เลขทะเบียน lab -302

รับวิเคราะห์ sulfide

หลักการวิเคราะห์ซัลไฟด์ (Sulfide) คืออะไร? มีวิธีการวิเคราะห์อย่างไร มาดูกัน

สารบัญ Table of Contents

วิธีในการวิเคราะห์น้ำเพื่อหาค่าซัลไฟด์ (Sulfide)

การวิเคราะห์น้ำเพื่อหาค่าซัลไฟด์ (Sulfide)ในตัวอย่างน้ำและน้ำเสีย โดยวิธี Iodometric Method ว่ามีวิธีการทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย

วิเคราะห์ซัลไฟด์

การวิเคราะห์ซัลไฟด์ (Sulfide) คือ การวิเคราะห์สารประกอบซัลไฟด์ที่สามารถละลายได้ด้วยกรดในตัวอย่าง จะทำปฏิกิริยากับไอโอดีนที่มากเกินพอ  ซัลไฟด์ในสารละลายจะถูกออกซิไดซ์ไปเป็นซัลเฟอร์ และทำการไตเตรทไอโอดีนคงเหลือ ด้วยสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต เพื่อหาปริมาณไอโอดีนที่ทำปฏิกิริยากับซัลไฟด์  และคำนวณกลับหาค่าซัลไฟด์นั่นเอง

รับวิเคราะห์ค่าซัลไฟล์ พารามิเตอร์น้ำเสียอื่นๆ ปรึกษาฟรี!!

เครื่องแก้วและอุปกรณ์ที่ใช้วิเคราะห์ค่า Sulfide

วิเคราะห์ซัลไฟด์

  1. ขวดบีโอดี (BOD Bottle) ขนาด 300 มิลลิลิตร
  2. บิวเรต (Burette) ขนาด 10 มิลลิตร
  3. ขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer Flask)
  4. ปิเปตแบบปริมาตร (Measuring Pipette) ขนาด 1 , 2 , 5 มิลลิลิตร
  5. ขวดปรับปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 1,000 มิลลิลิตร
  6. กระบอกตวง (Cylinder) 100 มิลลิลิตร
  7. เครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum Pump) และชุดกรอง กรวยบุชเนอร์
  8. กระดาษกรองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร
  9. ขวดสำหรับฉีดล้าง (Washing Bottle)

สารเคมีที่ใช้วิเคราะห์ Sulfide

  1. กรดไฮโดรคลอริก (HCl) ความเข้มขน 6 N
  2. สารละลายมาตรฐานไอโอดีน (Standard Iodine Solution) ความเข้มข้น 0.025 N
  3. น้ำแป้ง (Starch Solution)
  4. สารละลายซิงค์อะซิเตท (Zinc Acetate Solution) ความเข้มข้น 2 N
  5. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide Solution) ความเข้มข้น 6 N
  6. สารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต (Sodium Thiosulfate Solution) 0.025 N
  7. สารละลายมาตรฐานซัลไฟด์ (Standard Sulfide Solution) ความเข้มข้น 1,000 mg Sulfide/L
  8. น้ำ DI water

รายละเอียดการเตรียมสารและข้อมูลเพิ่มเติมทุกท่านสามารถดูได้ที่ Standard Method for Examination of water and wastewater (AWWA, APHA, WEF) , 2017 , Part 4500-S2 F.ค่ะ

ขั้นตอนการวิเคราะห์ซัลไฟล์

  1. หยดซิงค์อะซิเตท 12 หยด/น้ำตัวอย่าง 300 มิลลิลิตร ลงในขวดบีโอดี เติมตัวอย่างน้ำลงไปประมาณครึ่งขวด และหยดสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 6-7 หยด เพื่อให้ pH > 9 รินน้ำจนเต็มขวด ปิดจุกให้สนิท เขย่าโดยคว่ำขวดไปมา 10-20 ครั้ง และตั้งทิ้งไว้ 30 นาที เพื่อให้เกิดการตกตะกอนของซิงค์ซัลไฟด์ (Zinc Sulfide , ZnS)

หากต้องการทำทันทีหลังจากเก็บตัวอย่าง ให้เติมน้ำใส่ขวดบีโอดี 300 มิลลิลิตร และทำขั้นตอนที่ 3 ได้เลย

  • ทำการกรอง โดยใช้กระดาษกรองรองที่กรวยบุชเนอร์ ฉีดน้ำลงไปเล็กน้อย เพื่อให้กระดาษกรองแนบกับตัวกรวย เปิดเครื่องดูดสุญญากาศ พร้อมรินน้ำส่วนใสลงไป ประมาณครึ่งขวด เขย่าขวดและเทส่วนตะกอนลงไป

