Table of Contents
Glucose คืออะไร?
กลูโคส (Glucose) คืออะไร? หลายคนอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันสักเท่าไร แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นถามว่า น้ำตาล (Sugar) คืออะไรหลายคนพอคงจะรู้จักและพอจะรู้ว่ามันคืออะไร?
กลูโคส คือน้ำตาลชนิดหนึ่ง กลูโคสมักพบในน้ำผลไม้ การย่อยสลายแป้ง น้ำตาล อ้อย โดยหลักการที่มันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของเนื้อเยื่อมนุษย์ได้ เป็นการนำหลักการนี้มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หรือทางวิทยาการกีฬาได้ เช่น เครื่องดื่มชูกำลังต่างๆจะมีส่วนผสมของกลูโคสเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้เลย แต่ถ้าเรามีกลูโคสในร่างกายมากเกินไปจะพบในปัสสาวะของคนที่เป็นโรค เบาหวาน
กลูโคสซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่ง ก็คือคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) นั่นเอง ดังนั้นก่อนที่เราจะรู้ว่า กลูโคสคืออะไร เราควรจะรู้ว่าคาร์โบไฮเดรตมีอะไรบ้าง? เราจะมาทำความรู้จักคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลกันให้มากขึ้นในบทความนี้ครับ
สนใจวิเคราะห์กลูโคส ติดต่อเราสิครับ
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คืออะไร?
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คือ Carbo + Hydrate แปลตรงตัวว่า คาร์บอนที่เต็มไปด้วยน้ำ โดยจากสูตรโครงสร้างทางเคมีทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตคือ (CH2O)n ก็คงเป็นที่มาของชื่อนี้ครับ ถึงแม้ปัจจุบันนิยามที่ว่าไม่เป็นความจริง แต่คำว่าคาร์โบไฮเดรตก็ยังเป็นคำที่ใช้กันอยู่ เนื่องด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นสารประกอบ แอลดีไฮด์ หรือ คีโทน โดยมีหมู่ไฮดรอกซิลจับอยู่ (Hydroxyl group, -OH)
บทบาทและหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต
- เป็นแกนของโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต หลายท่านคงเคยได้ยินว่า พืชมีโครงสร้างเป็น เซลลูโลส (cellulose) เปลือกแข็งๆที่ห่อหุ้มแมลงที่เรียกว่า ไคทิน (Chitin) ทั้งหมดนี้เป็น คาร์โบไฮเดตรครับ
- เป็นแหล่งพลังานสำคัญของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างเช่น กลูโคส
บทบาทหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตยังคงมีอีกมากมายโดยจะเน้นไปในทางเป็นองค์ประกอบและกลไกลทางชีวเคมีที่ค่อนข้างจะลึกพอสมควรครับโดยในบทความนี้จะไม่ลงรายละเอียดที่ลึกมากเกินไป
ประเภทของคาร์โบไฮเดรต มีอะไรบ้าง?
ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : มี 3 ประเภทโดยแยกประเภทจาก “หน่วยการสร้าง” (Building block)
- มอโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharide) : ประเภทนี้เราจะเรียกว่า น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ น้ำตาลอย่างง่าย (Simple sugar) เป็น “1หน่วยการสร้าง” เพราะคาร์โบไฮเดรตชนิดนี้จะไม่สามารถถูกทำลาย แยกสลายให้มีโมเลกุลเล็กลงไปมากกว่านี้ได้อีก หรือจะพูดได้ว่า เป็นหน่วยการสร้างที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรตในธรรมชาติ โดยจะมีการจำแนกประเภทของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวลงไปอีกตามหมู่ฟังกชันโดยบทความนี้จะไม่กล่าวถึง
ตัวอย่างของมอโนแซ็กคาไรด์ที่คุ้นชื่อคือ : กลูโคส (Glucose) และฟรักโทส (Fructose) และยังเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ - โอลิโกแซ็กคาไรด์ (Oligosaccharide) : ประเภทนี้เรียกว่าเป็นน้ำตาลที่ เป็นสายของ มอโนแซ็กคาไรด์ คือ มอโนแซ็กคาไรด์มาต่อกันเป็นสายสั้นๆประมาณ 2- 10 โมเลกุล โดยชื่อเรียกจะเรียกตามจำนวนของมอโนแซ็กคาไรด์ที่มาต่อกัน
เช่น ไดแซ็กคาไรด์ หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ ดังนั้นถ้า โอลิโกแซ็กคาไรด์ถูกทำลาย ย่อย หรือแยกให้ไปเป็นหน่วเล็กลงที่สุดมันก็จะกลายเป็น มอโนแซ็กคาไรด์นั้นเอง
ตัวอย่างของโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่คุ้นชื่อคือ : ซูโครส (Sucrose) มอลโทส(Maltose) และแลกโทส(Lactose)
