เลขทะเบียน lab -302

ตรวจคุณภาพน้ำดื่ม

วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)

Table of Contents

รับวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่มตามกฏหมาย สามารถเช็คราคากลาง วิเคราะห์น้ำกับบริษัทตรวจวิเคราะห์น้ำได้ที่นี่

โทร 062-337-0067 และ Line ID: @Thaitestlab

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์น้ำ ฟรี!!

 

ทำไมต้องเลือกห้องแลปเรา

การวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม มีความสำคัญอย่างไร?

ถ้าเอ่ยถึง “ น้ำ ” ทุกท่านจะนึกถึงของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น หรือสิ่งเจือปนอื่นๆ ใช่มั้ยล่ะคะ …ถูกต้องแล้วค่ะ เพราะว่าน้ำเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต เนื่องจากน้ำเป็นส่วนประกอบของร่างกายถึง 70% หากเราขาดน้ำเกิน 3 วันอาจทำให้ร่างกายเสียชีวิตได้ หรือถ้าดื่มน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อนอยู่ อาจส่งผลต่อร่างกายได้ค่ะ  

ดังนั้นเราจึงต้องมีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคค่ะ

กฏหมายการตรวจน้ำดื่ม มีอะไรบ้าง?

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับน้ำดื่มนั้น มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ

  1. ประกาศของกรมอนามัย น้ำประปาดื่มได้ ซึ่งถือเป็นมาตรฐานของน้ำประปา ว่าสามารถดื่มได้จริงหรือไม่?
  2. น้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท (ตาม อ.ย) กฏหมายน้ำดื่มบรรจุขวดสำหรับคนที่สงสัยว่า ผลิตภัณฑ์น้ำในขวด สะอาดปลอดภัยจริงหรือไม่ ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานหรือไม่ ควรตรวจตามรายการนี้ เนื่องจากจะต้องมีการตรวจพารามิเตอร์ที่มากกว่า

น้ำดื่ม

1. การวิเคราะห์น้ำประปาดื่มได้

ในส่วนของน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ จะต้องมีเกณฑ์คุณภาพตามประกาศของกรมอนามัย

เรื่อง เกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย พ.ศ. 2563

พารามิเตอร์ที่กฎหมายกำหนดให้ตรวจวิเคราะห์

พารามิเตอร์ด้านกายภาพ หน่วยวัด ค่ามาตรฐาน วิธีวิเคราะห์
ความขุ่น (Turbidity) เอ็นทียู ไม่เกิน ๕ Nephelometry
สีปรากฏ (Apparent color แพลตตินัมโคบอลท์  ไม่เกิน ๑๕ Spectrophotometric-single-wavelength, visual comparison method
ความเป็นกรดและด่าง (pH) ๖.๕ – ๘.๕ Electrometric method
พารามิเตอร์ด้านเคมีทั่วไป หน่วยวัด ค่ามาตรฐาน วิธีวิเคราะห์
ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด
(Total dissolved solids)
มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๕๐๐ TDS dried at ๑๘๐ องศาเซลเซียส,
Gravimetric, Electrometric method
ความกระด้าง (Hardness มิลลิกรัมต่อลิตร
(as CaCO3)
ไม่เกิน ๓๐๐ EDTA titrimetric
ซัลเฟต (Sulfate) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๒๕๐ Turbidimetry, ion chromatography
คลอไรด์ (Chloride) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๒๕๐ Argentometry, ion chromatography
ไนเตรท (Nitrate) มิลลิกรัมต่อลิตร (as NO3 – ) ไม่เกิน ๕๐ Cadmium reduction, ion chromatography,
spectrophotometry
ไนไตรท์ (Nitrite) มิลลิกรัมต่อลิตร (as NO2 – ) ไม่เกิน ๓ Cadmium reduction, ion chromatography,
spectrophotometry
ฟลูออไรด์ (Fluoride) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๐.๗ ion chromatography, SPADNS colorimetric
method, ion-selective electrode
พารามิเตอร์ด้านเคมี (โลหะหนัก) หน่วยวัด ค่ามาตรฐาน วิธีวิเคราะห์
เหล็ก (Iron) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๐.๓ AAS (flame), ICP, spectrophotometry
แมงกานีส (Manganese) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๐.๓ AAS (flame), ICP, spectrophotometry
ทองแดง (Copper) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๑ AAS (flame), ICP, spectrophotometry
สังกะสี (Zinc)  มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๓ AAS (flame), ICP, spectrophotometry
พารามิเตอร์ด้านเคมี (โลหะหนักที่เป็นพิษ) หน่วยวัด ค่ามาตรฐาน วิธีวิเคราะห์
ตะกั่ว (Lead) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๐.๐๑ AAS (graphite furnace), ICP
โครเมียมรวม (Total chromium) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๐.๐๕ AAS (graphite furnace), ICP
แคดเมียม (Cadmium) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๐.๐๐๓ AAS (graphite furnace), ICP
สารหนู (Arsenic) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๐.๐๑ AAS (vapor generation technique),
ICP, graphite furnace
ปรอท (Mercury) มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่เกิน ๐.๐๑ AAS (vapor generation technique), ICP, Automatic direct mercury analyzer
พารามิเตอร์ด้านชีวภาพ หน่วยวัด ค่ามาตรฐาน วิธีวิเคราะห์
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย
(Total coliforms bacteria)
ต่อ ๑๐๐ มิลลิลิตร ไม่พบ Presence-Absence Test
เอ็มพีเอ็น ต่อ ๑๐๐ มิลลิลิตร น้อยกว่า ๑.๑ MPN method
อีโคไล (Escherichia coli) ต่อ ๑๐๐ มิลลิลิตร ไม่พบ Presence-Absence Test
เอ็มพีเอ็น ต่อ ๑๐๐ มิลลิลิตร น้อยกว่า ๑.๑ MPN method


