สารบัญ Table of Contents
น้ำบาดาล คืออะไร?
น้ำบาดาล คือน้ำที่อยู่ใต้ดิน มักอยู่ลึกลงไปหลายเมตรขึ้นอยู่กับบริเวณที่พบน้ำบาดาล บางสถานที่อาจจะอยู่ลึกลงไปหลายกิโลเมตร โดยปกติแล้วน้ำบาดาลสามารถพบได้น้อยหรือถ้าสามารถพบน้ำบาดาลได้ส่วนใหญ่มักจะพบอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ
ในพื้นที่แห้งแล้งอาจจะต้องมีการเจาะที่มีความลึกลงไปมากกว่าปกติเพราะน้ำบาดาลเกิดจากน้ำที่ซึมลงไปในผิวดิน จะไปรวมตัวกันถูกเก็บไว้ในชั้นใต้ดินที่ลึกลงไปตามรูพรุนของหิน
รับวิเคราะห์บาดาล ราคาพิเศษ ยินดีให้คำปรึกษา ฟรี!!
ทำไมต้องมีการตรวจคุณภาพของน้ำบาดาลก่อนที่จะทำการใช้อุปโภคบริโภค
1. ในน้ำบาดาลส่วนใหญ่มักมีสนิมเหล็ก ทำให้ส่งผลต่อคุณภาพของน้ำบาดาลเพราะไม่มีความปลอดภัยในการใช้งานในด้าน อุปโภคหรือบริโภค แต่ในปัจจุบันสามารถกำจัดสนิมเหล็กได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับปริมาณของสนิมเหล็กที่ตรวจพบ
2. การปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูล หรือสารเคมี ต่าง ๆ หากบริเวณใกล้เคียงที่มีการเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้นั้นมีการทำ ฟาร์มปศุสัตว์ บ่อขยะ การเกษตรที่มีการใช้สารเคมี อันตรายสำหรับกำจัดศัตรูพืช หรือ โรงงานต่างๆ อาจมีผลทำให้น้ำบาดาลที่ทำการนำมาใช้นั้น ปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูล หรือสารเคมีที่เป็นพิษได้
3. น้ำบาดาลมีค่าฟลูออไรด์เกินมาตรฐาน จะส่งผลกระทบต่อ ภาคครัวเรือน การเกษตร โดยเฉพาะ ภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากอาจทำให้วัตถุดิบ และกระบวนการผลิตสินค้า เสียหายและทำให้สินค้าไม่มีคุณภาพได้ จำเป็นต้องมีการบำบัดน้ำบาดาลก่อนนำมาใช้งาน
4. การผสมของหินปูน หากน้ำที่ใช้มีหินปูนผสมอยู่ทำให้เกิดการกระด้างของน้ำบาดาลทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะการนำน้ำบาดาลไปใช้ในกระบวนการที่เกี่ยวกับความร้อน
5. น้ำบาดาลมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเกิดจากน้ำที่นำขึ้นมาใช้นั้นปนเปื้อน ดิน หิน หรือ โคลน โดยสามารถแก้ไขได้โดยวิธีการกรอง
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dgr.go.th/th/newsAll/124/4620
ต้องทำการตรวจหรือวิเคราะห์คุณภาพของน้ำบาดาลอะไรบ้าง
- ลักษณะทางกายภาพ สี(Color) ความขุ่นของน้ำ ความเป็นกรดด่าง(pH)
- คุณลักษณะทางเคมีหรือพวกโลหะหนัก เช่น เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) ซัลเฟต (Sulfate) คลอไรด์ (Chloride) ฟลูออไรด์ (Fluoride) ไนเทรต (Nitrate) สารหนู (As) ตะกั่ว (Pb) ปรอท (Hg) แคดเมียม(Cd) ซีลีเนียม (Se) ไซยาไนด์ (Cyanide) ของแข็งที่ละลายในน้ำ (TDS) ความกระด้างของน้ำ (Total Hardness as CaCO3) ความกระด้างของน้ำถาวร (Non-Carbonate Hardness ) เชื้ออีโคไล (E.coli) เชื้อโคลิฟอร์ม (Coliform)
มาตรฐานน้ำบาดาลที่จะใช้บริโภคได้ | |||
คุณลักษณะทางกายภาพ | |||
รายการตรวจ (พารามิเตอร์) | เกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม | เกณฑ์อนุโลมสูงสุด | |
สี (Color) | 5 (หน่วยแพลทินัม-โคบอลต์) | 15 (หน่วยแพลทินัม-โคบอลต์) | |
ความขุ่น (Turbidity) | 5 (หน่วยความขุ่น) | 20 (หน่วยความขุ่น) | |
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) | 7.0-8.5 | 6.5-9.2 |
คุณลักษณะทางเคมี | |||
รายการตรวจ (พารามิเตอร์) | เกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม (มิลลิกรัมต่อลิตร) | เกณฑ์อนุโลมสูงสุด (มิลลิกรัมต่อลิตร) | |
เหล็ก (Fe) | ไม่เกิน 0.5 | 1 | |
แมงกานีส (Mn) | ไม่เกิน 0.3 | 0.5 | |
ทองแดง (Cu) | ไม่เกิน 1.0 | 1.5 | |
สังกะสี (Zn) | ไม่เกิน 5.0 | 15 | |
ซัลเฟต (SO4) | ไม่เกิน 200 | 250 | |
คลอไรด์ (Cl) | ไม่เกิน 250 | 600 | |
ฟลูออไรด์ (F) | ไม่เกิน 0.7 | 1 | |
ไนเตรท (NO3) | ไม่เกิน 45 | 45 | |
ความกระด้างทั้งหมด (Total Hardness as CaCO3) | ไม่เกิน 300 | 500 | |
ความกระด้างถาวร (Non-Carbonate Hardness as CaCO3) | ไม่เกิน 200 | 250 | |
ปริมาณมวลสารทั้งหมดที่ละลายได้ (Total Dissolved Solids) | ไม่เกิน 600 | 1,200 |
คุณลักษณะที่เป็นพิษ | |||
รายการตรวจ (พารามิเตอร์) | เกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม (มิลลิกรัมต่อลิตร) | เกณฑ์อนุโลมสูงสุด (มิลลิกรัมต่อลิตร) | |
สารหนู (As) | ไม่พบ | 0.05 | |
ไซยาไนด์ (CN) | ไม่พบ | 0.1 | |
