจุลชีพเองให้เหมาะสมกับน้ำตัวอย่างโดยการให้เชื้อจุลชีพค่อยๆ ปรับสภาพใน ห้องปฏิบัติการ เติมอากาศต่อเนื่องลงในน้ำเสียชุมชนที่ปล่อยให้ตกตะกอนแล้วค่อยๆ เติมตัวอย่างน้ำเสีย    ที่จะทดสอบลงไปทีละน้อยทุกวัน อาจใช้หัวเชื้อจุลชีพจากระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge) หรือหัวเชื้อจุลชีพที่มีจำหน่ายก็ได้
  11. Quality Control Standard (QCS) – สารละลายกลูโคสและกรดกลูตามิก (Glucose-Glutamic Acid: GGA)  ที่มีค่าบีโอดี 198 มิลลิกรัมต่อลิตร อบกลูโคส (Reagent Grade) และกรดกลูตามิก (Reagent Grade) ที่อุณหภูมิ 103 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ละลายกลูโคส 150 มิลลิกรัม และกรดกลูตามิก 150 มิลลิกรัมในน้ำรีเอเจนต์และปรับปริมาตรเป็น 1000 มิลลิลิตร (สารละลายนี้ต้องเตรียมใหม่ทุกครั้งก่อนใช้)

วิธีการดำเนินการวัดบีโอดี BOD

ค่าBOD

ขั้นตอนที่ 1 ปรับค่า pH

ตรวจวัด pH ของน้ำถ้ามีค่าอยู่ในช่วง 6.0 – 8.0 ให้นำไปทดสอบได้เลย ถ้า pH ไม่อยู่ในช่วง  6.0 – 8.0 ให้ปรับ pH ให้อยู่ระหว่าง 6.5 ถึง 7.5 โดยปริมาตรของกรดหรือด่างที่ใช้ปรับไม่ทำให้ปริมาตร ของตัวอย่างน้ำเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 0.5 ซึ่งอุณหภูมิของตัวอย่างต้องอยู่ในช่วง 20 ± 3 องศาเซลเซียส ก่อนทำการทดสอบ

ขั้นตอนที่ 2 กำจัดสารประกอบคลอรีนตกค้าง

ตัวอย่างที่มีสารประกอบคลอรีนตกค้าง ให้ตั้งทิ้งไว้ 1- 2 ชั่วโมง ในที่มีแสงสว่าง คลอรีนตกค้างจะสลายตัวไป 
ในกรณีที่มีคลอรีนตกค้างจำนวนมากในตัวอย่าง ต้องกำจัดโดยการใช้โซเดียมซัลไฟต์ การหาปริมาณคร่าวๆของโซเดียมซัลไฟต์ที่จะเติมทำได้โดยใช้ตัวอย่างน้ำ 100-1000 มิลลิลิตร เติมกรดอะซิติก (1+1) หรือกรดซัลฟิวริก (1+50) ปริมาตร 10 มิลลิลิตร ตามด้วยสารละลายโปแตสเซียมไอโอไดด์ 10 มิลลิลิตร (10 กรัมในน้ำ 100 มิลลิลิตร) แล้วไตเตรทด้วยโซเดียมซัลไฟต์ 0.025 N 
ใช้น้ำแป้งอินดิเคเตอร์ จนถึงจุดยุติก็จะทราบปริมาณของโซเดียมซัลไฟต์ที่ต้องการใช้ แล้วจึงเติมลงไปในตัวอย่างน้ำที่จะหาค่าบีโอดี เขย่าทิ้งไว้ 10 – 20 นาที

ขั้นตอนที่ 3.1 วิธีการหาโดยตรง (Direct Method)