น้ำขวด

2. การวิเคราะห์น้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท (ตาม อ.ย)

น้ำบริโภคที่ปลอดภัย และสามารถนำมาดื่มได้ ต้องมีคุณภาพ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายได้

กำหนดไว้ โดยอ้างอิงจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (ปี 2524) และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (ปี 2534) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

พารามิเตอร์ที่กฎหมายกำหนดให้ตรวจวิเคราะห์

คุณสมบัติทางกายภาพ
ข้อกำหนด ฉบับที่ 61  ฉบับที่ 135
1. สี ต้องไม่เกิน 20 ฮาเซนยูนิต ต้องไม่เกิน 20 ฮาเซนยูนิต
2. กลิ่น ต้องไม่มีกลิ่น แต่ไม่รวมถึงกลิ่นคลอรีน ต้องไม่มีกลิ่น แต่ไม่รวมถึงกลิ่นคลอรีน
3. ความขุ่น ต้องไม่เกิน 5.0 ซิลิกาสเกล ต้องไม่เกิน 5.0 ซิลิกาสเกล
4. ค่าความเป็นกรด-ด่าง ต้องอยู่ระหว่าง 6.5-8.5 ต้องอยู่ระหว่าง 6.5-8.5
คุณสมบัติทางเคมี
ข้อกำหนด ฉบับที่ 61  ฉบับที่ 135
1. ปริมาณสารทั้งหมด (Total Solid) ไม่เกิน 500.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 500.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
2. ความกระด้างทั้งหมดโดยคำนวณเป็น calcium carbonate ไม่เกิน 100.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 100.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
3. สารหนู ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
4. แบเรียม ไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
5. แคดเมียม ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
6. คลอไรด์ โดยคำนวณเป็น คลอรีน ไม่เกิน 250.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 250.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
7. โครเมียม ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
8. ทองแดง ไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
9. เหล็ก ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
10. ตะกั่ว ไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
11. แมงกานีส ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
12. ปรอท ไม่เกิน 0.002 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 0.002 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
13. ไนเตรท โดยคำนวณเป็นไนโตรเจน ไม่เกิน 4.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 4.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
14. ฟีนอล ไม่เกิน 0.001 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 0.001 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
15. ซีลีเนียม ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
16. เงิน ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
17. ซัลเฟต ไม่เกิน 250.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 250.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
18. สังกะสี ไม่เกิน 5.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 5.0 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
19. ฟลูออไรด์ โดยคำนวณเป็นฟลูออรีน ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
20. อะลูมิเนียม ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
21. เอบีเอส (Alkylbenzene Sulfonate) ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
22. ไซยาไนต์ ไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมต่อ น้ำบริโภค 1 ลิตร
คุณสมบัติทางจุลินทรีย์
ข้อกำหนด ฉบับที่ 61  ฉบับที่ 135
1. แบคทีเรียชนิด โคลิฟอร์ม ตรวจพบ แบคทีเรียชนิด โคลิฟอร์ม น้อยกว่า 2.2 ต่อน้ำบริโภค 100 มิลลิลิตร โดยวิธี เอ็ม พี เอ็น (Most Probable Number) ตรวจพบ แบคทีเรียชนิด โคลิฟอร์ม น้อยกว่า 2.2 ต่อน้ำบริโภค 100 มิลลิลิตร โดยวิธี เอ็ม พี เอ็น (Most Probable Number)
2. แบคทีเรียชนิดอี.โคไล ตรวจไม่พบแบคทีเรียชนิดอี.โคไล ตรวจไม่พบแบคทีเรียชนิดอี.โคไล
3. จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค

