Table of Contents สารบัญ
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในห้องปฏิบัติการ (Personal protective equipment : PPE)
การทำงานในปัจจุบันนั้น เรามักจะได้ยินคำว่า ปลอดภัยไว้ก่อน หรือ Safety first ซึ่งสำคัญมากในปัจจุบัน การทำงานในห้องปฏิบัติการซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งมีอันตรายจากสารเคมี ชีวภาพ กายภาพ และรังสีมากมาย
ด้วยเหตุผลนี้การเลือกอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการรับรองความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
ก่อนอื่นเราควรจะรู้กันก่อนว่า PPE คืออะไร และทำไมถึงมีความสำคัญ?
PPE คืออะไร? และเหตุใดจึงสำคัญ?
PPE ย่อมาจาก Personal Protective Equipment แปลว่า อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล ซึ่ง PPE ได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องผู้สวมใส่จากอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ เพราะฉะนั้น การเลือก PPE ที่ถูกต้องและเหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างระหว่างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัยได้เลย
ตัวอย่างอุปกรณ์ PPE ในห้องปฏิบัติการ เช่น ถุงมือ เสื้อกาวน์สำหรับห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ป้องกันดวงตา และอุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ เป็นต้น ในห้องปฏิบัติการ PPE มีบทบาทสำคัญในการรับรองความปลอดภัยของคุณและความปลอดภัยของผู้อื่นรอบตัวคุณ ช่วยปกป้องคุณจากการสัมผัสกับสารที่เป็นอันตราย ปกป้องตัวอย่างของคุณจากการปนเปื้อน และลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บได้เลย
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในห้องปฏิบัติการมีอะไรบ้าง?
แว่นตานิรภัย
แว่นตานิรภัย ใช้ป้องกันอันตรายที่เกิดจากดวงตา เช่น ฝุ่น ควัน หรือ เศษต่างๆที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้ หรือ ป้องกันขณะทำการทดลองที่สารเคมีอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรง หรือ มีความเสี่ยงที่จะกระเด็นสู่ใบหน้าและดวงตาได้
แว่นตานิรภัยในห้องปฏิบัติการนั้น ส่วนใหญ่เราใช้ป้องกันสารเคมีที่สามารถกระเด็น เข้าสู่ดวงตาเราได้หรือสิ่งต่างๆที่อาจเป็นอันตรายต่อดวงตา เราก็ต้องทำการใส่แว่นตานิรภัยไว้เสมอ เพราะหากมีสิ่งที่เป็นอันตรายต่อดวงตากระเด็นเข้าดวงตาแล้วนั้น อาจทำให้ดวงตาของเราเกิดการระคายเคือง หรือ อย่างที่เลวร้ายอาจทำให้ดวงตาเสียหายจนเสียการมองเห็นได้ และนอกจากแว่นตาที่ป้องกันสารเคมีแล้ว ยังมีแว่นตาทั่วไป แว่นตาป้องกันฝุ่น แว่นตานิรภัยแบบเลเซอร์ (ใช้ในการแพทย์ งานก่อสร้าง งานอุตสาหกรรม)
หน้ากากนิรภัย หรือ อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ
หน้ากากนิรภัย ที่ป้องกัน ฝุ่นที่มีขนาดเล็ก ไอระเหยก๊าซ หรือ สารเคมี ที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเกิดหายใจและเข้าสู่ปอด อาจทำให้มีความเสี่ยงการเกิดโรคที่ทำให้การทำงานของปอดลดลงหรือไม่มีประสิทธิภาพได้
ในห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่จะเป็นหน้ากากกรองก๊าซ และไอระเหย มี 3 แบบ
- หน้ากากกรองก๊าซ และไอระเหย ชนิดตลับกรองสาร (Cartridge Respiration) มีความสามารถป้องกันก๊าซหรือ ไอระเหยที่ปนเปื้น ในอากาศที่ความเข้มข้น 10-1,000 ppm หากมีความเข้มข้นมากกว่านี้ อยู่ในระดับที่เป็นอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิตทันที ต้องรีบออกจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัย
