เลขทะเบียน lab -302

เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

ความสำคัญของบุคลากรงานห้องปฏิบัติการ

สารบัญ Table of Contents

ความสำคัญของบุคลากรงานห้องปฏิบัติการ

เจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการ

“คุณภาพงานที่ดีเริ่มจากตัวบุคคล” เป็นจุดเริ่มต้นของงานที่มีคุณภาพ ซึ่งในห้องปฏิบัติการก็เช่นกัน ห้องปฏิบัติการ (Laboratory) เป็นห้องที่ใช้ในการทำการวิเคราะห์หรือทดลองในด้านต่างๆ เช่นทางด้านการแพทย์ ด้านชีววิทยา เป็นต้น

ห้องปฏิบัติการของบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด เป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนเลขทะเบียน ว-302 ที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางด้านเคมี และวิเคราะห์คุณภาพของน้ำและน้ำเสียตามพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น pH COD BOD TSS TDS FOG ที่พารามิเตอร์อื่นๆที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า เรามีบุคากรคุณภาพพร้อมให้บริการ

ห้องปฏิบัติการที่ดีนอกจากจะได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือต้องมีบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถที่จะทำการวิเคราะห์ในแต่ละพารามิเตอร์ต่างๆ เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือ และได้มาตรฐานตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดไว้

ซึ่งแต่ละตำแหน่งหรือหน้าที่ของบุคลากรในห้องปฏิบัติการก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป

จะมีใคร ทำหน้าที่อย่างไรบ้าง วันนี้เราตามมาดูกันครับ !!

สำหรับเนื้อหาผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.diw.go.th/webdiw/wp-content/uploads/2022/11/Lab-2560.pdf

บุคลากรในห้องปฏิบัติการต้องมีใครบ้าง ?

  1. ผู้ควบคุมดูแลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์

หัวหน้าห้องปฏิบัติการ

ผู้ควบคุมดูแลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “ผู้ควบคุมห้องแลป” เป็นบุคคลที่มีหน้าที่ในการวางแผน ควบคุม หรือกำหนดวิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ทดสอบ ดูแลจัดหาความพร้อมของอุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์ ดูแลเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือและเครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้กำหนด รวมไปถึงการรับรองผลการวิเคราะห์และทดสอบต่างๆ

คุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์

จะต้องมีวิชาเรียนด้านเคมี 40 หน่วยกิตขึ้นไป และมีประสบการณ์ในด้านการวิเคราะห์สารมลพิษในห้องปฏิบัติการ อย่างน้อย 3 ปี กรณีที่วิชาเรียนตั้งแต่ 15 หน่วยกิต แต่ไม่ถึง 40 หน่วยกิต ต้องมีประสบการณ์ในด้านการวิเคราะห์สารมลพิษในห้องปฏิบัติการ อย่างน้อย 5 ปี และได้ผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ (QA/QC) ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ (ISO/IEC17025) จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

  1. เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ หรือว่าเจ้าหน้าที่ห้องแลป จะมีหน้าที่หลักๆ ในการวิเคราะห์และทดสอบ ในพารามิเตอร์ต่างๆ รักษาสภาพตัวอย่างของลูกค้า ดูแลในเรื่องความสะอาดของเครื่องมือ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์และเครื่องแก้วที่ใช้ทดสอบ รวมถึงบันทึกผลการวิเคราะห์อย่างถูกต้อง ในการวิเคราะห์แต่ละพารามิเตอร์ต่างๆ

คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ

เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจะต้องมีวิชาเรียนด้านเคมี 15 หน่วยกิตขึ้นไป และผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพต่างๆ เช่นเดียวกับตำแหน่งผู้ควบคุมห้องปฏิบัติการ 

แต่ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน ก็สามารถเป็นได้

  1. เจ้าหน้าที่ภาคสนาม (ห้องปฏิบัติการ)

เจ้าหน้าที่ห้องแลป

เจ้าหน้าที่ภาคสนาม มีหน้าที่ วางแผนงานและดำเนินการในการเก็บตัวอย่างน้ำและน้ำเสีย

วิธีการเก็บให้เป็นไปตามวิธีมาตรฐาน รับ-ส่งตัวอย่างของลูกค้า ดูแลรักษาเครื่องมือการเก็บตัวอย่าง และ ให้คำปรึกษาและแนะนำข้อมูลกับลูกค้า กรณีที่ลูกค้ามีข้อสงสัยในเรื่องต่างๆ

ปรึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ เจ้าหน้าที่ห้องแลป สอบถามเราสิครับ

ห้องปฏิบัติการของบริษัทเอส เอส ซี ออยล์ จำกัด เป็นห้องปฏิบัติการที่มีความชำนาญในด้านการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำเสีย การวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสีย จากอุตสาหกรรมต่างๆ

พร้อมทั้งมีเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์พารามิเตอร์ ที่ผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่น่าเชื่อถือและบุคลากรที่มีความชำนาญ เพื่อให้มั่นใจว่าผลการทดสอบที่ได้นั้นมีความน่าเชื่อถือและผ่านมาตรฐานของกรมโรงงานที่กำหนด เรามีทีมงานพร้อมให้คำปรึกษาและประเมินราคาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจต้องการใช้บริการของเราสามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 062-337-0067 และอีเมล์ sscoillab@thailandwastemanagement.com หรือ Line : @thaitestlab

ดูการทำแลปสนุกๆของเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab

อุณหภูมิ

อุณหภูมิ (Temperature) คืออะไร?

อุณหภูมิ (Temperature) คือหน่วยที่ใช้บอกความรู้สึกต่อความเย็นหรือความร้อน โดยหลักการในการวัดของอุณหภูมิเป็นการใช้พลังงานจลน์ที่เป็นค่าเฉลี่ยของอนุภาคในสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นพลังงานประเภทหนึ่ง

Read More »
หน่อย ppm คืออะไร

หน่วย ppm คืออะไร

หน่วย ppm (part per million) คืออะไร แล้วมันสามารถคำนวนได้อย่างไร ทำไมปริมาณสารเคมีที่น้อยมากๆถึงต้องใช้หน่วยวัดนี้

Read More »
Glocose คืออะไร

กลูโคส (Glucose) คืออะไร?

กลูโคส (Glucose) คืออะไร หลายคนอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันสักเท่าไร แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นถามว่า น้ำตาล (Sugar) คืออะไรหลายคนพอคงจะรู้จักและพอจะรู้ว่ามันคืออะไร ใช่ครับ กลูโคสเป็นน้ำตาลครับ

Read More »

แชร์บทความ

Facebook
Pinterest
LinkedIn