Table of Contents สารบัญ
Jar test (จาร์เทส) คืออะไร?
Jar Test คือ วิธีการที่ทดสอบการตกตะกอนทางเคมีของตัวอย่างหรือน้ำตัวอย่างก่อนจะเข้าระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อช่วยในการตกตะกอนให้ดีที่สุด โดยใช้สารเคมีในปริมารที่เหมาะสมที่สุด ในการทำ Jar Test เป็นการหาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมในการสร้างตะกอน โดยสารเคมีที่เหมาะสมจะสามารถกำจัดความขุ่น สี สารละลายต่างๆในตัวอย่าง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบำบัดให้เหมาะสมด้วย
ปรึกษาเรื่องจากทำ Jartest โดยผู้เชี่ยวชาญ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ปัจจัยในการตกตะกอนด้วยเคมี มีอะไรบ้าง?
การที่การตกตะกอนทางเคมี จะสามารถตกตะกอนได้ดีหรือไม่นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย ได้แก่
- ค่า pH
- สี
- ความขุ่น
- ส่วนประกอบของสารต่างๆที่อยู่ในตัวอย่าง
- ชนิดของสารเคมีที่ใช้ในการตกตะกอน
- อุณหภูมิ
- อัตราเร็วของสารเคมีที่ผสม
- ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสม
ซึ่งตัวอย่างแต่ละตัวอย่างก็ต้องการปริมาณของสารตกตะกอนในปริมาณที่แตกต่างกันนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.dober.com/water-treatment/jar-testing#what_is_a_jar_test
ทำไมต้องทำ Jar test น้ำเสีย
โดยทั่วไปการทำ Jar Test ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับโรงประปา การทำน้ำดี หรือ กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วย
การทดสอบการตกตะกอนด้วยเครื่องทดสอบการตกตะกอนมีประโยชน์มากมาย ดังนี้
- ช่วยในการกำจัดตะกอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย
- ช่วยให้น้ำเสียมีคุณภาพดีขึ้น
- ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การทำ Jartest จะเป็นการคำนวนปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมใน Lab scale ก่อน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการสำหรับการเดินระบบใหญ่ เพื่อให้ปริมาณสารเคมีอยู่ในระดับเหมาะสมที่สุด (optimum) ทำให้สามารถสะตะกอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่สิ้นเปลืองเคมีโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
เครื่องทดสอบการตกตะกอน (Jar Test) ใช้งานอย่างไร?
เครื่องทดสอบตะกอนหรือเรียกง่ายๆว่าเครื่อง Jar Test มีมากหมายหลายรุ่น หลายยี่ห้อ ซึ่งเป็นวิธีการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการสร้างตะกอน เพื่อเป็นกระบวนการที่ทำให้อนุภาคแขวนลอยขาดความเสถียรภาพ
ขั้นตอนทั่วไป ของการใช้งานเครื่องทดสอบการตกตะกอน Jar test มีดังนี้
- เตรียมตัวอย่างน้ำเสีย
- แบ่งตัวอย่างน้ำเสียออกเป็นหลายชุด
- เพิ่มสารเคมี สารตกตะกอนประเภทต่างๆ เช่น PAC หรือ Alum ลงในชุดตัวอย่างน้ำเสียแต่ละชุด โดยปริมาณต้องไม่เท่ากัน ไล่จากน้อยไปมาก
- กวนเร็ว เพื่อให้สารตกตะกอนจับตัวตะกอน เป็น floc
- กวนช้า และเติมพอลิเมอร์เพื่อให้ตะกอนจับตัวเป็นก้อนใหญ่ขึ้น
- สังเกตการตกตะกอนของแต่ละชุดตัวอย่างน้ำเสีย
- เปรียบเทียบผลการตกตะกอนของแต่ละชุดตัวอย่างน้ำเสีย
- เลือกชุดตัวอย่างน้ำเสียที่มีผลการตกตะกอนที่ดีที่สุด
Case Study ทำ Jar Test ตัวอย่างจริง ทำอย่างไร?