เมื่อกรองเสร็จ พับกระดาษกรองที่มีตะกอน ใส่กลับคืนในขวดบีโอดี

เติมน้ำ DI Water ปริมาตร 100 มิลลิลิตร ลงไปในขวดบีโอดี ปิเปตกรดไฮโดรคลอริก 2 มิลลิลิตร และ ปิเปตไอโอดีน 1 มิลลิตร ตามลงไป (จนมีสีเหลืองของไอโอดีน พร้อมจดปริมาตรที่เติมลงไป)

วิเคราะห์ซัลไฟด์ ในน้ำ

ไตเตรทด้วยสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต จนเป็นสีเหลืองฟางข้าว โดยใช้น้ำแป้ง 1 มิลลิลิตร เป็นอินดิเคเตอร์เพื่อให้เกิดสี จากนั้นไตเตรทต่อจนสีน้ำเงินของน้ำแป้งหายไป จดปริมาตรที่ใช้ไตเตรท

รับวิเคราะห์ซัลไฟด์

**การรักษาสภาพตัวอย่าง หากยังไม่ได้ทำการวิเคราะห์ ให้เก็บตัวอย่างใส่ในขวดแก้วหรือพลาสติก (PET)     เติมซิงค์อะซิเตท 12 หยด/น้ำตัวอย่าง 300 มิลลิลิตร และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จน pH > 9                        แช่เย็นที่อุณหภูมิ ≤ 6 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้ 7 วัน

การคำนวณผลการทดสอบ Sulfide

ซัลไฟด์ (มิลลิกรัมต่อลิตร) = การวิเคราะห์ ซัลไฟด์

เมื่อ

               A = ปริมาตรของสารละลายไอโอดีนที่ใช้ (มิลลิลิตร)

               B = ความเข้มข้นของสารละลายไอโอดีน (นอร์มัล)

               C = ปริมาตรของสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้ (มิลลิลิตร)

               D = ความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต (นอร์มัล)

เป็นยังไงบ้างคะ การวิเคราะห์หาค่าซัลไฟด์ ไม่ยากเลยใช่มั้ยคะ หากท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสียเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ทางช่องทางต่างๆ           

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ บริการวิเคราะห์น้ำเสีย

 โทร 062-337-0067

 sscoillab@thailandwastemanagement.com

นึกถึงวิเคราะห์คุณภาพน้ำ นึกถึงห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด (ว-302)

เรายินดีให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสียตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น pH COD BOD TSS TDS Sulfide เป็นต้น โดยเครื่องมือที่ทันสมัยและผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน

เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 8.00 – 17.00 น.

รับวิเคราะห์น้ำเสีย น้ำประปา น้ำดื่ม น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน 

วิเคราะห์โลหะหนัก ทุกชนิด

วิเคราะห์แม่นยำ ราคาย่อมเยาว์

รับผลวิเคราะห์ภายใน 3-5 วัน

การันตีเรื่องคุณภาพการวิเคราะห์

บุคลากรผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 10 ปี

ผ่านการอบรม QA/QC  ข้อกำหนด ISO17025 และ หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

อุปกรณ์มาตรฐานระดับสากล

ตามมาตรฐานสมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยและมาตรฐานจากอเมริกา

บริการครบวงจร

มีบริการรับตัวอย่างถึงที่ ยินดีให้คำปรึกษา รวมทั้งคำแนะนำในด้านต่างๆ ฟรี

บทความน่ารู้เพิ่มเติม

อุณหภูมิ

อุณหภูมิ (Temperature) คืออะไร?

อุณหภูมิ (Temperature) คือหน่วยที่ใช้บอกความรู้สึกต่อความเย็นหรือความร้อน โดยหลักการในการวัดของอุณหภูมิเป็นการใช้พลังงานจลน์ที่เป็นค่าเฉลี่ยของอนุภาคในสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นพลังงานประเภทหนึ่ง

Read More »
หน่อย ppm คืออะไร

หน่วย ppm คืออะไร

หน่วย ppm (part per million) คืออะไร แล้วมันสามารถคำนวนได้อย่างไร ทำไมปริมาณสารเคมีที่น้อยมากๆถึงต้องใช้หน่วยวัดนี้

Read More »
Glocose คืออะไร

กลูโคส (Glucose) คืออะไร?

กลูโคส (Glucose) คืออะไร หลายคนอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันสักเท่าไร แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นถามว่า น้ำตาล (Sugar) คืออะไรหลายคนพอคงจะรู้จักและพอจะรู้ว่ามันคืออะไร ใช่ครับ กลูโคสเป็นน้ำตาลครับ

Read More »

แชร์บทความ

Facebook
Pinterest
LinkedIn