Table of Contents สารบัญ
Jar test (จาร์เทส) คืออะไร?
Jar Test คือ วิธีการที่ทดสอบการตกตะกอนทางเคมีของตัวอย่างหรือน้ำตัวอย่างก่อนจะเข้าระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อช่วยในการตกตะกอนให้ดีที่สุด โดยใช้สารเคมีในปริมารที่เหมาะสมที่สุด ในการทำ Jar Test เป็นการหาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมในการสร้างตะกอน โดยสารเคมีที่เหมาะสมจะสามารถกำจัดความขุ่น สี สารละลายต่างๆในตัวอย่าง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบำบัดให้เหมาะสมด้วย
ปรึกษาเรื่องจากทำ Jartest โดยผู้เชี่ยวชาญ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ปัจจัยในการตกตะกอนด้วยเคมี มีอะไรบ้าง?
การที่การตกตะกอนทางเคมี จะสามารถตกตะกอนได้ดีหรือไม่นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย ได้แก่
- ค่า pH
- สี
- ความขุ่น
- ส่วนประกอบของสารต่างๆที่อยู่ในตัวอย่าง
- ชนิดของสารเคมีที่ใช้ในการตกตะกอน
- อุณหภูมิ
- อัตราเร็วของสารเคมีที่ผสม
- ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสม
ซึ่งตัวอย่างแต่ละตัวอย่างก็ต้องการปริมาณของสารตกตะกอนในปริมาณที่แตกต่างกันนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.dober.com/water-treatment/jar-testing#what_is_a_jar_test
ทำไมต้องทำ Jar test น้ำเสีย
โดยทั่วไปการทำ Jar Test ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับโรงประปา การทำน้ำดี หรือ กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วย
การทดสอบการตกตะกอนด้วยเครื่องทดสอบการตกตะกอนมีประโยชน์มากมาย ดังนี้
- ช่วยในการกำจัดตะกอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย
- ช่วยให้น้ำเสียมีคุณภาพดีขึ้น
- ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การทำ Jartest จะเป็นการคำนวนปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมใน Lab scale ก่อน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการสำหรับการเดินระบบใหญ่ เพื่อให้ปริมาณสารเคมีอยู่ในระดับเหมาะสมที่สุด (optimum) ทำให้สามารถสะตะกอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่สิ้นเปลืองเคมีโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
เครื่องทดสอบการตกตะกอน (Jar Test) ใช้งานอย่างไร?
เครื่องทดสอบตะกอนหรือเรียกง่ายๆว่าเครื่อง Jar Test มีมากหมายหลายรุ่น หลายยี่ห้อ ซึ่งเป็นวิธีการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการสร้างตะกอน เพื่อเป็นกระบวนการที่ทำให้อนุภาคแขวนลอยขาดความเสถียรภาพ
ขั้นตอนทั่วไป ของการใช้งานเครื่องทดสอบการตกตะกอน Jar test มีดังนี้
- เตรียมตัวอย่างน้ำเสีย
- แบ่งตัวอย่างน้ำเสียออกเป็นหลายชุด
- เพิ่มสารเคมี สารตกตะกอนประเภทต่างๆ เช่น PAC หรือ Alum ลงในชุดตัวอย่างน้ำเสียแต่ละชุด โดยปริมาณต้องไม่เท่ากัน ไล่จากน้อยไปมาก
- กวนเร็ว เพื่อให้สารตกตะกอนจับตัวตะกอน เป็น floc
- กวนช้า และเติมพอลิเมอร์เพื่อให้ตะกอนจับตัวเป็นก้อนใหญ่ขึ้น
- สังเกตการตกตะกอนของแต่ละชุดตัวอย่างน้ำเสีย
- เปรียบเทียบผลการตกตะกอนของแต่ละชุดตัวอย่างน้ำเสีย
- เลือกชุดตัวอย่างน้ำเสียที่มีผลการตกตะกอนที่ดีที่สุด
Case Study ทำ Jar Test ตัวอย่างจริง ทำอย่างไร?
