เลขทะเบียน lab -302

ค่าTSS

ค่าTSS คืออะไร? วิเคราะห์ ค่าTSS ได้อย่างไร?

Table of Contents

ค่า TSS (Total Suspended Solids) คืออะไร? ต่างจาก TDS อย่างไร?

วิเคราะห์ TDS

ค่าTSS คือ สัดส่วนของปริมาณของแข็งที่ไม่ละลายน้ำทั้งหมด มีหลักการวัดคล้ายๆกับหลักการวัดความขุ่น แต่TSS มีหน่วยออกมาเป็นน้ำหนักของของแข็งที่ละลายน้ำต่อปริมาตรน้ำ (mg/l) โดยทั่วไปแล้วอนุภาค TSS จะมีขนาดใหญ่กว่า 2 ไมครอน ถ้าขนาดอนุภาคเล็กกว่านี้ จะเรียกว่าเป็นอนุภาคของแข็งที่ละลายน้ำ Dissolved solid หรือ ถ้าจะหาค่าก็คือค่า TDS นั่นเอง

ค่า TSS ส่วนมากมาจากสารอนินทรีย์ เช่น กรวด ทราย ดินเหนียว ในบางครั้ง แบคทีเรียหรือสาหร่ายในน้ำก็ส่งผลต่อค่า TSS ด้วยเช่นกัน ซึ่งค่า TSS เป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญอีก 1 ตัว ที่ชี้วัดว่าน้ำสะอาดหรือไม่ เพราะน้ำที TSS ต่ำ ส่วนมากน้ำจะมีความใสซึ่งสามารถสองได้ด้วยตาเปล่าอยู่แล้ว

สนใจวิเคราะห์ TSS TDS ติดต่อโทร 062-337-0067 และ Line ID 062-337-0067

ค่าTSS

ที่มา https://www.rshydro.co.uk/water-quality-monitoring-equipment/water-quality-monitoring-parameters/tss-total-suspended-solids-water/

การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่างก่อนวิเคราะห์ TDS

การเก็บให้เก็บด้วยขวดแก้วหรือขวดพลาสติกชนิดโพลีเอทีลีน การรักษาสภาพให้ แช่เย็นที่ ≤ 6 องศาเซลเซียส สามารถรักษาตัวอย่างได้ประมาณ 7 วัน

เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับวิเคราะห์ TDS 

  1. กระบอกตวง ขนาด 25, 50, และ 100 มิลลิลิตร
  2. Porcelain ขนาด 100 มิลลิลิตร
  3. Glass fiber filter disk พร้อม Filtration apparatus ที่เหมาะสม
  4. ตู้อบ (Oven) สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ 180 ± 2 องศาเซลเซียส
  5. เครื่องชั่ง 4 ตำแหน่ง (Analytical balance 4 decimal places)
  6. ขวดดูดสุญญากาศ ขนาด 1000 มิลลิลิตร
  7. เครื่องดูดสุญญากาศ
  8. ตู้ดูดความชื้นหรือโถดูดความชื้น
  9. ขวดปรับปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 1000 มิลลิลตร
  10. แท่งแก้วคนสาร
  11. ปากคีบ
  12. ขวดสำหรับฉีดล้างชนิดพลาสติก (Washing Bottle)

บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

วิธีวิเคราะห์ TDS ในห้องปฏิบัติการ ทำได้อย่างไร?

โดยวิธีการที่อ้างอิงและดัดแปลงตามมาตรฐานของ Standard Method for Examination of water and wastewater (AWWA, APHA, WEF) ใช้ในการทดสอบหาปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด (Total Dissolved Solids Dried, TDS) ในน้ำตัวอย่างและน้ำเสียด้วยวิธี Dired at 180 ± 2 องศาเซลเซียส วิธีนี้เหมาะสมกับตัวอย่างที่มีปริมาณของแข็งที่อยู่บนถ้วยกระเบื้อง (Residue) ควรมีค่าไม่เกิน 200 มิลลิกรัม

มีวิธีการดังนี้

ขั้นตอนที่1

อบกระดาษกรองให้แห้งที่อุณหภูมิ 103 –105 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทิ้งให้เย็นในเดสิกเคเตอร์ (Desiccator) แล้วชั่งน้ำหนักเป็นน้ำหนักกระดาษกรองก่อนทดลอง (ตัวแปร B) เก็บกระดาษกรองไว้ในเดสิกเคเตอร์ (Desiccator) จนกว่าจะใช้ทดลอง

ขั้นตอนที่2

วางกระดาษกรองลงในกรวยกรองซึ่งต่อเข้ากับเครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum Pump)

ขั้นตอนที่3

ตวงปริมาตรน้ำตัวอย่างที่ผสมเข้ากันดีแล้ว 50 –100 ml. แล้วเทน้ำตัวอย่างลงในกรวยกรองและเปิดเครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum Pump) จนน้ำตัวอย่างแห้ง แล้วฉีดล้างเครื่องกรองด้วยน้ำกลั่น 10 ml. ซ้ำ 3 รอบ  เปิดเครื่องทิ้งไว้ 3 นาที โดย  ต้องทำ Method Blank (ใช้น้ำกลั่น) ทุกครั้งของการวิเคราะห์น้ำ และ ต้องทำ LFB (ใช้ Sigmacell cellulose) ทุกครั้งของการวิเคราะห์น้ำ

ขั้นตอนที่4

เมื่อแห้งแล้วนำกระดาษกรองออกวางในภาชนะเดิม (อาจใช้กระดาษอลูมิเนียมก็ได้) แล้วนำไปอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 103 –105 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโม ทิ้งไว้ให้เย็นในเดสิกเคเตอร์ (Desiccator) และชั่งน้ำหนักเป็นน้ำหนักกระดาษกรองหลังทดลอง (A)

ค่าที่ได้จะนำไปคำนวณตามสูตร

ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด (มิลลิกรัมต่อลิตร) = (A – B ) x 1000 / ปริมาตรตัวอย่าง (มิลลิลิตร)

A = น้ำหนักถ้วยกระเบื้องสุดท้าย+น้ำหนักของของแข็งที่บนถ้วยกระเบื้องหลังอบ (มิลลิกรัม)
B = น้ำหนักถ้วยกระเบื้องก่อนการกรอง (มิลลิกรัม)

ค่าTSS

และนี่คือ 4 ขั้นตอนของการวิเคราะห์น้ำเพื่อใช้ในการหาค่าปริมาณสารแขวนลอย TSS

ขั้นตอนการรับน้ำเสีย

สำหรับห้องปฏิบัติการ เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด (ว. 302) เรายินดีรับบริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสีย ค่า TSS และพารามิเตอร์อื่นๆ

ติดต่อสอบถาม หรือ ต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์น้ำ

โทร/ ID LINE  : 062-3370067  อีเมล์ : sscoillab@thailandwastemanagement.com

วิเคราะห์แม่นยำ ราคาย่อมเยาว์

รับผลวิเคราะห์ภายใน 3-5 วัน

การันตีเรื่องคุณภาพการวิเคราะห์

บุคลากรผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 10 ปี

ผ่านการอบรม QA/QC  ข้อกำหนด ISO17025 และ หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

อุปกรณ์มาตรฐานระดับสากล

ตามมาตรฐานสมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยและมาตรฐานจากอเมริกา

บริการครบวงจร

มีบริการรับตัวอย่างถึงที่ ยินดีให้คำปรึกษา รวมทั้งคำแนะนำในด้านต่างๆ ฟรี

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ใบเสนอราคา (ติดต่อกลับภายใน 24 ชม.)

แชร์บทความ

Facebook
Pinterest
LinkedIn