ติดต่อเรา

คำถามที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับการวิเคราะห์น้ำดื่ม

1. ทำไมต้องวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ?

เพราะการวิเคราะห์ทำให้เราทราบคุณภาพน้ำและความปลอดภัยของน้ำก่อนที่จะนำไปบริโภค

2. ถ้าต้องการตรวจสอบว่าน้ำสามารถดื่มได้ ควรทำอย่างไร ?

A : สามารถติดต่อทางห้องแลปเอกชน หรือแลปของรัฐบาลเพื่อให้เข้าเก็บตัวอย่าง หรือส่งมาวิเคราะห์ได้

3. ใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์น้ำดื่มกี่วัน

A : พารามิเตอร์ทั่วไป 7 – 8  วันทำการ ถ้าวิเคราะห์เชื้อด้วย จะใช้เวลาขั้นต่ำ 14 วันทำการ

4. ราคาในการวิเคราะห์น้ำดื่มกี่บาท

  • วิเคราะห์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ ราคาอยู่ที่ 5,900 บา
  • วิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท ราคาอยู่ที่ 7,900 บาท

จากพารามิเตอร์ที่กล่าวไปข้างต้น ทางห้องปฏิบัติการบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด สามารถรับวิเคราะห์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้และน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท โดยราคาค่าวิเคราะห์ จะคิดเป็นเซตต่อตัวอย่าง

**Set 1 วิเคราะห์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ ราคาอยู่ที่ 5,900 บาท

**Set 2 วิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท ราคาอยู่ที่ 7,900 บาท

ห้องปฏิบัติการบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด ยินดีให้บริการวิเคราะห์อย่างรวดเร็วครบวงจร

เริ่มตั้งแต่การให้คำปรึกษาด้านการวิเคราะห์ตัวอย่าง การให้คำแนะนำอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

สามารถสอบถามราคาและส่วนลดพิเศษ ได้ที่ 

เบอร์ 062-337-0067

Line ID : @thaitestlab

Email : sscoilllab@thailandwastemanagement.com

ขั้นตอนการรับน้ำเสีย

หากผู้ที่กำลังหาศูนย์วิเคราะห์น้ำ สถาบันตรวจสอบคุณภาพน้ำ หรือ lab ตรวจน้ำ ให้นึกถึง ห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด  รับวิเคราะห์น้ำเสีย  ตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่ม น้ำประปา น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน วิเคราะห์โลหะหนัก ทุกชนิด

วิเคราะห์แม่นยำ ราคาย่อมเยาว์

รับผลวิเคราะห์ภายใน 3-5 วัน

การันตีเรื่องคุณภาพการวิเคราะห์

บุคลากรผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 10 ปี

ผ่านการอบรม QA/QC  ข้อกำหนด ISO17025 และ หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

อุปกรณ์มาตรฐานระดับสากล

ตามมาตรฐานสมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยและมาตรฐานจากอเมริกา

บริการครบวงจร

มีบริการรับตัวอย่างถึงที่ ยินดีให้คำปรึกษา รวมทั้งคำแนะนำในด้านต่างๆ ฟรี

ติดตามเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab

แชร์บทความ

Facebook
Pinterest
LinkedIn