ตะกั่ว (Pb) | ไม่พบ | 0.05 | |
ปรอท (Hg) | ไม่พบ | 0.001 | |
แคทเมียม (Cd) | ไม่พบ | 0.01 | |
ซีลีเนียม (Se) | ไม่พบ | 0.01 |
คุณลักษณะทางแบคทีเรีย | ||
รายการตรวจ (พารามิเตอร์) | เกณฑ์กำหนดที่เหมาะสม | |
Standard plate count | ไม่เกิน 500 โคโลนีต่อลูกบาศก์เซนติเมตร | |
Most probable number of Coliform organism (MPN) | น้อยกว่า 2.2 ต่อร้อยลูกบาศก์เซนติเมตร | |
E.coli | ไม่พบ |
การวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำบาดาล ใช้เวลากี่วัน
ใช้เวลาในการวิเคราะห์ประมาณ 7-10 วันทำการ หากสนใจทำการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการมีบริการเก็บตัวอย่างนอกสถานที่หรือสามารถส่งตัวอย่างมาทางไปรษณีย์โดยใส่ขวดปริมาณขั้นต่ำ 5 ลิตร
ค่าวิเคราะห์รายการวิเคราะห์ชุดนี้ ราคาทั้งหมดอยู่ที่ 8,400 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) สามารถขอราคาพิเศษและส่วนลด ติดต่อห้องปฏิบัติการ เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด (ว.302) โทร 062-337-0067 และ Line ID 062-337-0067
คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับน้ำบาดาล
1. Q : หากน้ำบาดาลกระด้างสามารถ แก้ความกระด้างของน้ำบาดาลเองได้ไหม
A : สามารถแก้ได้ถ้าเป็นน้ำกระด้างชั่วคราว สามารถแก้ได้โดยการต้มน้ำให้เดือดเพื่อตกตะกอน หากเป็นน้ำกระด้างถาวรจะต้องใช้สารเคมีในการแก้ไข
2 Q : น้ำบาดาล สามารถใช้อุปโภคหรือบริโภคได้หรือไม่?
A : สามารถนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ แต่ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำที่นำมาใช้งาน หากน้ำ ที่นำขึ้นมามีลักษณะสีของน้ำที่ค่อนข้างแดง อาจมีสนิมของเหล็กเจือปนอยู่ ซึ่งมีความเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ หรือหากนำมาใช้ในการซักผ้าอาจทำให้เสื้อผ้ามีสีหรือคราบสนิมติดได้ หากนำมาทำความสะอาดเมื่อแห้งอาจทิ้งคราบสนิมไว้บนพื้นผิว ได้
3 Q : หากใช้น้ำบาดาลที่มีความกระด้างจะมีผลกระทบอะไรไหม
A : มีครับ เมื่อใช้น้ำบาดาลไปนาน ๆ ตามบ้านเรือนอาจพบคราบตะกรันตามขอบก็อกน้ำ หรือ อุปกรณ์ครัวที่ใช้ในการต้มน้ำอาจพบคราบตะกรันหรือคราบตะกอนหินปูนได้ หากในโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้หม้อต้ม อาจทำให้เกิดคราบตะกรันหรือหินปูนได้ และยังสามารถเกาะติดอยู่ภายท่อลำเลียงน้ำ ซึ่งสามารถทำให้ท่ออุดตันได้ในอนาคต
หากท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสียเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ทางช่องทางต่างๆ
ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ บริการวิเคราะห์น้ำเสีย
062-337-0067
sscoillab@thailandwastemanagement.com
หรือสามารถแสกนได้ง่ายๆ ตามคิวอาร์โค้ดด้านล่างได้เลยค่ะ
นึกถึงวิเคราะห์คุณภาพน้ำ นึกถึงห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด (ว-302)
เรายินดีให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสียตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น pH COD BOD TSS TDS Sulfide เป็นต้น โดยเครื่องมือที่ทันสมัยและผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน
เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 8.00 – 17.00 น.
ติดตามเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab
บทความน่ารู้เพิ่มเติม
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออะไร? ใช้งานอย่างไร?
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) เป็นเครื่องมือทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลาย กระดาษลิตมัสมีบทบาทสำคัญในการทำงานในห้องปฏิบัติการ
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) คืออะไร?
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ปฏิกิริยานี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้สารอีกตัวหนึ่งได้รับอิเล็กตรอนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างต่อเนื่อง
วิธีการเช็กคุณภาพน้ำดื่มด้วยตัวเองเบื้องต้น
น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา เราต้องแน่ใจว่าน้ำที่เราดื่มนั้นสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้
วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด
น้ำเสียคืออะไร วิเคราะห์อย่างไร (Sewage Waste Analysis)
น้ำเสีย (Sewage waste) คืออะไร แล้วเรามีวิธีการวิเคราะห์ Analysis อย่างไรบ้าง