เลขทะเบียน lab -302

การจัดการสารเคมี

วิธีการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไร?

Table of Contents

นอกจากเรื่องคุณภาพในการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการ ความสำคัญรองลงมา ที่ถ้าหากไม่วางแผนให้ดีอาจทำให้คุณสมบัติที่ดีของห้องปฏิบัติการขาดหายไป สิ่งนั้นคือ “ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ’’

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการแบ่งออกเป็นหลายๆส่วนซึ่งต้องวางแผนให้ครบทุกมิติครับ ซึ่งในบทความนี้เราจะเน้นความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการในส่วน “การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ’’ กันครับ

การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ เริ่มอย่างไร?

ห้องปฏิบัติการ

การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ ก่อนอื่นห้องปฏิบัติการนั้นๆ จะรู้อยู่แล้วว่าห้องปฏิบัติการของตนเองนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อการวิเคราะห์ประเภทไหน เช่น ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ น้ำเสีย น้ำดื่ม ก็ต้องวางแผนว่าจะวิเคราะห์ พารามิเตอร์อะไรบ้าง เช่น COD BOD pH TSS TDS โลหะหนักหรืออื่นๆ

ดังนั้นห้องปฏิบัติการจะรู้ว่าต้องใช้สารเคมีอะไรบ้างในการวิเคราะห์พารามิเตอร์เหล่านั้น หลังจากนั้นจะมีการดำเนินการจัดซื้อสารเคมีเข้ามาในห้องปฏิบัติการ

6 ขั้นตอนในการจัดการสารเคมี

สารเคมีในห้องแลป

โดยทั่วไปจะเริ่มจากจุดนี้ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นทั้งหมดคราวๆ 6 ขั้นตอนดังนี้

1. รับสารเคมี

ขั้นตอนการรับสารเคมีนี้ จะเป็นการตรวจสอบว่าสารเคมี ตรงตามที่ห้องปฏิบัติการได้สั่งซื้อหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ยี่ห้อ เกรดของสารเคมี ภาชนะที่บรรจุสารเคมีอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์  จำนวนที่สั่งซื้อ

2. ตรวจสอบเอกสารประจำตัวของสารเคมี

การจัดการสารเคมี

สารเคมีแต่ละชนิดจะมีเอกสารกำกับ เช่น เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (SDS) เอกสารรับรองผลการวิเคราะห์คุณภาพของสารเคมี (COA) ให้ดำเนินการตรวจสอบว่า ชื่อ ยี่ห้อ ความเข้มข้นสารเคมีในเอกสารเหล่านี้ตรงตามความต้องการของห้องปฏิบัติการหรือไม่

3. ลงทะเบียนสารเคมี

ขั้นตอนลงทะเบียนสารเคมีนี้ ห้องปฏิบัติการต้องทำแบบฟอร์มขึ้นมาเพื่อลงบันทึกประวัติสารเคมีที่รับเข้ามา ข้อมูลที่ควรบันทึกลงไปควรมี ดังนี้ ชื่อสารเคมี ยี่ห้อ ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า CAS No. วัตถุประสงค์ในการใช้งาน ปริมาณรับเข้า วันที่ลงทะเบียนสารเคมี รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีชนิดนั้นๆที่ต้องปฏิบัติตาม การลงทะเบียนสารเคมีจะเป็นการลงทะเบียนในครั้งแรกที่นำมาใช้ในห้องปฏิบัติการ

4. การจัดเก็บสารเคมี

ห้องแลป

ก่อนจะถึงขั้นตอนการจัดเก็บต้องทราบก่อนว่า สารเคมีที่จะจัดเก็บจะต้องพิจารณาคุณสมบัติของสารเคมีในเรื่องไหน และเรื่องไหนไม่นำมาพิจารณา รวมถึงสารเคมีที่จะจัดเก็บนั้นแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

โดยในบทความนี้ขออ้างอิงตาม ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องคู่มือ การเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ.2550
อ่านเพิ่มเติมได้จาก http://eis.diw.go.th/haz/hazard/pdf/pagad-kep-2550.pdf

4.1 การจัดเก็บสารเคมีพิจารณาตามคุณสมบัติของสารเคมี

การจัดเก็บสารเคมีในห้องปฏิบัติการจะพิจารณาจากความเป็นอันตรายของสารเคมีโดยจัดลำดับความสำคัญ ดังนี้

  • สารติดเชื้อ (ประเภท 6.2)
  • วัสดุกัมมันตรังสี (ประเภท 7)
  • วัตถุระเบิด (ประเภท 1)
  • ก๊าซอัด ก๊าซเหลว หรือก๊าซที่ละลายภายใต้ความดัน หรือก๊าซภายใต้ความดันในภาชนะบรรจุขนาดเล็ก (กระป๋องสเปรย์) (ประเภท 2A 2B)
  • สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (ประเภท 4.2)
  • สารให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ (ประเภท 4.3)
  • สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (ประเภท 5.2)
  • สารออกซิไดซ์ (ประเภท 5.1A, 5.1B และ5.1C)
  • ของแข็งไวไฟ (ประเภท 3A และ3B)
  • สารติดไฟที่เป็นสารพิษ (ประเภท 6.1A)
  • สารไม่ติดไปที่เป็นสารพิษ (ประเภท 6.1B)
  • สารติดไฟที่เป็นสารกัดกร่อน (ประเภท 8A)
  • สารไม่ติดไฟที่เป็นสารกัดกร่อน (ประเภท 8B)
  • ของเหลวติดไฟที่ไม่อยู่ในประเภท 3A หรือ 3B (ประเภท 10)
  • ของแข็งติดไฟ (ประเภท 11)
  • ของเหลวไม่ติดไฟ (ประเภท 12)
  • ของแข็งไม่ติดไฟ (ประเภท 13)

