Table of Contents
Glucose คืออะไร?
กลูโคส (Glucose) คืออะไร? หลายคนอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันสักเท่าไร แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นถามว่า น้ำตาล (Sugar) คืออะไรหลายคนพอคงจะรู้จักและพอจะรู้ว่ามันคืออะไร?
กลูโคส คือน้ำตาลชนิดหนึ่ง กลูโคสมักพบในน้ำผลไม้ การย่อยสลายแป้ง น้ำตาล อ้อย โดยหลักการที่มันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของเนื้อเยื่อมนุษย์ได้ เป็นการนำหลักการนี้มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หรือทางวิทยาการกีฬาได้ เช่น เครื่องดื่มชูกำลังต่างๆจะมีส่วนผสมของกลูโคสเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้เลย แต่ถ้าเรามีกลูโคสในร่างกายมากเกินไปจะพบในปัสสาวะของคนที่เป็นโรค เบาหวาน
กลูโคสซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่ง ก็คือคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) นั่นเอง ดังนั้นก่อนที่เราจะรู้ว่า กลูโคสคืออะไร เราควรจะรู้ว่าคาร์โบไฮเดรตมีอะไรบ้าง? เราจะมาทำความรู้จักคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลกันให้มากขึ้นในบทความนี้ครับ
สนใจวิเคราะห์กลูโคส ติดต่อเราสิครับ
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คืออะไร?
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คือ Carbo + Hydrate แปลตรงตัวว่า คาร์บอนที่เต็มไปด้วยน้ำ โดยจากสูตรโครงสร้างทางเคมีทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตคือ (CH2O)n ก็คงเป็นที่มาของชื่อนี้ครับ ถึงแม้ปัจจุบันนิยามที่ว่าไม่เป็นความจริง แต่คำว่าคาร์โบไฮเดรตก็ยังเป็นคำที่ใช้กันอยู่ เนื่องด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นสารประกอบ แอลดีไฮด์ หรือ คีโทน โดยมีหมู่ไฮดรอกซิลจับอยู่ (Hydroxyl group, -OH)
บทบาทและหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต
- เป็นแกนของโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต หลายท่านคงเคยได้ยินว่า พืชมีโครงสร้างเป็น เซลลูโลส (cellulose) เปลือกแข็งๆที่ห่อหุ้มแมลงที่เรียกว่า ไคทิน (Chitin) ทั้งหมดนี้เป็น คาร์โบไฮเดตรครับ
- เป็นแหล่งพลังานสำคัญของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างเช่น กลูโคส
บทบาทหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตยังคงมีอีกมากมายโดยจะเน้นไปในทางเป็นองค์ประกอบและกลไกลทางชีวเคมีที่ค่อนข้างจะลึกพอสมควรครับโดยในบทความนี้จะไม่ลงรายละเอียดที่ลึกมากเกินไป
ประเภทของคาร์โบไฮเดรต มีอะไรบ้าง?
ชนิดของคาร์โบไฮเดรต : มี 3 ประเภทโดยแยกประเภทจาก “หน่วยการสร้าง” (Building block)
- มอโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharide) : ประเภทนี้เราจะเรียกว่า น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ น้ำตาลอย่างง่าย (Simple sugar) เป็น “1หน่วยการสร้าง” เพราะคาร์โบไฮเดรตชนิดนี้จะไม่สามารถถูกทำลาย แยกสลายให้มีโมเลกุลเล็กลงไปมากกว่านี้ได้อีก หรือจะพูดได้ว่า เป็นหน่วยการสร้างที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรตในธรรมชาติ โดยจะมีการจำแนกประเภทของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวลงไปอีกตามหมู่ฟังกชันโดยบทความนี้จะไม่กล่าวถึง
ตัวอย่างของมอโนแซ็กคาไรด์ที่คุ้นชื่อคือ : กลูโคส (Glucose) และฟรักโทส (Fructose) และยังเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ - โอลิโกแซ็กคาไรด์ (Oligosaccharide) : ประเภทนี้เรียกว่าเป็นน้ำตาลที่ เป็นสายของ มอโนแซ็กคาไรด์ คือ มอโนแซ็กคาไรด์มาต่อกันเป็นสายสั้นๆประมาณ 2- 10 โมเลกุล โดยชื่อเรียกจะเรียกตามจำนวนของมอโนแซ็กคาไรด์ที่มาต่อกัน
เช่น ไดแซ็กคาไรด์ หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ ดังนั้นถ้า โอลิโกแซ็กคาไรด์ถูกทำลาย ย่อย หรือแยกให้ไปเป็นหน่วเล็กลงที่สุดมันก็จะกลายเป็น มอโนแซ็กคาไรด์นั้นเอง
ตัวอย่างของโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่คุ้นชื่อคือ : ซูโครส (Sucrose) มอลโทส(Maltose) และแลกโทส(Lactose)
