Table of Contents
ค่า TSS (Total Suspended Solids) คืออะไร? ต่างจาก TDS อย่างไร?
ค่าTSS คือ สัดส่วนของปริมาณของแข็งที่ไม่ละลายน้ำทั้งหมด มีหลักการวัดคล้ายๆกับหลักการวัดความขุ่น แต่TSS มีหน่วยออกมาเป็นน้ำหนักของของแข็งที่ละลายน้ำต่อปริมาตรน้ำ (mg/l) โดยทั่วไปแล้วอนุภาค TSS จะมีขนาดใหญ่กว่า 2 ไมครอน ถ้าขนาดอนุภาคเล็กกว่านี้ จะเรียกว่าเป็นอนุภาคของแข็งที่ละลายน้ำ Dissolved solid หรือ ถ้าจะหาค่าก็คือค่า TDS นั่นเอง
ค่า TSS ส่วนมากมาจากสารอนินทรีย์ เช่น กรวด ทราย ดินเหนียว ในบางครั้ง แบคทีเรียหรือสาหร่ายในน้ำก็ส่งผลต่อค่า TSS ด้วยเช่นกัน ซึ่งค่า TSS เป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญอีก 1 ตัว ที่ชี้วัดว่าน้ำสะอาดหรือไม่ เพราะน้ำที TSS ต่ำ ส่วนมากน้ำจะมีความใสซึ่งสามารถสองได้ด้วยตาเปล่าอยู่แล้ว
สนใจวิเคราะห์ TSS TDS ติดต่อโทร 062-337-0067 และ Line ID 062-337-0067
การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่างก่อนวิเคราะห์ TDS
การเก็บให้เก็บด้วยขวดแก้วหรือขวดพลาสติกชนิดโพลีเอทีลีน การรักษาสภาพให้ แช่เย็นที่ ≤ 6 องศาเซลเซียส สามารถรักษาตัวอย่างได้ประมาณ 7 วัน
เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับวิเคราะห์ TDS
- กระบอกตวง ขนาด 25, 50, และ 100 มิลลิลิตร
- Porcelain ขนาด 100 มิลลิลิตร
- Glass fiber filter disk พร้อม Filtration apparatus ที่เหมาะสม
- ตู้อบ (Oven) สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ 180 ± 2 องศาเซลเซียส
- เครื่องชั่ง 4 ตำแหน่ง (Analytical balance 4 decimal places)
- ขวดดูดสุญญากาศ ขนาด 1000 มิลลิลิตร
- เครื่องดูดสุญญากาศ
- ตู้ดูดความชื้นหรือโถดูดความชื้น
- ขวดปรับปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 1000 มิลลิลตร
- แท่งแก้วคนสาร
- ปากคีบ
- ขวดสำหรับฉีดล้างชนิดพลาสติก (Washing Bottle)
วิธีวิเคราะห์ TDS ในห้องปฏิบัติการ ทำได้อย่างไร?
โดยวิธีการที่อ้างอิงและดัดแปลงตามมาตรฐานของ Standard Method for Examination of water and wastewater (AWWA, APHA, WEF) ใช้ในการทดสอบหาปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด (Total Dissolved Solids Dried, TDS) ในน้ำตัวอย่างและน้ำเสียด้วยวิธี Dired at 180 ± 2 องศาเซลเซียส วิธีนี้เหมาะสมกับตัวอย่างที่มีปริมาณของแข็งที่อยู่บนถ้วยกระเบื้อง (Residue) ควรมีค่าไม่เกิน 200 มิลลิกรัม
มีวิธีการดังนี้
ขั้นตอนที่1
อบกระดาษกรองให้แห้งที่อุณหภูมิ 103 –105 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทิ้งให้เย็นในเดสิกเคเตอร์ (Desiccator) แล้วชั่งน้ำหนักเป็นน้ำหนักกระดาษกรองก่อนทดลอง (ตัวแปร B) เก็บกระดาษกรองไว้ในเดสิกเคเตอร์ (Desiccator) จนกว่าจะใช้ทดลอง
ขั้นตอนที่2
วางกระดาษกรองลงในกรวยกรองซึ่งต่อเข้ากับเครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum Pump)
ขั้นตอนที่3
ตวงปริมาตรน้ำตัวอย่างที่ผสมเข้ากันดีแล้ว 50 –100 ml. แล้วเทน้ำตัวอย่างลงในกรวยกรองและเปิดเครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum Pump) จนน้ำตัวอย่างแห้ง แล้วฉีดล้างเครื่องกรองด้วยน้ำกลั่น 10 ml. ซ้ำ 3 รอบ เปิดเครื่องทิ้งไว้ 3 นาที โดย ต้องทำ Method Blank (ใช้น้ำกลั่น) ทุกครั้งของการวิเคราะห์น้ำ และ ต้องทำ LFB (ใช้ Sigmacell cellulose) ทุกครั้งของการวิเคราะห์น้ำ
ขั้นตอนที่4
เมื่อแห้งแล้วนำกระดาษกรองออกวางในภาชนะเดิม (อาจใช้กระดาษอลูมิเนียมก็ได้) แล้วนำไปอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 103 –105 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโม ทิ้งไว้ให้เย็นในเดสิกเคเตอร์ (Desiccator) และชั่งน้ำหนักเป็นน้ำหนักกระดาษกรองหลังทดลอง (A)
ค่าที่ได้จะนำไปคำนวณตามสูตร
ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด (มิลลิกรัมต่อลิตร) = (A – B ) x 1000 / ปริมาตรตัวอย่าง (มิลลิลิตร)
A = น้ำหนักถ้วยกระเบื้องสุดท้าย+น้ำหนักของของแข็งที่บนถ้วยกระเบื้องหลังอบ (มิลลิกรัม)
B = น้ำหนักถ้วยกระเบื้องก่อนการกรอง (มิลลิกรัม)
และนี่คือ 4 ขั้นตอนของการวิเคราะห์น้ำเพื่อใช้ในการหาค่าปริมาณสารแขวนลอย TSS
สำหรับห้องปฏิบัติการ เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด (ว. 302) เรายินดีรับบริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสีย ค่า TSS และพารามิเตอร์อื่นๆ
ติดต่อสอบถาม หรือ ต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์น้ำ
โทร/ ID LINE : 062-3370067 อีเมล์ : sscoillab@thailandwastemanagement.com