สารบัญ
อยากเป็นเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการต้องมีความรู้อะไรบ้าง ?
การทำงานในห้องแลปนั้นสิ่งที่ต้องมีอย่างแรกเลย คือ ความรู้พื้นฐานต่าง ๆ ในห้องแลป เช่น ความปลอดภัยในห้องแลป การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องแก้วต่าง ๆ อย่างถูกวิธี
การใช้สารเคมีให้ถูกต้องและปลอดภัย รวมทั้งความรู้ในเรื่องการเตรียมสารละลายต่างๆ จะช่วยให้การดำเนินงานในห้องแลปเป็นไปอย่างราบรื่น
ห้องปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีลักษณะเฉพาะของตัวเองที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะทดลอง อันตรายจากสารเคมี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพิษต่อสุขภาพ
วันนี้เราจะมีแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็นเจ้าหน้าที่ห้องแลป ว่าต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
ตามมาดูกันเลย !!
อยากเป็นเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ปรึกษาฟรี
คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
ในการทำแลปน้ำเสียต้องมีความรู้เกี่ยวกับทางด้านวิทยาศาสตร์หรือเรียนจบทางสายวิทยาศาสตร์ เช่น วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม อนามัยสิ่งแวดล้อม เคมี ชีววิทยา เป็นต้น และควรจะมีความรู้เบื่องต้นในหัวข้อต่อไปนี้
1. ความรู้ด้านเครื่องแก้ว
ในการทำงานแลปน้ำเสียควรมีความรู้ในเรื่องเครื่องแก้ว อย่างเช่น เครื่องแก้ววัดปริมาตร (Volumetric glassware) เนื่องจากในการทำแลปน้ำเสียต้องมีการใช้เครื่องแก้วในการวิเคราะห์ ซึ่งเครื่องแก้ววัดปริมาตร ในห้องปฏิบัติการ
ซึ่งเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ อาจมีความแตกต่างจากเครื่องแก้วทั่วไป ในด้านคุณลักษณะและมาตรฐาน เครื่องแก้ววัดปริมาตรจำเป็นจะต้องมีการทวนสอบเทียบให้มีคุณลักษณะเป็นตามหลักมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานสากลและวิธีการสอบเทียบที่กำหนดโดยทางห้องปฏิบัติการนั้น ๆ
2. ความรู้ด้านพารามิเตอร์น้ำเบื้องต้น
เจ้าหน้าที่ห้องแลปควรรู้จักพารามิเตอร์น้ำเสียต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น มาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคารต่าง ๆ หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม
เนื่องจากในการทำแลปน้ำเสียส่วนใหญ่มีพารามิเตอร์ที่ต้องตรวจวัดตามมาตรฐานน้ำเสีย เช่น COD BOD TDS TSS เป็นต้น ดังนั้นในการทำแลปน้ำเสียต้องมีความรู้ ความเข้าใจของการวิเคราะห์พารามิเตอร์ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
- พารามิเตอร์ซีโอดี (COD) เป็นการหาปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีที่ใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งหลักการคือสารประกอบอินทรีย์สามารถถูกออกซิไดซ์ได้ด้วยตัวออกซิไดซ์ที่รุนแรงใช้โพแทสเซียมไดโครเมต เป็นตัวออกซิไดซ์ในสารละลายกรดซัลฟูริก โดยใช้ซิลเวอร์ซัลเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในสภาวะที่ร้อนและมีความเป็นกรดสูง
- พารามิเตอร์บีโอดี (BOD) เป็นการหาปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียในน้ำใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ชนิดที่ย่อยสลายได้ในน้ำภายใต้สภาวะที่มีอากาศ ซึ่งการทดสอบหาบีโอดี (BOD) โดยทั่วไปเป็นการวัดปริมาณออกซิเจน 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ถ้าหากค่าบีโอดีสูงหมายความว่า ออกซิเจนในน้ำต่ำ ทำให้น้ำมีความสกปรกสูง จึงต้องมีการเจือจางตัวอย่าง
- พารามิเตอร์ Sulfide ซึ่งปริมาณซัลไฟด์ส่วนใหญ่ในน้ำเสียเกิดจากแบคทีเรียที่ย่อยสลาย โดยปฏิกิริยารีดักชั่นของซัลเฟตซึ่งพบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำตามธรรมชาติและน้ำเสียต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกลิ่นเหม็นในน้ำได้