ความรู้เสริม : ซูโครส คือน้ำตาลทราย คู่ครัวของเรานั้นเองครับ ได้มาจาก อ้อย หัวบีท
แลกโทส คือน้ำตาลที่พบในนม ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงนมแม่ด้วยครับ - พอลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) : ประเภทนี้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มี มอโนแซ็กคาไรด์มาต่อกันเป็นสายเป็นร้อยเป็นพันหน่วยครับ โดยส่วนใหญ่จะไม่ละลายน้ำ ถ้าเราประเภทของ พอลีแซ็กคาไรด์ ตามหน้าที่มี 2 หน้าที่ คือเป็นพวกที่ให้พลังงานและพวกที่เป็นโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต
ตัวอย่างของโพลีแซ็กคาไรด์ที่คุ้นชื่อคือ : แป้ง (Starch) ไกลโคเจน (Glycogen) อินูลิน (Inulin) คาร์โบไฮเดรตเหล่านี้จะเป็นพลังงานให้กับสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ และแบคทีเรียเซลลูโลส และไคทิน คาร์โบไฮเดรตเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างให้กับสิ่งมีชีวิต
สรุป
คาร์โบไฮเดรต : แบ่งเป็นน้ำตาลหลายประเภทโดยจัดให้เป็นตั้งแต่หน่วยที่เล็กที่สุดจนไปถึงหน่วยที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆแต่ละประเภทก็มีบทบาทหน้าที่สำคัญที่แตกต่างกันออกไปในเชิง ชีวเคมี
จากที่เราค่อยทำความรู้จักคาร์โบไฮเดรตกันมา ทำให้เรารู้ว่ากลูโคสเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในประเภทของคาร์โบไฮเดรตโดยเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญให้กับสิ่งมีชีวิต เช่นมนุษย์อย่างเรา มันจะเป็นแหล่งพลังงานให้เนื้อเยื่อต่างๆโดยถูกส่งไปตามกระแสเลือด
เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับบทความ กูลโคส คืออะไรทุกท่านคงได้รับความรู้เพิ่มเติมจากบทความนี้กันไปบ้างแล้ว โดยห้องปฏิบัติการบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ เรามีเครื่อง บอมบ์แคลอริมิเตอร์ ที่สามารถวัดค่าพลังงานจากสารอาหารได้ตามหลักสากล
รวมถึงสามารถรับวิเคราะห์คุณภาพน้ำ น้ำดื่ม น้ำเสีย น้ำประปา น้ำปาดาล รวมถึงวิเคราะห์คุณภาพของกากอุตสาหกรรมทุกชนิด ตรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อม หากท่านใดที่สนใจอยากวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อความมั่นใจ ห้องปฏิบัติการ เอส เอส ซี ออยล์ ยินดีให้บริการหรือติดตามบทความดีๆจากเราได้ตามช่องทางนี้ครับ
สามารถติดต่อได้ที่โทร 062-337-0067
sscoillab@thailandwastemanagement.com
หรือสามารถแสกนได้ง่ายๆ ตามคิวอาร์โค้ดด้านล่างได้เลยครับ
นึกถึงวิเคราะห์คุณภาพน้ำ นึกถึงห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด (ว-302)
เรายินดีให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสียตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น pH COD BOD TSS TDS Sulfide เป็นต้น โดยเครื่องมือที่ทันสมัยและผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน
เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 8.00 – 17.00 น.
ติดตามเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab
หลายคนสนใจบทความเพิ่มเติม
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออะไร? ใช้งานอย่างไร?
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) เป็นเครื่องมือทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลาย กระดาษลิตมัสมีบทบาทสำคัญในการทำงานในห้องปฏิบัติการ
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) คืออะไร?
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ปฏิกิริยานี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้สารอีกตัวหนึ่งได้รับอิเล็กตรอนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างต่อเนื่อง
วิธีการเช็กคุณภาพน้ำดื่มด้วยตัวเองเบื้องต้น
น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา เราต้องแน่ใจว่าน้ำที่เราดื่มนั้นสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้
วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด
น้ำเสียคืออะไร วิเคราะห์อย่างไร (Sewage Waste Analysis)
น้ำเสีย (Sewage waste) คืออะไร แล้วเรามีวิธีการวิเคราะห์ Analysis อย่างไรบ้าง