สารบัญ
อยากเป็นเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการต้องมีความรู้อะไรบ้าง ?
การทำงานในห้องแลปนั้นสิ่งที่ต้องมีอย่างแรกเลย คือ ความรู้พื้นฐานต่าง ๆ ในห้องแลป เช่น ความปลอดภัยในห้องแลป การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องแก้วต่าง ๆ อย่างถูกวิธี
การใช้สารเคมีให้ถูกต้องและปลอดภัย รวมทั้งความรู้ในเรื่องการเตรียมสารละลายต่างๆ จะช่วยให้การดำเนินงานในห้องแลปเป็นไปอย่างราบรื่น
ห้องปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีลักษณะเฉพาะของตัวเองที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะทดลอง อันตรายจากสารเคมี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพิษต่อสุขภาพ
วันนี้เราจะมีแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็นเจ้าหน้าที่ห้องแลป ว่าต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
ตามมาดูกันเลย !!
อยากเป็นเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ปรึกษาฟรี
คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
ในการทำแลปน้ำเสียต้องมีความรู้เกี่ยวกับทางด้านวิทยาศาสตร์หรือเรียนจบทางสายวิทยาศาสตร์ เช่น วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม อนามัยสิ่งแวดล้อม เคมี ชีววิทยา เป็นต้น และควรจะมีความรู้เบื่องต้นในหัวข้อต่อไปนี้
1. ความรู้ด้านเครื่องแก้ว
ในการทำงานแลปน้ำเสียควรมีความรู้ในเรื่องเครื่องแก้ว อย่างเช่น เครื่องแก้ววัดปริมาตร (Volumetric glassware) เนื่องจากในการทำแลปน้ำเสียต้องมีการใช้เครื่องแก้วในการวิเคราะห์ ซึ่งเครื่องแก้ววัดปริมาตร ในห้องปฏิบัติการ
ซึ่งเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ อาจมีความแตกต่างจากเครื่องแก้วทั่วไป ในด้านคุณลักษณะและมาตรฐาน เครื่องแก้ววัดปริมาตรจำเป็นจะต้องมีการทวนสอบเทียบให้มีคุณลักษณะเป็นตามหลักมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานสากลและวิธีการสอบเทียบที่กำหนดโดยทางห้องปฏิบัติการนั้น ๆ
2. ความรู้ด้านพารามิเตอร์น้ำเบื้องต้น
เจ้าหน้าที่ห้องแลปควรรู้จักพารามิเตอร์น้ำเสียต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น มาตรฐานน้ำทิ้งจากอาคารต่าง ๆ หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม
เนื่องจากในการทำแลปน้ำเสียส่วนใหญ่มีพารามิเตอร์ที่ต้องตรวจวัดตามมาตรฐานน้ำเสีย เช่น COD BOD TDS TSS เป็นต้น ดังนั้นในการทำแลปน้ำเสียต้องมีความรู้ ความเข้าใจของการวิเคราะห์พารามิเตอร์ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
- พารามิเตอร์ซีโอดี (COD) เป็นการหาปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีที่ใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งหลักการคือสารประกอบอินทรีย์สามารถถูกออกซิไดซ์ได้ด้วยตัวออกซิไดซ์ที่รุนแรงใช้โพแทสเซียมไดโครเมต เป็นตัวออกซิไดซ์ในสารละลายกรดซัลฟูริก โดยใช้ซิลเวอร์ซัลเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในสภาวะที่ร้อนและมีความเป็นกรดสูง
- พารามิเตอร์บีโอดี (BOD) เป็นการหาปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียในน้ำใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ชนิดที่ย่อยสลายได้ในน้ำภายใต้สภาวะที่มีอากาศ ซึ่งการทดสอบหาบีโอดี (BOD) โดยทั่วไปเป็นการวัดปริมาณออกซิเจน 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ถ้าหากค่าบีโอดีสูงหมายความว่า ออกซิเจนในน้ำต่ำ ทำให้น้ำมีความสกปรกสูง จึงต้องมีการเจือจางตัวอย่าง
- พารามิเตอร์ Sulfide ซึ่งปริมาณซัลไฟด์ส่วนใหญ่ในน้ำเสียเกิดจากแบคทีเรียที่ย่อยสลาย โดยปฏิกิริยารีดักชั่นของซัลเฟตซึ่งพบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำตามธรรมชาติและน้ำเสียต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกลิ่นเหม็นในน้ำได้