ห้องแลปบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด เราได้ทำการ Jartest โดยมีกระบวนการดังต่อไปนี้
- ใช้ความเร็วของเครื่องทดสอบตะกอนเซ็ตค่าการกวนเร็วอยู่ที่ 160 rpm ต่อ 2 นาที และกวนช้าเซ็ตให้อยู่ที่ 70 rpm ต่อ 1 นาที หรือว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
- ใช้ PAC และ Polymer เป็นสารเคมีที่ใช้ช่วยในการตกตะกอน
- เทตัวอย่างใส่ในบีกเกอร์ขนาด 500 หรือ 1000 มิลลิลิตร
- สังเกตลักษณะทางกายภาพ คือ สี การแยกชั้นของตัวอย่าง
- ถ่ายรูปตัวอย่างก่อนการทำ Jar Test
- นำ บีกเกอร์ไปใส่ในเครื่องทดสอบตะกอน โดยให้ใบพัดอยู่กึ่งกลางของบีกเกอร์
- ปรับ pH ด้วยกรดซัลฟูริก หรือโซดาไฟ ให้ pH อยู่ประมาณ 6.5-7 และบันทึกการใช้สารปรับ pH ลงในแบบฟอร์ม
- ขั้นตอนการกวนเร็วเราจะเติมสารตกตะกอนโดยค่อยๆเติม ให้สังเกตว่าตัวอย่างเริ่มเกิดตะกอนเล็กๆ
- เมื่อเห็นว่าตัวอย่างเกิดตะกอนให้หยุดใส่สารตกตะกอน ให้เครื่องทดสอบตะกอนกวนจนกว่าเวลาที่เซ็ตไว้จะหมด บันทึกปริมาณการใช้สารตกตะกอนลงในแบบฟอร์ม
- ต่อไปเป็นขั้นตอนการกวนช้าให้ใส่ Polymer บันทึกการใช้ Polymer ลงในแบบฟอร์ม เมื่อเครื่องทดสอบตะกอนหยุดแล้วให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของตัวอย่าง ว่าสามารถตกตะกอนได้หรือไม่ สีเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ปริมาณตะกอนมากน้อยเท่าใด
- บันทึกลงในแบบฟอร์ม และถ่ายรูปตัวอย่างหลังจากการทดสอบด้วยวิธี Jar Test เพื่อจัดทำรายงาน พร้อมนำข้อมูลปริมาณการใช้สารเคมีต่างๆลงในรายงาน
รับวิเคราะห์ Jartest โดยห้องปฏิบัติการ มืออาชีพ
บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด ยินดีให้บริการทุกท่าน เรามีเทคโนโลยีและเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล สามารถวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของน้ำเสียได้อย่างครอบคลุมทุกปัจจัยสำคัญ รับรองคุ้มค่าในการลงทุนแน่นอน
สนใจสามารถติดต่อโทร 062-337-0067 และผ่านทางไลน์ ID โดยเพิ่มเพื่อนตามด้วย หมายเลขที่ให้ไว้ข้างต้น หรือ ทางอีเมล์ sscoillab@thailandwastemanagement.com
คลิปวิธีการทำ Jartest แบบง่ายๆ
หลายคนสนใจบทความเพิ่มเติม
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออะไร? ใช้งานอย่างไร?
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) เป็นเครื่องมือทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลาย กระดาษลิตมัสมีบทบาทสำคัญในการทำงานในห้องปฏิบัติการ
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) คืออะไร?
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ปฏิกิริยานี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้สารอีกตัวหนึ่งได้รับอิเล็กตรอนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างต่อเนื่อง
วิธีการเช็กคุณภาพน้ำดื่มด้วยตัวเองเบื้องต้น
น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา เราต้องแน่ใจว่าน้ำที่เราดื่มนั้นสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้
วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด
น้ำเสียคืออะไร วิเคราะห์อย่างไร (Sewage Waste Analysis)
น้ำเสีย (Sewage waste) คืออะไร แล้วเรามีวิธีการวิเคราะห์ Analysis อย่างไรบ้าง
อุณหภูมิ (Temperature) คืออะไร?
อุณหภูมิ (Temperature) คือหน่วยที่ใช้บอกความรู้สึกต่อความเย็นหรือความร้อน โดยหลักการในการวัดของอุณหภูมิเป็นการใช้พลังงานจลน์ที่เป็นค่าเฉลี่ยของอนุภาคในสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นพลังงานประเภทหนึ่ง