สารบัญ Table of Contents
ความสำคัญของบุคลากรงานห้องปฏิบัติการ
“คุณภาพงานที่ดีเริ่มจากตัวบุคคล” เป็นจุดเริ่มต้นของงานที่มีคุณภาพ ซึ่งในห้องปฏิบัติการก็เช่นกัน ห้องปฏิบัติการ (Laboratory) เป็นห้องที่ใช้ในการทำการวิเคราะห์หรือทดลองในด้านต่างๆ เช่นทางด้านการแพทย์ ด้านชีววิทยา เป็นต้น
ห้องปฏิบัติการของบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด เป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนเลขทะเบียน ว-302 ที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางด้านเคมี และวิเคราะห์คุณภาพของน้ำและน้ำเสียตามพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น pH COD BOD TSS TDS FOG ที่พารามิเตอร์อื่นๆที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า เรามีบุคากรคุณภาพพร้อมให้บริการ
ห้องปฏิบัติการที่ดีนอกจากจะได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือต้องมีบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถที่จะทำการวิเคราะห์ในแต่ละพารามิเตอร์ต่างๆ เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือ และได้มาตรฐานตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดไว้
ซึ่งแต่ละตำแหน่งหรือหน้าที่ของบุคลากรในห้องปฏิบัติการก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป
จะมีใคร ทำหน้าที่อย่างไรบ้าง วันนี้เราตามมาดูกันครับ !!
สำหรับเนื้อหาผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.diw.go.th/webdiw/wp-content/uploads/2022/11/Lab-2560.pdf
บุคลากรในห้องปฏิบัติการต้องมีใครบ้าง ?
ผู้ควบคุมดูแลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์
ผู้ควบคุมดูแลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “ผู้ควบคุมห้องแลป” เป็นบุคคลที่มีหน้าที่ในการวางแผน ควบคุม หรือกำหนดวิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ทดสอบ ดูแลจัดหาความพร้อมของอุปกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์ ดูแลเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือและเครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้กำหนด รวมไปถึงการรับรองผลการวิเคราะห์และทดสอบต่างๆ
คุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์
จะต้องมีวิชาเรียนด้านเคมี 40 หน่วยกิตขึ้นไป และมีประสบการณ์ในด้านการวิเคราะห์สารมลพิษในห้องปฏิบัติการ อย่างน้อย 3 ปี กรณีที่วิชาเรียนตั้งแต่ 15 หน่วยกิต แต่ไม่ถึง 40 หน่วยกิต ต้องมีประสบการณ์ในด้านการวิเคราะห์สารมลพิษในห้องปฏิบัติการ อย่างน้อย 5 ปี และได้ผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ (QA/QC) ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ (ISO/IEC17025) จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ หรือว่าเจ้าหน้าที่ห้องแลป จะมีหน้าที่หลักๆ ในการวิเคราะห์และทดสอบ ในพารามิเตอร์ต่างๆ รักษาสภาพตัวอย่างของลูกค้า ดูแลในเรื่องความสะอาดของเครื่องมือ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์และเครื่องแก้วที่ใช้ทดสอบ รวมถึงบันทึกผลการวิเคราะห์อย่างถูกต้อง ในการวิเคราะห์แต่ละพารามิเตอร์ต่างๆ
คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจะต้องมีวิชาเรียนด้านเคมี 15 หน่วยกิตขึ้นไป และผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพต่างๆ เช่นเดียวกับตำแหน่งผู้ควบคุมห้องปฏิบัติการ
แต่ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน ก็สามารถเป็นได้
เจ้าหน้าที่ภาคสนาม (ห้องปฏิบัติการ)
เจ้าหน้าที่ภาคสนาม มีหน้าที่ วางแผนงานและดำเนินการในการเก็บตัวอย่างน้ำและน้ำเสีย
วิธีการเก็บให้เป็นไปตามวิธีมาตรฐาน รับ-ส่งตัวอย่างของลูกค้า ดูแลรักษาเครื่องมือการเก็บตัวอย่าง และ ให้คำปรึกษาและแนะนำข้อมูลกับลูกค้า กรณีที่ลูกค้ามีข้อสงสัยในเรื่องต่างๆ
ปรึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ เจ้าหน้าที่ห้องแลป สอบถามเราสิครับ
ห้องปฏิบัติการของบริษัทเอส เอส ซี ออยล์ จำกัด เป็นห้องปฏิบัติการที่มีความชำนาญในด้านการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำเสีย การวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสีย จากอุตสาหกรรมต่างๆ
พร้อมทั้งมีเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์พารามิเตอร์ ที่ผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่น่าเชื่อถือและบุคลากรที่มีความชำนาญ เพื่อให้มั่นใจว่าผลการทดสอบที่ได้นั้นมีความน่าเชื่อถือและผ่านมาตรฐานของกรมโรงงานที่กำหนด เรามีทีมงานพร้อมให้คำปรึกษาและประเมินราคาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจต้องการใช้บริการของเราสามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 062-337-0067 และอีเมล์ sscoillab@thailandwastemanagement.com หรือ Line : @thaitestlab
ดูการทำแลปสนุกๆของเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออะไร? ใช้งานอย่างไร?
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) เป็นเครื่องมือทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลาย กระดาษลิตมัสมีบทบาทสำคัญในการทำงานในห้องปฏิบัติการ
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) คืออะไร?
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ปฏิกิริยานี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้สารอีกตัวหนึ่งได้รับอิเล็กตรอนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างต่อเนื่อง
วิธีการเช็กคุณภาพน้ำดื่มด้วยตัวเองเบื้องต้น
น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา เราต้องแน่ใจว่าน้ำที่เราดื่มนั้นสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้
วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด
น้ำเสียคืออะไร วิเคราะห์อย่างไร (Sewage Waste Analysis)
น้ำเสีย (Sewage waste) คืออะไร แล้วเรามีวิธีการวิเคราะห์ Analysis อย่างไรบ้าง
อุณหภูมิ (Temperature) คืออะไร?
อุณหภูมิ (Temperature) คือหน่วยที่ใช้บอกความรู้สึกต่อความเย็นหรือความร้อน โดยหลักการในการวัดของอุณหภูมิเป็นการใช้พลังงานจลน์ที่เป็นค่าเฉลี่ยของอนุภาคในสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นพลังงานประเภทหนึ่ง