หมายเหตุ : สารเคมีที่เป็นสารผสม มีส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิด การเก็บรักษาให้เป็นไปตามคุณสมบัติหลัก*ของสารผสมนั้น ดูจาก SDS  

4.2 การจัดเก็บสารเคมีพิจารณาตามประเภทสารเคมี

ตารางจัดเก็บสารเคมี

ประเภทของสารเคมีมีทั้งหมด 13 ประเภทดังนี้

  • ประเภท 1 วัตถุระเบิด (Explosive substance)
  • ประเภท 2A ก๊าซอัด ก๊าซเหลว หรือก๊าซที่ละลายภายใต้ความดัน (Compressed liquefied and dissolved gases)
  • ประเภท 2B ก๊าซภายใต้ความดันในภาชนะบรรจุขนาดเล็ก (Pressurized small gas containers; aerosol can/aerosol container)
  • ประเภท 3A ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) คือ ของเหลวที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส
  • ประเภท 3B ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) คือ ของเหลวที่มีจุดวาบไฟระหว่าง 60 ถึง 93 องศาเซลเซียส
  • ประเภท 4.1A ของแข็งไวไฟ (Flammable solids) ที่มีคุณสมบัติระเบิด (มีการเจือจางกับสารอื่นเพื่อข่มการคุณสมบัติการระเบิดไว้)
  • ประเภท 4.1B ของแข็งไวไฟ (Flammable solids) ที่ไม่มีคุณสมบัติระเบิด สามารถติดไฟได้เมื่อเกิดการเสียดสี
  • ประเภท 4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances liable to spontaneous combustion) ได้แก่ สาร Pyrophoric และ สาร Self-heating
  • ประเภท 4.3 สารให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ (Substances which in contact with water emit flammable gases)
  • ประเภท 5.1A 5.1B 5.1C สารออกซิไดซ์ (Oxidizing substances)
  • ประเภท 5.2 สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (Organic peroxides)
  • ประเภท 6.1A และ 6.1B สารพิษ (Toxic substances) แบ่งออกเป็น 6.1A คือ สารติดไฟที่มีคุณสมบัติความเป็นพิษ (Combustible toxic substances) และ 6.1B คือ สารไม่ติดไฟที่มีคุณสมบัติเป็นพิษ (Non-combustible toxic substances)
  • ประเภท 6.2 สารติดเชื้อ (Infectious substances)
  • ประเภท 7 วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactive substances)
  • ประเภท 8A และ 8B สารกัดกร่อน (Corrosive substances) แบ่งออกเป็น 8A คือสารติดไฟที่มีคุณสมบัติกัดกร่อน และ 8B คือสารที่ไม่ติดไฟที่มีคุณสมบัติกัดกร่อน
  • ประเภท 9 เป็นวัตถุอันตรายประเภทอื่นๆ
  • ประเภท 10 ของเหลวติดไฟ (Combustible liquids) คือของเหลวติดไฟที่ไม่ได้จัดอยู่ในประเภท 3A หรือ 3B
  • ประเภท 11 ของแข็งติดไฟ (Combustible solids) คือของแข็งติดไฟที่ไม่อยู่ในประเภทของแข็งไวไฟ 4.1B
  • ประเภท 12 ของเหลวไม่ติดไฟ (Non-combustible liquids)
  • ประเภท 13 ของแข็งไม่ติดไฟ (Non-combustible solids)

4.3 ขั้นตอนการเก็บรักษา

การจะเก็บรักษาสารเคมีจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าเราไม่รู้ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีนั้นๆ ดังนั้นต้องศึกษาข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีจาก SDS ที่เราได้มาตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารประจำตัวของสารเคมีหลัก

จากนั้นดูคุณสมบัติ และแบ่งประเภทสารเคมีออกตาม ข้อ4.1 และ 4.2 ตามลำดับ และวิธีการจัดเก็บสารเคมีตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการจัดเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตรายแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ

  • การจัดเก็บแบบแยกบริเวณ : เก็บสารเคมีแยกบริเวณออกจากกัน
  • การจัดเก็บแบบแยกห่าง : สารเคมี 2 ชนิดขึ้นไปจัดเก็บในบริเวณเดียวกัน แต่ต้องมีมาตรการป้องกันที่ดี

      ขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่ห้องปฏิบัติการจะเก็บสารเคมีในปริมาณที่ไม่มากเท่ากับโรงงานอุตสาหกรรมแต่สามารถนำหลักการนี้ไปใช้ได้ในห้องปฏิบัติการของตนเองร่วมกับ หลักการอื่นๆเช่น การเรียงตามตัวอักษรหลังจากที่แยกคุณสมบัติของสารเคมี และประเภทของสารเคมีและมีการจัดเก็บตามวิธีข้างต้นไปแล้วสามารถนำเรียงตามตัวอักษรของสารเคมีในกลุ่มการจัดเก็บนั้นๆ

5. ขั้นตอนการกำหนดมาตรการป้องกัน

ขั้นตอนนี้เป็นการหามาตรการป้องกันอันตรายที่จะเกิดจากการใช้สารเคมี การจัดเก็บสารเคมี หรืออันตรายอื่นๆที่จะเกิดขึ้นได้ โดยทั่วไปห้องปฏิบัติการควรมีมาตรการคราวๆ ดังนี้

  • การจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยจากสารเคมีให้ผู้ปฏิบัติงานให้ห้องปฏิบัติการ
  • มาตรการบังคับ เช่น ห้ามรับประทานอาหารเครื่องดื่ม ห้ามนำสารเคมีออกจากห้องปฏิบัติการเด็ดขาด มีผู้ควบคุมดูแลตรวจสอบการใช้สารเคมี เมื่อมีใช้สารเคมีแล้วทุกครั้งต้องล้างมือ
  • ติดป้ายเครื่องหมายความเป็นอันตรายของสารเคมีในจุดที่จัดเก็บสารเคมี รวมถึงข้องมูลความปลอดภัยของสารเคมี SDS รวมถึงประเมินความเสี่ยงจากสารเคมีแต่ละตัว มีแผนรองรับ  และควรมีการซ้อมแผนฉุกเฉินกรณีสารเคมีหกรั่วไหล
  • บุคคลภายนอกห้ามเข้ามาในพื้นที่จัดเก็บสารเคมี
  • มีขั้นตอนการจัดการขยะปนเปื้อนสารเคมี เช่น การจัดการภาชนะที่ใส่สารเคมีแล้ว

6. ขั้นตอนการเบิกจ่ายสารเคมี

ขั้นตอนนี้ห้องปฏิบัติการต้องจัดทำแบบฟอร์มในการบันทึกข้อมูลการใช้สารเคมีในห้องปฏิบัติการ เช่น วันที่เปิดใช้งาน ปริมาณที่ใช้ในแต่ละครั้ง วัตถุประสงค์การใช้งาน วันหมดอายุ ลงชื่อผู้ใช้งาน

สรุป การจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ

สารเคมีในห้องแลป

จะเห็นได้ว่าการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในเฉพาะด้าน  เป็นการลดความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีและบ่งบอกถึงความเป็นมาตรฐานของห้องปฏิบัติการนั้นๆ

ห้องปฏิบัติการบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด มีการจัดการและจัดเก็บสารเคมีตามมาตรฐาน และตามมาตรการที่ถูกต้อง  เรามีการให้บริการในการวิเคราะห์น้ำทุกประเภทมาตรฐานในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม คอนโดมิเนียม โรงแรม พร้อมทั้งมีบริการเก็บตัวอย่างถึงที่ เปิดให้บริการวันจันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 8.00-17.00 น.

สำหรับท่านที่สนใจต้องการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำหรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์สามารถติดต่อมาที่

เบอร์โทรศัพท์ 062-337-0067

ช่องทาง Line : @thaitestlab

อีเมล์ sscoillab@thailandwastemanagement.com

และสามารถติดตามผลงานของพวกเราได้ที่ช่องทาง

Facebook : ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ บริการวิเคราะห์น้ำเสีย

TikTok : thaitestlab

ดูการทำแลปสนุกๆของเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab

บทความน่ารู้เพิ่มเติม

อุณหภูมิ

อุณหภูมิ (Temperature) คืออะไร?

อุณหภูมิ (Temperature) คือหน่วยที่ใช้บอกความรู้สึกต่อความเย็นหรือความร้อน โดยหลักการในการวัดของอุณหภูมิเป็นการใช้พลังงานจลน์ที่เป็นค่าเฉลี่ยของอนุภาคในสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นพลังงานประเภทหนึ่ง

Read More »
หน่อย ppm คืออะไร

หน่วย ppm คืออะไร

หน่วย ppm (part per million) คืออะไร แล้วมันสามารถคำนวนได้อย่างไร ทำไมปริมาณสารเคมีที่น้อยมากๆถึงต้องใช้หน่วยวัดนี้

Read More »
Glocose คืออะไร

กลูโคส (Glucose) คืออะไร?

กลูโคส (Glucose) คืออะไร หลายคนอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันสักเท่าไร แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นถามว่า น้ำตาล (Sugar) คืออะไรหลายคนพอคงจะรู้จักและพอจะรู้ว่ามันคืออะไร ใช่ครับ กลูโคสเป็นน้ำตาลครับ

Read More »

แชร์บทความ

Facebook
Pinterest
LinkedIn