ห้องแลปบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด เราได้ทำการ Jartest โดยมีกระบวนการดังต่อไปนี้
- ใช้ความเร็วของเครื่องทดสอบตะกอนเซ็ตค่าการกวนเร็วอยู่ที่ 160 rpm ต่อ 2 นาที และกวนช้าเซ็ตให้อยู่ที่ 70 rpm ต่อ 1 นาที หรือว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
- ใช้ PAC และ Polymer เป็นสารเคมีที่ใช้ช่วยในการตกตะกอน
- เทตัวอย่างใส่ในบีกเกอร์ขนาด 500 หรือ 1000 มิลลิลิตร
- สังเกตลักษณะทางกายภาพ คือ สี การแยกชั้นของตัวอย่าง
- ถ่ายรูปตัวอย่างก่อนการทำ Jar Test
- นำ บีกเกอร์ไปใส่ในเครื่องทดสอบตะกอน โดยให้ใบพัดอยู่กึ่งกลางของบีกเกอร์
- ปรับ pH ด้วยกรดซัลฟูริก หรือโซดาไฟ ให้ pH อยู่ประมาณ 6.5-7 และบันทึกการใช้สารปรับ pH ลงในแบบฟอร์ม
- ขั้นตอนการกวนเร็วเราจะเติมสารตกตะกอนโดยค่อยๆเติม ให้สังเกตว่าตัวอย่างเริ่มเกิดตะกอนเล็กๆ
- เมื่อเห็นว่าตัวอย่างเกิดตะกอนให้หยุดใส่สารตกตะกอน ให้เครื่องทดสอบตะกอนกวนจนกว่าเวลาที่เซ็ตไว้จะหมด บันทึกปริมาณการใช้สารตกตะกอนลงในแบบฟอร์ม
- ต่อไปเป็นขั้นตอนการกวนช้าให้ใส่ Polymer บันทึกการใช้ Polymer ลงในแบบฟอร์ม เมื่อเครื่องทดสอบตะกอนหยุดแล้วให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของตัวอย่าง ว่าสามารถตกตะกอนได้หรือไม่ สีเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ปริมาณตะกอนมากน้อยเท่าใด
- บันทึกลงในแบบฟอร์ม และถ่ายรูปตัวอย่างหลังจากการทดสอบด้วยวิธี Jar Test เพื่อจัดทำรายงาน พร้อมนำข้อมูลปริมาณการใช้สารเคมีต่างๆลงในรายงาน
รับวิเคราะห์ Jartest โดยห้องปฏิบัติการ มืออาชีพ
บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด ยินดีให้บริการทุกท่าน เรามีเทคโนโลยีและเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล สามารถวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของน้ำเสียได้อย่างครอบคลุมทุกปัจจัยสำคัญ รับรองคุ้มค่าในการลงทุนแน่นอน
สนใจสามารถติดต่อโทร 062-337-0067 และผ่านทางไลน์ ID โดยเพิ่มเพื่อนตามด้วย หมายเลขที่ให้ไว้ข้างต้น หรือ ทางอีเมล์ sscoillab@thailandwastemanagement.com
คลิปวิธีการทำ Jartest แบบง่ายๆ
หลายคนสนใจบทความเพิ่มเติม
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออะไร? ใช้งานอย่างไร?
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) เป็นเครื่องมือทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลาย กระดาษลิตมัสมีบทบาทสำคัญในการทำงานในห้องปฏิบัติการ
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) คืออะไร?
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ปฏิกิริยานี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้สารอีกตัวหนึ่งได้รับอิเล็กตรอนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างต่อเนื่อง
วิธีการเช็กคุณภาพน้ำดื่มด้วยตัวเองเบื้องต้น
น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา เราต้องแน่ใจว่าน้ำที่เราดื่มนั้นสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้
วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด
น้ำเสียคืออะไร วิเคราะห์อย่างไร (Sewage Waste Analysis)
น้ำเสีย (Sewage waste) คืออะไร แล้วเรามีวิธีการวิเคราะห์ Analysis อย่างไรบ้าง