ความรู้เสริม : ซูโครส คือน้ำตาลทราย คู่ครัวของเรานั้นเองครับ ได้มาจาก อ้อย หัวบีท
แลกโทส คือน้ำตาลที่พบในนม ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงนมแม่ด้วยครับ - พอลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) : ประเภทนี้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มี มอโนแซ็กคาไรด์มาต่อกันเป็นสายเป็นร้อยเป็นพันหน่วยครับ โดยส่วนใหญ่จะไม่ละลายน้ำ ถ้าเราประเภทของ พอลีแซ็กคาไรด์ ตามหน้าที่มี 2 หน้าที่ คือเป็นพวกที่ให้พลังงานและพวกที่เป็นโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต
ตัวอย่างของโพลีแซ็กคาไรด์ที่คุ้นชื่อคือ : แป้ง (Starch) ไกลโคเจน (Glycogen) อินูลิน (Inulin) คาร์โบไฮเดรตเหล่านี้จะเป็นพลังงานให้กับสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ และแบคทีเรียเซลลูโลส และไคทิน คาร์โบไฮเดรตเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างให้กับสิ่งมีชีวิต
สรุป
คาร์โบไฮเดรต : แบ่งเป็นน้ำตาลหลายประเภทโดยจัดให้เป็นตั้งแต่หน่วยที่เล็กที่สุดจนไปถึงหน่วยที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆแต่ละประเภทก็มีบทบาทหน้าที่สำคัญที่แตกต่างกันออกไปในเชิง ชีวเคมี
จากที่เราค่อยทำความรู้จักคาร์โบไฮเดรตกันมา ทำให้เรารู้ว่ากลูโคสเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในประเภทของคาร์โบไฮเดรตโดยเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญให้กับสิ่งมีชีวิต เช่นมนุษย์อย่างเรา มันจะเป็นแหล่งพลังงานให้เนื้อเยื่อต่างๆโดยถูกส่งไปตามกระแสเลือด
เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับบทความ กูลโคส คืออะไรทุกท่านคงได้รับความรู้เพิ่มเติมจากบทความนี้กันไปบ้างแล้ว โดยห้องปฏิบัติการบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ เรามีเครื่อง บอมบ์แคลอริมิเตอร์ ที่สามารถวัดค่าพลังงานจากสารอาหารได้ตามหลักสากล
รวมถึงสามารถรับวิเคราะห์คุณภาพน้ำ น้ำดื่ม น้ำเสีย น้ำประปา น้ำปาดาล รวมถึงวิเคราะห์คุณภาพของกากอุตสาหกรรมทุกชนิด ตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อม หากท่านใดที่สนใจอยากวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อความมั่นใจ ห้องปฏิบัติการ เอส เอส ซี ออยล์ ยินดีให้บริการหรือติดตามบทความดีๆจากเราได้ตามช่องทางนี้ครับ
สามารถติดต่อได้ที่โทร 062-337-0067
sscoillab@thailandwastemanagement.com
หรือสามารถแสกนได้ง่ายๆ ตามคิวอาร์โค้ดด้านล่างได้เลยครับ
นึกถึงวิเคราะห์คุณภาพน้ำ นึกถึงห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด (ว-302)
เรายินดีให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสียตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น pH COD BOD TSS TDS Sulfide เป็นต้น โดยเครื่องมือที่ทันสมัยและผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน
เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 8.00 – 17.00 น.
ติดตามเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab
หลายคนสนใจบทความเพิ่มเติม
วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด
น้ำเสียคืออะไร วิเคราะห์อย่างไร (Sewage Waste Analysis)
น้ำเสีย (Sewage waste) คืออะไร แล้วเรามีวิธีการวิเคราะห์ Analysis อย่างไรบ้าง
อุณหภูมิ (Temperature) คืออะไร?
อุณหภูมิ (Temperature) คือหน่วยที่ใช้บอกความรู้สึกต่อความเย็นหรือความร้อน โดยหลักการในการวัดของอุณหภูมิเป็นการใช้พลังงานจลน์ที่เป็นค่าเฉลี่ยของอนุภาคในสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นพลังงานประเภทหนึ่ง
สารแขวนลอย (Suspension) คืออะไร?
สารแขวนลอย เป็นสารที่มีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าที่กระจายและลอยตัวอยู่ในน้ำ
หน่วย ppm คืออะไร
หน่วย ppm (part per million) คืออะไร แล้วมันสามารถคำนวนได้อย่างไร ทำไมปริมาณสารเคมีที่น้อยมากๆถึงต้องใช้หน่วยวัดนี้
ปริมาณออกซิเจนในน้ำ (DO หรือ Dissolved oxygen) คืออะไร
ปริมาณออกซิเจนในน้ำหรือ DO คืออะไรกันแน่ ค่านี้บ่อบอกอะไรถึงคุณภาพน้ำกันได้บ้าง น้ำดีน้ำเสียควรมีค่า DO อย่างไร?