วิธีนี้ใช้กับตัวอย่างที่มีค่าบีโอดีไม่เกิน 7 มิลลิกรัมต่อลิตรไม่จำเป็นต้องเจือจาง 
ให้ทดสอบตัวอย่างตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. นำตัวอย่างน้ำที่มีการปรับอุณหภูมิให้ได้ 20 ± 3 องศาเซลเซียส
  2. เติมอากาศให้ตัวอย่างมีปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำใกล้จุดอิ่มตัว
  3. รินตัวอย่างน้ำลงในขวดบีโอดี จนเต็มอย่างน้อย 3 ขวด (กรณีทดสอบหาปริมาณออกซิเจนละลายโดยวิธี Azide Modification) หรืออย่างน้อย 2 ขวด (กรณีหาปริมาณออกซิเจนละลายโดยวิธี Membrane Electrode) ระวังอย่าให้มีฟองอากาศ ปิดจุกให้สนิทและเติมน้ำเจือจางหล่อที่ปากขวด
  4. นำขวดหนึ่งมาหาค่าออกซิเจนละลาย โดยวิธี Azide Modification หรือวิธี Membrane Electrode บันทึกค่าออกซิเจนละลายวันแรก ให้เป็น DO0
  5. นำอีกขวดบีโอดี 2 ขวดใส่ในตู้ควบคุมอุณหภูมิ ที่อุณหภูมิ 20 ±1 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 5 วัน
  6. หลังจาก 5 วันแล้วนำตัวอย่างน้ำนั้นมาหาปริมาณออกซิเจนละลายที่เหลืออยู่โดยวิธี Azide Modification หรือวิธี Membrane Electrode บันทึกค่าออกซิเจนละลายวันที่ 5 ให้เป็น DO5
 

ขั้นตอนที่ 3.2 วิธีการเจือจาง (Dilution Method)

วิธีนี้ใช้กับตัวอย่างที่มีความสกปรกสูงโดยมีค่าบีโอดีมากกว่า 7.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งถ้าไม่เจือจาง  ตัวอย่าง แบคทีเรียจะใช้ออกซิเจนหมดก่อนเวลา 5 วัน ทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำมีค่าเท่ากับศูนย์ จึงไม่สามารถหาค่าบีโอดีได้
  1. เติมน้ำผสมที่เจือจางแล้วลงในกระบอกตวงขนาด 1000 มิลลิลิตร จำนวนอย่างน้อย 2 ขวดต่อชุดการเจือจางโดยให้น้ำค่อยๆ ไหลลงตามข้างขวดบีโอดี (ในกรณีที่วัดออกซิเจนละลายด้วยเครื่อง DO อาจเจือจางตัวอย่างลงในกระบอกตวงจำนวน 1 ขวดต่อชุดการเจือจาง ก็ได้)
  2. เติมหัวเชื้อจุลชีพในกรณีที่จำเป็น
  3. เติมตัวอย่างตามที่คำนวณไว้
  4. เติมน้ำผสมเจือจางลงจนเต็มคอขวดพอดี ระวังอย่าให้เกิดฟองอากาศ
  5. ปิดฝาจุกให้แน่นอย่าให้มีฟองอากาศ คว่ำขวดไปมาหลายๆ ครั้งเพื่อใหตัวอย่างในขวด ผสมกันดีแล้ว นำขวดที่ 1 ไปหาค่าออกซิเจนละลายวันแรก (DO0)
  6. นำขวดที่ 2 เติมน้ำเจือจางหรือน้ำกลั่นที่ปากขวดแล้วครอบด้วยฝาพลาสติกอีกครั้ง
  7. เพื่อป้องกันการระเหยของตัวอย่าง นำไปอินคิวเบทที่อุณหภูมิ 20 ± 1 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 5 วัน ± 6 ชั่วโมงแล้วหาค่าออกซิเจนละลายวันที่ 5 (DO5)
  8. การบ่มหรือการอินคิวเบท (Incubation) ที่อุณหภูมิ 20 ± 1 องศาเซลเซียสในที่มืดครบ 5 วัน แล้วนำมาหาปริมาณ ออกซิเจนละลายตัวอย่างที่ใช้ได้ จะต้องมีปริมาณออกซิเจนละลายเหลืออยู่อย่างน้อย 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีการใช้ออกซิเจนไปอย่างน้อย 2 มิลลิกรัมต่อลิตรแล้วนำมาหาค่าออกซิเจนละลาย (DO5)
  9. การหาค่าออกซิเจนละลายเริ่มต้น (DO0) และออกซิเจนละลายสุดท้าย (DO5) โดยวิธีวิธี Azide Modification

