เลขทะเบียน lab -302

Table of Contents

หน่วย ppm คืออะไร?

ทุกคนคงรู้จักหน่วย ppm ครั้งแรกในวิชาเคมีตอนที่เรายังเรียนอยู่ ซึ่งหน่วย ppm เป็นหน่วยที่ใช้บ่งบอกถึงความเข้มข้นในสารละลายหรือตัวอย่างน้ำ

ก่อนที่เราจะทำความรู้กับหน่วย ppm ต้องรู้เสียก่อนว่าในสารละลายประกอบด้วยอะไรบ้าง?

สารละลาย (Solution) หมายถึงสารเนื้อเดียวที่มีสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ประกอบด้วย

1. ตัวทำละลาย (solvent) คือ สารที่มีความสามารถในการละลายสารอีกชนิดหนึ่งหรือที่เรียกว่าตัวถูกละลายที่มีปริมาณน้อยกว่าในสารละลาย

2. ตัวถูกละลาย (solute) คือสารที่ถูกละลายอยู่ในสารละลาย โดยปริมาณของตัวถูกละลายจะแปรผันตามความเข้มข้นที่ต้องการ

ค่าความร้อน

คำว่า ppm ย่อมาจากอะไร?

คำว่า ppm ย่อมาจาก Parts per million หรือ ส่วนในล้านส่วน คือ น้ำหนักตัวถูกละลายในหนึ่งล้านส่วนของน้ำหนักสารละลาย ซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้ในการบอกถึงความเข้มข้นของสารที่อยู่ในน้ำ

โดยทั่วไปเราจะพบเห็นหน่วยวัดความเข้มข้น ppm นี้ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำต่างๆ เช่น เกณฑ์คุณภาพน้ำดื่ม น้ำประปา และน้ำเสีย หรือใช้เป็นหน่วย mg/L ก็ได้เช่นเดียวกัน เพราะ 1 ppm = 1 mg/L

นอกจากหน่วย ppm แล้ว ยังสามารถใช้หน่วยไหนได้อีกบ้าง?

นอกจากหน่วย ppm ที่เราทราบไปเบื้องต้นแล้วในห้องปฏิบัติการยังมีหน่วยความเข้มข้นอื่นๆที่น่าสนใจอีกมายมาย เช่น

  1. โมลาริตี (Molarity, M, mol/L) หมายถึง จำนวนโมลของตัวถูกละลายในสารละลาย 1 ลิตร
  2. นอร์แมลิตี (Normality, N) หมายถึง จำนวนกรัมสมมูลของตัวถูกละลายในสารละลาย 1 ลิตร
  3. ร้อยละ (Percentage, %) หมายถึง อัตราส่วนของตัวถูกละลายติ่สารละลาย 100 ส่วน ซึ่งแบ่งได้อีก 3 ประเภทคือ
    3.1. ร้อยละโดยมวล (%W/W) คือ ปริมาณหรือน้ำหนักเป็นกรัมของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 กรัม
    3.2. ร้อยละโดยปริมาตร (%V/V) คือ ปริมาตรเป็นมิลิลิตรของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 มิลลิลตร
    3.3. ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร (%W/V) คือ น้ำหนักเป็นกรัมของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 มิลลิลิตร

ในบทความนี้จะเห็นว่ามีหน่วยที่ใช้หลากหลายมากในห้องปฏิบัติการซึ่งเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการต้องมีความรู้ในหน่วยความเข้มข้นต่างๆเพื่อเตรียมสารเคมีในการวิเคราะห์

บทความน่ารู้

นอกจากทางห้องปฏิบัติการบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด ยังมีบริการวิเคราะห์น้ำในหน่วยความเข้มข้นต่างๆตามที่กฏหมายกำหนด โดยเรามีบริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม น้ำประปา น้ำเสีย ในรายการตรวจต่างๆ เช่น ค่า ความเป็นกรด-ด่าง ค่าซีโอดี ค่าบีโอดี ค่าไขมันและน้ำมัน เป็นต้น

ทางเรายินดีให้บริการเปิดทำการทุกวันจันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 8.00 ถึง 17.00 มีบริการเก็ตัวอย่างให้ท่านทั่วประเทศ สามารถติดต่อเราผ่านช่องทางต่างๆได้เลยครับ

เบอร์โทร : 0623370067
Line ; @thaitestlab หรือ 0623370067
Email : sscoillab@thailandwastemanagement.com

ติดตามเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab

ที่อยู่ห้องปฏิบัติการ เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด

หลายคนยังสนใจ บทความน่ารู้เพิ่มเติม

การจัดการของเสียห้องปฏิบัติการ

การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?

การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน

Read More »
กระดาษลิตมัส

กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออะไร? ใช้งานอย่างไร?

กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) เป็นเครื่องมือทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลาย กระดาษลิตมัสมีบทบาทสำคัญในการทำงานในห้องปฏิบัติการ

Read More »
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน

ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) คืออะไร?

ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ปฏิกิริยานี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้สารอีกตัวหนึ่งได้รับอิเล็กตรอนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างต่อเนื่อง

Read More »
วิธีตรวจน้ำดื่ม ด้วยตนเอง

วิธีการเช็กคุณภาพน้ำดื่มด้วยตัวเองเบื้องต้น

น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา เราต้องแน่ใจว่าน้ำที่เราดื่มนั้นสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้

Read More »
ตรวจคุณภาพน้ำดื่ม

วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด

Read More »

แชร์บทความ

Facebook
Pinterest
LinkedIn