- หน้ากากรองก๊าซ (Gas mask) มีความคล้ายคลึงกับ หน้ากากกรองก๊าซ และไอระเหย ชนิดตลับกรองสารเคมี ต่างกันที่มีการบรรจุสารเคมี เพื่อทำให้อากาศที่ปนเปื้อนสะอาด ก่อนที่เราจะหายใจเข้าสู่ทางเดินหายใจ ซึ่งชนิดตลับกรองสารเคมี แบ่งได้อีก 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีกระป๋องบรรจุสารเคมีที่บริเวณคาง (Chin-Canister) 250-500 ลูกบาศเซนติเมตร ใช้คู่กับหน้ากากเต็มหน้าชนิดที่กระป๋องสารเคมีอยู่บริเวณด้านหน้า (Front/Black-Canister)หรืออยู่บริเวณด้านหลัง บรรจุสารเคมี 1,000-2,000 ลูกบาศเซนติเมตร ใช้คู่กับหน้ากกากเต็มหน้า
- หน้ากากหนีภัย ในการใช้หน้ากากนิรภัย ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้มีช่องว่างระหว่างหน้า เพราะสารพิษสามารถเข้าสู่ภายในหน้ากากได้ เลือกวัสดุกรองอนุภาค หรือ ตลับกรอง ให้เหมาะกับสิ่งที่ต้องการกรอง และควรตรวจสอบรอยรั่ว ช่องว่าง ที่อาจทำให้อากาศไหลเข้าไปภายในหน้ากากได้ หากใส่หน้ากากแล้วได้กลิ่นก๊าซหรือไอระเหย คววรเปลี่ยนตลับกรอง หรือ กระป๋องกรองมลพิษทันที
เสื้อกาวน์
ที่ต้องมีแน่นอนเสื้อกาวน์ ที่ใช้สวมใส่คลุมตัวผู้ใช้งาน เสื้อกาวน์นั้น มีเพื่อป้องกันสารเคมีหรือสิ่งต่างๆ ที่สามารถช่วยป้องกัน อัตรายจากไฟ สารเคมีที่สามารถกระเด็นโดนบริเวณช่วงลำตัวและแขนได้
เสื้อกาวน์ในห้องปฏิบัติการนั้นสวมใส่เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ทำการทดลอง หรือทำกิจกรรมเกี่ยวกับสารเคมี เนื่องจากสารเคมีนั้นสามารถซึมผ่านผิวหนังได้หรือบางสารเคมี บางตัวทำให้เกิดการระคายเคือง หรือเป็นแผลได้ ดั้งนั้นการสวมใส่เสื้อกาวน์ ขณะทำกิจกรรมที่มีสารเคมีจะช่วยปกป้องเราจากสารเคมี ให้สัมผัสกับร่างกายน้อยลง
ถุงมือ
ถุงมือยางที่ใช้ในห้องปฏิบัติการก็มีหลากหลายแบบอยู่ที่ลักษณะงานที่ทำ โดยถุงมือยาง สวมเพื่อป้องกันสารเคมี หรือ สิ่งต่างๆ ที่สามารถสัมผัสกับผิวหนังและอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรืออันตรายได้ หรือ จะเป็นการป้องกันการปนเปื้อนจากตัวคนที่สวมใส่ก็ได้เช่นกัน
ถุงมือยางหรือถุงมือประเภทอื่นๆ สวมใส่บริเวณมือที่เราทำการสัมผัสหยิบจับสิ่งที่อาจเป็นอัตรายได้ ถุงมือจะช่วยทำหน้าที่ในการลดหรือป้องกันสิ่งที่อาจเป็นอัตรายสัมผัสกับร่างกายโดยตรง หรือ ทำอันตรายต่อร่างกาย
ถุงมือยางมีหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ถ้าหากทำงานเกี่ยวกับสารเคมีส่วนใหญ่นิยมใช้ ถุงมือยาง ไนไตร เพราะสามารถป้องกันสารเคมี กรด-ด่าง น้ำมัน และสารตัวทำละลาย ได้
วิธีเลือก PPE ที่เหมาะสมสำหรับห้องปฏิบัติการของคุณ
การเลือก PPE ที่เหมาะสมจำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างรอบด้านเกี่ยวกับงานที่คุณจะดำเนินการ อันตรายที่อาจเกิดขึ้น และการป้องกันที่มีให้โดย PPE ประเภทต่างๆ
1. ทำการประเมินความเสี่ยง
ขั้นตอนแรกในการเลือก PPE ที่เหมาะสมคือการประเมินความเสี่ยงอย่างละเอียด ระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมดในห้องปฏิบัติการ พิจารณาสารที่คุณจะต้องจัดการ และขั้นตอนที่คุณจะดำเนินการ การประเมินความเสี่ยงควรรวมถึงศักยภาพในการรับสัมผัส เส้นทางของการสัมผัส (การสัมผัสทางผิวหนัง การหายใจ การกลืนกิน ฯลฯ) และผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัส
2. ตรวจสอบเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของวัสดุ (MSDS)