- พารามิเตอร์ TDS คือ ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด เป็นการหาปริมาณของของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำรวมถึงไอออน แร่ธาตุเกลือหรือโลหะละลายในปริมาณที่กำหนดของน้ำ หลักการวิเคราะห์ของทางห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด ใช้วิธีการกรองตัวอย่างผ่านกระดาษกรองใยแก้ว (Glass-fiber Fiber) จากนั้นนำส่วนที่กรองได้ใส่ในถ้วยระเหยแห้งที่ทราบน้ำหนัก จากนั้นนำถ้วยหลังการระเหยไปชั่งน้ำหนัก ซึ่งจะได้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น คือ ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
- การจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ อุปกรณ์ และสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ โดยคำนึงถึงชนิด ลักษณะของงานปฏิบัติการและรายละเอียด เช่น ความถูกต้องแม่นยำ คำนึงถึงวิธีการทดลอง และวิเคราะห์โดยละเอียด ซึ่งสามารถทราบได้ว่าต้องใช้สารเคมีคุณภาพแบบใด ปริมาณที่ต้องใช้ ข้อควรระวังของสารเคมี อุปกรณ์เครื่องแก้ว การจัด check stock ต่าง ๆ และการล้างทำความสะอาดเครื่องแก้วให้พร้อมใช้งาน
- การสำรวจและเก็บรักษาสารเคมีและอุปกรณ์ ซึ่งสารเคมีหลายตัวเมื่อผ่านการใช้งานแล้วสามารถปรับปรุงคุณภาพและนำกลับมาใช้งานได้ เครื่องแก้ว อุปกรณ์ ทำความสะอาดและจัดเก็บไว้อย่างถูกวิธี และต้องตรวจสอบความการหมดอายุของสารเคมี และสอบเทียบเครื่องแก้วอย่างเป็นประจำ เพื่อไม่ให้มีผลต่อการวิเคราะห์ และทดลอง
ทางบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด มีห้องปฏิบัติการที่รับตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสีย น้ำประปา น้ำดื่ม น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน เป็นต้น และเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เลขทะเบียน ว-302 หากผู้ที่กำลังหาศูนย์วิเคราะห์น้ำหรือ lab ตรวจน้ำบริการโดยทีมงานมืออาชีพ วิเคราะห์ด้วยอุปกรณ์ที่แม่นยำ โดยเครื่องมือที่ทันสมัยและผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน สามารถติดต่อเราได้ที่ช่องทางต่าง ๆ ได้แก่
เบอร์โทร 062-337-0067
Line : 0623370067
Email : sscoillab@thailandwastemanagement.com
รับวิเคราะห์น้ำเสีย น้ำประปา น้ำดื่ม น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ใบเสนอราคา (ติดต่อกลับภายใน 24 ชม.)
ติดตามเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab
ที่อยู่ห้องปฏิบัติการ เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด
บทความน่ารู้เพิ่มเติม
วิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำประปา
การตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า น้ำที่ใช้ในบ้านทั้งในกระบวนการทำอาหาร ซักผ้า หรือทำความสะอาดต่างๆ มีความปลอดภัยและเหมาะสมต่อการใช้งาน
คลอรีนในน้ำคืออะไร? ทำไมถึงต้องเติม
คุณเคยสังเกตไหมว่า น้ำที่เราใช้อาบ ดื่ม หรือว่ายน้ำ มีกลิ่นเฉพาะตัวบางอย่าง? กลิ่นนั้นไม่ได้มาจากธรรมชาติของน้ำเอง แต่เป็น “คลอรีน” ที่ถูกเติมลงไปเพื่อปกป้องเรา
ISO/IEC 17025 คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ?
ISO/IEC 17025 คือ มาตรฐานระดับสากลที่กำหนดข้อกำหนดทั่วไปสำหรับความสามารถของห้องปฏิบัติการในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและการสร้างความเชื่อมั่นในผลการทดสอบและการสอบเทียบ
คราบตะกรันคืออะไร? วิธีกำจัดง่ายๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
คราบตะกรันเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในระบบน้ำทั้งในอุตสาหกรรมและครัวเรือน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์และเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับน้ำได้
น้ำด่างคืออะไร? มีประโยชน์จริงหรือไม่?
น้ำด่าง (Alkaline Water) หมายถึง น้ำที่มีค่าความเป็นด่าง (pH) สูงกว่า 7 ซึ่งโดยทั่วไปค่าความเป็นด่างของน้ำดื่มประเภทนี้มักอยู่ระหว่าง pH 8-9 (น้ำธรรมดามีค่า pH ประมาณ 7)
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน