Table of Contents สารบัญ
สารแขวนลอย คืออะไร?
สารแขวนลอย เป็นสารที่มีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าที่กระจายและลอยตัวอยู่ในน้ำ เมื่อตั้งทิ้งไว้สามารถเกิดการตกตะกอนได้ เราสามารถแยกสารแขวนลอยออกจากน้ำได้โดยวิธีง่ายๆ เช่น การกรอง
ปรึกษาเรื่องจากทำ Jartest โดยผู้เชี่ยวชาญ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
สารแขวนลอย กับ คอลลอยด์ แตกต่างกันอย่างไร?
สารแขวนลอย เป็นสารที่มีขนาดใหญ่ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกับตัวกลางที่เป็นของเหลว แต่คอลลอยด์จะเป็นสารที่มีผสมเป็นเนื้อเดียวกันกับตัวกลาง ซึ่งทำให้ตัวกลางนั้นเกิดความขุ่นมัวและไม่ตกตะกอนเมื่อตั้งทิ้งไว้ ยกตัวอย่างเช่น นม โฟม สี เป็นต้น
สารแขวนลอยในน้ำ เกิดจากอะไรบ้าง?
สารแขวนลอยในน้ำเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การปนเปื้อนจากดินหรือทราย การปนเปื้อนจากสารพืชน้ำ และสารอินทรีย์ในน้ำ หากในน้ำของเรามีสารแขวนลอยเป็นจำนวนมาก อาจจะมีผลกระทบต่อร่างกาย และเมื่อเรานำเอาน้ำลักษณะนี้มาผ่านการกรองอาจจะทำให้เครื่องกรองอุดตันเร็วยิ่งขึ้น
วิธีการแยกสารแขวนลอยทำได้อย่างไรบ้าง?
วิธีการแยกสารแขวนลอย สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
วิธีที่ 1. การกรอง สำหรับวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในบ้านเรือนหรือสถานที่ที่ต้องใช้น้ำในการอุปโภค-บริโภคสามารถติดตั้งเครื่องกรองน้ำเพื่อลดสารแขวนลอยที่อยู่ในน้ำได้ ซึ่งต้องพิจารณาเลือกเครื่องกรองน้ำให้เหมาะสมกับคุณภาพน้ำที่ต้องการ
วิธีที่ 2. การตะกอน สำหรับวิธีนี้จะต้องใช้สารเคมีเพื่อช่วยในการตกตะกอนสารแขวนลอยที่อยู่ในน้ำ ซึ่งจะทำให้น้ำมีความใสมากยิ่งขึ้น วิธีนี้ส่วนใหญ่ใช้ในระบบการผลิตน้ำประปา หรือ ระบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
สารแขวนลอยทดสอบได้อย่างไร
เมื่อเรามีการแยกสารแขวนลอยออกจากน้ำแล้ว หากต้องทราบว่าน้ำของเรามีสามารถแขวนลอยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ สามารถส่งวิเคราะห์กับทางห้องปฏิบัติการบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด ได้เลย ซึ่งเรามีบริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำหลากหลายประเภท เช่น น้ำดื่ม น้ำประปา น้ำบาดาล และน้ำเสีย ให้ผลการทดสอบรวดเร็ว ทันใจ หากท่านสนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 062-337-0067 , Line ID : @thaitestlab เปิดให้บริการวันจันทร์ ถึง วันเสาร์ เวลา 08.00-17.00 น.
ที่อยู่ห้องปฏิบัติการ เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด
หลายคนยังสนใจ บทความน่ารู้เพิ่มเติม
วิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำประปา
การตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า น้ำที่ใช้ในบ้านทั้งในกระบวนการทำอาหาร ซักผ้า หรือทำความสะอาดต่างๆ มีความปลอดภัยและเหมาะสมต่อการใช้งาน
คลอรีนในน้ำคืออะไร? ทำไมถึงต้องเติม
คุณเคยสังเกตไหมว่า น้ำที่เราใช้อาบ ดื่ม หรือว่ายน้ำ มีกลิ่นเฉพาะตัวบางอย่าง? กลิ่นนั้นไม่ได้มาจากธรรมชาติของน้ำเอง แต่เป็น “คลอรีน” ที่ถูกเติมลงไปเพื่อปกป้องเรา
ISO/IEC 17025 คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ?
ISO/IEC 17025 คือ มาตรฐานระดับสากลที่กำหนดข้อกำหนดทั่วไปสำหรับความสามารถของห้องปฏิบัติการในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและการสร้างความเชื่อมั่นในผลการทดสอบและการสอบเทียบ
คราบตะกรันคืออะไร? วิธีกำจัดง่ายๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
คราบตะกรันเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในระบบน้ำทั้งในอุตสาหกรรมและครัวเรือน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์และเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับน้ำได้
น้ำด่างคืออะไร? มีประโยชน์จริงหรือไม่?
น้ำด่าง (Alkaline Water) หมายถึง น้ำที่มีค่าความเป็นด่าง (pH) สูงกว่า 7 ซึ่งโดยทั่วไปค่าความเป็นด่างของน้ำดื่มประเภทนี้มักอยู่ระหว่าง pH 8-9 (น้ำธรรมดามีค่า pH ประมาณ 7)
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน