เลขทะเบียน lab -302

moisture content คือ

ค่าความชื้น (Moisture Content) คืออะไร ? วิเคราะห์อย่างไร?

Table of Contents

ค่าความชื้น Moisture content คืออะไร?

โถดูดความชื้น

ความชื้น (Moisture Content) คือ ปริมาณน้ำหนักของน้ำที่ประกอบอยู่ในสิ่งของหรือ วัสดุต่างๆ ซื่งโดยปกติจะอ่านค่าเป็น % ของน้ำหนักทั้งหมด(%wt) หรือ % ของปริมาตรทั้งหมด (%Vol)

ปริมาณความชื้น (Moisture content)เป็นตัวแปรที่สำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การเกษตร การก่อสร้าง การผลิต และการแปรรูปอาหาร ซึ่งความชื้นจะส่งผลต่อคุณภาพ ความคงตัว เป็นต้น

นั่นจึงเป็นเหตุผลให้การกำหนดและควบคุมความชื้น จึงมีความสำคัญต่อการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั่นเอง

สนใจวิเคราะห์ค่าความชื้น ราคาพิเศษ ติดต่อเราได้ทันที ปรึกษาฟรี

ขั้นตอนการวิเคราะห์ค่าความชื้น (Moisture Content) ทำได้อย่างไร ?

โดยวิธีการที่อ้างอิงและดัดแปลงตามมาตรฐานของ Standard Test Methods for Laboratory Determination of Water (Moisture) Content of Soil and Rock by Mass

ขั้นตอนที่ 1

นำภาชนะบรรจุและฝาปิดมาชั่งน้ำหนักบนเครื่องชั่ง 2 ตำแหน่ง และบันทึกค่าน้ำหนักก่อนบรรจุตัวอย่างลงในแบบฟอร์มบันทึก (ภาชนะต้องสะอาดและแห้ง) พร้อมระบุชื่อตัวอย่างไว้บนภาชนะ

เครื่ิองชั่ง 2 ตำแหน่ง

ขั้นตอนที่ 2

นำภาชนะที่บันทึกค่าน้ำหนักของภาชนะแล้ววางไว้บนเครื่องชั่ง 2 ตำแหน่ง กด TARE ให้น้ำหนักเป็นศูนย์ นำตัวอย่างที่จะทดสอบชั่งให้ได้ 20 กรัม และบันทึกค่าลงในแบบฟอร์มบันทึก

ขั้นตอนที่ 3

ปิดภาชนะที่มีตัวอย่างอยู่ภายในด้วยฝาปิดให้แน่นหนา นำน้ำหนักของภาชนะและฝาปิดก่อนบรรจุตัวอย่าง บวก กับน้ำหนักของตัวอย่างลงในแบบฟอร์มบันทึก

ขั้นตอนที่ 4

เปิดฝาภาชนะบรรจุตัวอย่างก่อนนำภาชนะบรรจุตัวอย่างเข้าตู้อบ ที่อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นตัวอย่างประเภททรายใช้ 4 ชั่วโมง เวลาที่ต้องใช้ในการอบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ ประเภทและขนาดของตัวอย่าง

หม้ออบลมร้อน

ขั้นตอนที่ 5

เมื่อครบตามเวลาที่ตั้งไว้ นำภาชนะบรรจุตัวอย่างออกจากตู้อบและปิดฝา นำไปทิ้งไว้ให้เย็นในโถดูดความชื้น

ขั้นตอนที่ 6

นำภาชนะบรรจุตัวอย่างที่อุณหภูมิลดลงแล้วมาชั่งน้ำหนักหลังอบบันทึกค่าลงในแบบฟอร์มบันทึกและนำค่าที่ได้มาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ความชื้น

วิธีการคำนวณผลทดสอบความชื้น

%water = (A – B / B – C) x 100

A = น้ำหนักของภาชนะบรรจุพร้อมฝาปิดและตัวอย่างก่อนอบ, g,

B = น้ำหนักของภาชนะบรรจุพร้อมฝาปิดและตัวอย่างหลังอบ, g,

C = น้ำหนักของภาชนะบรรจุพร้อมฝาปิด, g,

%Water(Moisture) = เปอร์เซ็นต์ความชื้น

และนี่คือ 6 ขั้นตอนการวิเคราะห์หาค่าความชื้น (Moisture Content) ในกากตะกอน หิน และทราย

สำหรับห้องปฏิบัติการ เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด (ว. 302)
เรายินดีให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสียตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น pH COD BOD TSS TDS Sulfide เป็นต้น โดยเครื่องมือที่ทันสมัยและผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน

ต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์น้ำ สามารถติดต่อเราได้ทางช่องทางต่างๆ
ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ บริการวิเคราะห์น้ำเสีย
โทร 062-337-0067 และ Line ID 062-337-0067
อีเมล : sscoillab@thailandwastemanagement.com

รับวิเคราะห์น้ำเสีย น้ำประปา น้ำดื่ม น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน 

วิเคราะห์โลหะหนัก ทุกชนิด

ติดตามเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab

บทความน่ารู้เพิ่มเติม

วิธีตรวจสอบคุณภาพน้ำประปา

วิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำประปา

การตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า น้ำที่ใช้ในบ้านทั้งในกระบวนการทำอาหาร ซักผ้า หรือทำความสะอาดต่างๆ มีความปลอดภัยและเหมาะสมต่อการใช้งาน

Read More »
คลอรีนในน้ำ

คลอรีนในน้ำคืออะไร? ทำไมถึงต้องเติม

คุณเคยสังเกตไหมว่า น้ำที่เราใช้อาบ ดื่ม หรือว่ายน้ำ มีกลิ่นเฉพาะตัวบางอย่าง? กลิ่นนั้นไม่ได้มาจากธรรมชาติของน้ำเอง แต่เป็น “คลอรีน” ที่ถูกเติมลงไปเพื่อปกป้องเรา

Read More »
ISO17025 คืออะไร

ISO/IEC 17025 คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ?

ISO/IEC 17025 คือ มาตรฐานระดับสากลที่กำหนดข้อกำหนดทั่วไปสำหรับความสามารถของห้องปฏิบัติการในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและการสร้างความเชื่อมั่นในผลการทดสอบและการสอบเทียบ

Read More »
คราบตะกรัน

คราบตะกรันคืออะไร? วิธีกำจัดง่ายๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

คราบตะกรันเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในระบบน้ำทั้งในอุตสาหกรรมและครัวเรือน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์และเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับน้ำได้

Read More »
น้ำด่าง

น้ำด่างคืออะไร? มีประโยชน์จริงหรือไม่?

น้ำด่าง (Alkaline Water) หมายถึง น้ำที่มีค่าความเป็นด่าง (pH) สูงกว่า 7 ซึ่งโดยทั่วไปค่าความเป็นด่างของน้ำดื่มประเภทนี้มักอยู่ระหว่าง pH 8-9 (น้ำธรรมดามีค่า pH ประมาณ 7)

Read More »
การจัดการของเสียห้องปฏิบัติการ

การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?

การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน

Read More »

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ใบเสนอราคา (ติดต่อกลับภายใน 24 ชม.)

แชร์บทความ

Facebook
Pinterest
LinkedIn