ขั้นตอนที่ 4 คำนวนสูตรการหา BOD

สูตรการหา BOD แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

  1. วิธีการหาโดยตรง: บีโอดี (มิลลิกรัมต่อลิตร) = DO0-DO5
  2. วิธีการเจือจาง: บีโอดี (มิลลิกรัมต่อลิตร) = (DO0-DO5) – (S)Vs/ P
  • DO0 = ค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำวันแรก (มิลลิกรัมต่อลิตร)
  • DO5 = ค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำวันที่ 5 หลังบ่มที่ 20 ± 1 องศาเซลเซียส (มิลลิกรัมต่อลิตร)
  • S = ค่า oxygen uptake ของหัวเชื้อจุลชีพ, ΔDO/mL ของหัวเชื้อที่เติมต่อขวด (S=0 ถ้าตัวอย่างไม่ได้เติมหัวเชื้อจุลชีพ)
  • V = ปริมาตรของหัวเชื้อในแต่ละขวด (มิลลิลิตร)
  • P = ปริมาตรตัวอย่างที่ใช้ (มิลลิลิตร) /ปริมาตร Volumetric Glassware (1000 มิลลิลิตร)
วิเคราะห์น้ำ

เป็นไงบ้างครับสำหรับเทคนิคในการใช้วิเคราะห์น้ำเพื่อหาค่า BOD ซึ่งทุกท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่มาตรฐานของ Standard Method for Examination of water and wastewater (AWWA, APHA, WEF)

ห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด ยินดีให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสียตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น COD BOD TSS pH เป็นต้น โดยเครื่องมือที่ทันเสมอและผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่ได้รับการรับรอง

หากสนใจส่งตัวอย่างวิเคราะห์หรือมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด เลขที่ 52 หมู่ 16 ต.หนองเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี 20140  เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 8.00-17.00 น.

สนใจติดต่อโทร 062-337-0067 และผ่านทางไลน์ ID โดยเพิ่มเพื่อนตามด้วยหมายเลขที่ให้ไว้ข้างต้น หรือทางอีเมล์ sscoillab@thailandwastemanagement.com

บริการครบวงจร

มีบริการรับตัวอย่างถึงที่ ยินดีให้คำปรึกษา รวมทั้งคำแนะนำในด้านต่างๆ ฟรี

อุปกรณ์มาตรฐานระดับสากล

ตามมาตรฐานสมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยและมาตรฐานจากอเมริกา

บุคลากรผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 10 ปี

ผ่านการอบรม QA/QC  ข้อกำหนด ISO17025 และ หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

วิเคราะห์แม่นยำ ราคาย่อมเยาว์

รับผลวิเคราะห์ภายใน 3-5 วัน

การันตีเรื่องคุณภาพการวิเคราะห์

อุณหภูมิ

อุณหภูมิ (Temperature) คืออะไร?

อุณหภูมิ (Temperature) คือหน่วยที่ใช้บอกความรู้สึกต่อความเย็นหรือความร้อน โดยหลักการในการวัดของอุณหภูมิเป็นการใช้พลังงานจลน์ที่เป็นค่าเฉลี่ยของอนุภาคในสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นพลังงานประเภทหนึ่ง

Read More »
หน่อย ppm คืออะไร

หน่วย ppm คืออะไร

หน่วย ppm (part per million) คืออะไร แล้วมันสามารถคำนวนได้อย่างไร ทำไมปริมาณสารเคมีที่น้อยมากๆถึงต้องใช้หน่วยวัดนี้

Read More »
Glocose คืออะไร

กลูโคส (Glucose) คืออะไร?

กลูโคส (Glucose) คืออะไร หลายคนอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันสักเท่าไร แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นถามว่า น้ำตาล (Sugar) คืออะไรหลายคนพอคงจะรู้จักและพอจะรู้ว่ามันคืออะไร ใช่ครับ กลูโคสเป็นน้ำตาลครับ

Read More »

แชร์บทความ

Facebook
Pinterest
LinkedIn