- พารามิเตอร์ TDS คือ ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด เป็นการหาปริมาณของของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำรวมถึงไอออน แร่ธาตุเกลือหรือโลหะละลายในปริมาณที่กำหนดของน้ำ หลักการวิเคราะห์ของทางห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด ใช้วิธีการกรองตัวอย่างผ่านกระดาษกรองใยแก้ว (Glass-fiber Fiber) จากนั้นนำส่วนที่กรองได้ใส่ในถ้วยระเหยแห้งที่ทราบน้ำหนัก จากนั้นนำถ้วยหลังการระเหยไปชั่งน้ำหนัก ซึ่งจะได้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น คือ ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
- การจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ อุปกรณ์ และสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ โดยคำนึงถึงชนิด ลักษณะของงานปฏิบัติการและรายละเอียด เช่น ความถูกต้องแม่นยำ คำนึงถึงวิธีการทดลอง และวิเคราะห์โดยละเอียด ซึ่งสามารถทราบได้ว่าต้องใช้สารเคมีคุณภาพแบบใด ปริมาณที่ต้องใช้ ข้อควรระวังของสารเคมี อุปกรณ์เครื่องแก้ว การจัด check stock ต่าง ๆ และการล้างทำความสะอาดเครื่องแก้วให้พร้อมใช้งาน
- การสำรวจและเก็บรักษาสารเคมีและอุปกรณ์ ซึ่งสารเคมีหลายตัวเมื่อผ่านการใช้งานแล้วสามารถปรับปรุงคุณภาพและนำกลับมาใช้งานได้ เครื่องแก้ว อุปกรณ์ ทำความสะอาดและจัดเก็บไว้อย่างถูกวิธี และต้องตรวจสอบความการหมดอายุของสารเคมี และสอบเทียบเครื่องแก้วอย่างเป็นประจำ เพื่อไม่ให้มีผลต่อการวิเคราะห์ และทดลอง
ทางบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด มีห้องปฏิบัติการที่รับตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสีย น้ำประปา น้ำดื่ม น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน เป็นต้น และเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เลขทะเบียน ว-302 หากผู้ที่กำลังหาศูนย์วิเคราะห์น้ำหรือ lab ตรวจน้ำบริการโดยทีมงานมืออาชีพ วิเคราะห์ด้วยอุปกรณ์ที่แม่นยำ โดยเครื่องมือที่ทันสมัยและผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน สามารถติดต่อเราได้ที่ช่องทางต่าง ๆ ได้แก่
เบอร์โทร 062-337-0067
Line : 0623370067
Email : sscoillab@thailandwastemanagement.com
รับวิเคราะห์น้ำเสีย น้ำประปา น้ำดื่ม น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน
ติดตามเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab
ที่อยู่ห้องปฏิบัติการ เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด
บทความน่ารู้เพิ่มเติม
วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด
น้ำเสียคืออะไร วิเคราะห์อย่างไร (Sewage Waste Analysis)
น้ำเสีย (Sewage waste) คืออะไร แล้วเรามีวิธีการวิเคราะห์ Analysis อย่างไรบ้าง
อุณหภูมิ (Temperature) คืออะไร?
อุณหภูมิ (Temperature) คือหน่วยที่ใช้บอกความรู้สึกต่อความเย็นหรือความร้อน โดยหลักการในการวัดของอุณหภูมิเป็นการใช้พลังงานจลน์ที่เป็นค่าเฉลี่ยของอนุภาคในสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นพลังงานประเภทหนึ่ง
สารแขวนลอย (Suspension) คืออะไร?
สารแขวนลอย เป็นสารที่มีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าที่กระจายและลอยตัวอยู่ในน้ำ
หน่วย ppm คืออะไร
หน่วย ppm (part per million) คืออะไร แล้วมันสามารถคำนวนได้อย่างไร ทำไมปริมาณสารเคมีที่น้อยมากๆถึงต้องใช้หน่วยวัดนี้
ปริมาณออกซิเจนในน้ำ (DO หรือ Dissolved oxygen) คืออะไร
ปริมาณออกซิเจนในน้ำหรือ DO คืออะไรกันแน่ ค่านี้บ่อบอกอะไรถึงคุณภาพน้ำกันได้บ้าง น้ำดีน้ำเสียควรมีค่า DO อย่างไร?