MSDS เป็นเอกสารสำคัญที่ให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับสารเคมี อันตราย และมาตรการด้านความปลอดภัย ตรวจสอบ MSDS สำหรับสารเคมีแต่ละชนิดที่คุณจะต้องจัดการ จะสามารถเลือก PPE ที่เหมาะสมที่จะใช้ได้เลย
3. ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ
หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเลือก PPE ใดๆ ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย หรือ จป. พวกเขาสามารถให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญตามความรู้และประสบการณ์ของพวกเขาได้เลย
ซึ่งอุปกรณ์เหล่าเป็นเพียงอุปกรณ์ป้องกันอันตรายเบื้องต้นใช้กับงานวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการทั่วไป แต่ในความเป็นจริงแล้วยังคงมีอุปกรณ์ที่ใช้ในงานวิเคราะห์ที่มีลักษณะเฉพาะอีกมากมาย ขึ้นอยู่กับงานที่ปฏิบัติการและความเป็นอันตรายของงานนั้นๆอีกด้วย
สรุป
การเลือก PPE ที่เหมาะสมสำหรับห้องปฏิบัติการของคุณเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย
ด้วยการทำความเข้าใจความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการของคุณ ทบทวน MSDS และขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ คุณสามารถเลือก PPE ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันตัวเองและทีมของคุณได้
โปรดจำไว้ว่า PPE ที่ถูกต้อง เมื่อใช้อย่างถูกต้องและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บในห้องปฏิบัติการของคุณได้อย่างมาก
ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรในห้องปฏิบัติการควรมีความสำคัญเป็นอันดับแรกเสมอ ดังคำกล่าวที่ว่า “ปลอดภัยไว้ก่อน” นั่นเอง
สำหรับห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด มีข้อปฏิบัติในการทำงานอย่างปลอดภัยซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยห้องปฏิบัติการที่ออกแบบมาอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ พร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย สำหรับผู้ที่สนใจในบริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำประเภทต่างๆ ทางเรามีบริการวิเคราะห์ที่รวดเร็ว และแม่นยำ ได้ผลวิเคราะห์ทันใจ และมีบริการเก็บตัวอย่างคุณถึงที่ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 062-337-0067, Line : @thaitestlab หรือ E-mail : sscoillab@thailandwastemanagement.com
บทความน่ารู้เพิ่มเติม
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออะไร? ใช้งานอย่างไร?
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) เป็นเครื่องมือทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลาย กระดาษลิตมัสมีบทบาทสำคัญในการทำงานในห้องปฏิบัติการ
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) คืออะไร?
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ปฏิกิริยานี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้สารอีกตัวหนึ่งได้รับอิเล็กตรอนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างต่อเนื่อง
วิธีการเช็กคุณภาพน้ำดื่มด้วยตัวเองเบื้องต้น
น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา เราต้องแน่ใจว่าน้ำที่เราดื่มนั้นสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้
วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด
น้ำเสียคืออะไร วิเคราะห์อย่างไร (Sewage Waste Analysis)
น้ำเสีย (Sewage waste) คืออะไร แล้วเรามีวิธีการวิเคราะห์ Analysis อย่างไรบ้าง