เลขทะเบียน lab -302

ค่าPH

pH คืออะไร มีหลักการการอ่านค่า pH อย่างไร

สารบัญ Table of Contents

วิเคราะห์pH

ค่าความเป็นกรดด่าง pH คืออะไร?

ค่า pH คือ การวิเคราะห์ค่าความเป็นกรดด่างโดยการวัด ความเข้มข้นของ “ไฮโดรเจนไอออน” ในน้ำ มีค่าตั้งแต่ 1.0 ถึง 14.0 ถึงค่ามีความต่ำมากเท่าไร ยิ่งมีค่าความเป็นกรดมากเท่านั้น ในทางกลับกัน pH ยิ่งมีค่ามากเท่าไร ก็ยิ่งมีค่าความเป็นด่างมากเท่านั้น

 โดยค่า pH นั้นจะถูกวัดโดยลอการิทึมสเกล โดยวัดความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน (H+) และ ไฮดรอกไซต์ ไอออน (OH-) 

ซึ่งถ้าไอออนของทั้ง 2 มีค่าความเข้มข้นเท่ากันแล้ว จะส่งให้ให้มีค่า pH = 7.0 หรือมีความเป็นกลาง ถ้ามีความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน (H+)มากกว่า ก็จะมีค่า pH ต่ำกว่า 7 หรือค่าเป็นกรด แต่ถ้ามีค่าความเข้มข้นของ ไฮดรอกไซต์ ไอออน (OH-) มากกว่าก็จะมีค่าความเป็นด่าง หรือ pH สูงกว่า 7 นั่นเอง 

ด้วยความที่ค่า pH วัดด้วยสเกลแบบลอการิทึม นั้นหมายความว่า ถ้าค่า pH ต่างกัน 1 ค่าความเป็นกรด (Acidity) จะต่างจากเดิม 10 เท่า ถ้าค่า pH ต่างกัน 2 ค่าความเป็นกรด จะต่างกัน 100 เท่า เป็นต้น

อุณหภูมิมีผลต่อค่า pH อย่างไร ?

เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน อาจจะส่งผลให้ค่าพีเอชในขณะนั้นจะเปลี่ยนไปด้วย เนื่องมาจาก อุณหภูมิสูงสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในน้ำได้ง่ายขึ้น ซึ่ง ส่งผลต่อค่า pH ได้นั่นเอง

ดังนั้น ในทุกครั้งที่มีการวิเคราะห์ค่า pH จึงต้องวัดอุณหภูมิในขณะนั้นลงไปด้วย ว่าเราวัดค่า pH ที่อุณหภูมิเท่าไร

รับวิเคราะห์พารามิเตอร์น้ำต่างๆ เช่น pH COD BOD โทร/ ID LINE  : 062-3370067

ที่มา https://wrrc.umass.edu/research/projects/acid-rain-monitoring-project/analysis-method-ph-and-alkalinity

สนใจวิเคราะห์ pH สอบถามเราสิครับ

แผนผังขั้นตอนปฏิบัติ การวิเคราะห์ pH

วิเคราะห์ pH

การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่างก่อนวัดค่า pH

ควรเก็บตัวอย่างน้ำโดยใส่ขวดโพลีเอทิลีน (Polyethylene) วิเคราะห์ทันที ในกรณีที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ทันที ให้เก็บตัวอย่างที่อุณหภูมิน้อยกว่า 6 องศาเซลเซียสและวัดค่าพีเอชของตัวอย่างใน 1 ชั่วโมง หลังจากตัวอย่างถึงห้องปฏิบัติการ

รับวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

การเตรียมสารเคมี เพื่อใช้วัดค่า pH

  1. สารละลายบัฟเฟอร์ pH 4 (pH 4.01) ที่อุณหภูมิ 25 ± 2 องศาเซลเซียส
  2. สารละลายบัฟเฟอร์ pH7 (pH 7.00) ที่อุณหภูมิ 25 ± 2 องศาเซลเซียส
  3. สารละลายบัฟเฟอร์ pH9 (pH 10.00) ที่อุณหภูมิ 25 ± 2 องศาเซลเซียส
  4. สารละลายสำหรับแช่อิเล็คโทรด (สารละลาย KCI)
  5. Quality Control Standard (QCS) สารละลายบัฟเฟอร์ pH 7 หรือช่วง pH ที่ใกล้เคียงกับตัวอย่างที่วัด จากต่างแหล่งที่ใช้ปรับเทียบเครื่อง
  6. น้ำบริสุทธิ์ Type II

เทคนิคการวัดค่า pH ของตัวอย่างน้ำเสีย โดยเครื่องพีเอชมิเตอร์ (pH meter)

การวัดค่า pH ในครั้งนี้ ใช้วิธีอิเล็คโทรเมตริก (Electrometric Method) โดยเราจะมีเครื่องมือที่เรียกว่า พีเอชมิเตอร์ (pH meter) ในการวัด ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์

มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ อิเล็กโทรด และเครื่องวัดศักย์ไฟฟ้า (volt meter) โดยเครื่องวัดศักย์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนค่าศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้ให้เป็นค่า pH  ขั้นตอนในการวัดค่า pH จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับ

ก่อนที่เราจะวัดค่า pH ของตัวอย่างน้ำเสีย เราต้องทำการปรับเทียบมาตรฐาน (Calibration) โดยการปรับเทียบกับสารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน pH 4 , pH 7 และ pH 10 เพื่อให้ค่าที่ได้มีความแม่นยำมากขึ้น

ph

ขั้นตอนที่1

เตรียมสารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน ทำการฉีดล้างอิเล็กโทรดด้วยน้ำกลั่น (DI Water) ซับด้วยกระดาษทิชชูให้แห้ง แล้วรีบจุ่มอิเล็กโทรดลงในสารละลายบัฟเฟอร์มาตรฐาน pH 4 , pH 7 และ pH 10 ตามลำดับ โดยฉีดล้างด้วยน้ำกลั่นทุกครั้ง โดย ปรับเทียบมาตรฐานให้ % Slope มากกว่า 95 %(ค่าจะถูกกำหนดโดยผู้ผลิตเครื่องมือ)

วิเคราะห์ pH

ขั้นตอนที่2

เตรียมตัวอย่างน้ำเสีย และทำการวัด pH ของตัวอย่างน้ำเสีย โดยทำเช่นเดียวกับ การปรับเทียบมาตรฐานด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ ซึ่งในการวัดค่า pH จะต้องมีการกวนตัวอย่างอยู่เสมอ โดยใช้ Magnetic bar

ห้องปฏิบัติการ

ขั้นตอนที่3

เมื่อทำการวัดตัวอย่างน้ำเสร็จแล้ว ให้ฉีดล้างด้วยน้ำกลั่นให้สะอาด เช็ดหัวอิเล็กโทรดด้วยแอลกฮอล์ ซับด้วยกระดาษทิชชู ฉีดล้างด้วยน้ำกลั่นอีกครั้ง ซับให้แห้ง รักษาสภาพหัวอิเล็กโทรดด้วยการแช่ด้วยน้ำยา Electrolyte

เป็นไงบ้างครับ สำหรับ 3 ขั้นตอนง่ายๆ ในการวัดค่า pH ของตัวอย่างน้ำเสีย ที่ทั้งสะดวกและรวดเร็ว

วิเคราะห์น้ำ

หากท่านใด อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ มาตรฐานของ Standard Method for Examination of water and wastewater (AWWA, APHA, WEF)   เลยครับ

สำหรับห้องปฏิบัติการ เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด (ว. 302) เรายินดีรับบริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสีย ติดต่อสอบถาม หรือ ต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการวิเคราะห์น้ำ

โทร/ ID LINE  : 062-3370067

อีเมล์ : sscoillab@thailandwastemanagement.com

ติดต่อเราได้ทันที โทรเลย

อ่านบทความน่ารู้เพิ่มเติมได้ที่นี่

การจัดการของเสียห้องปฏิบัติการ

การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?

การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน

อ่านเพิ่มเติม
กระดาษลิตมัส

กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออะไร? ใช้งานอย่างไร?

กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) เป็นเครื่องมือทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลาย กระดาษลิตมัสมีบทบาทสำคัญในการทำงานในห้องปฏิบัติการ

อ่านเพิ่มเติม
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน

ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) คืออะไร?

ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ปฏิกิริยานี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้สารอีกตัวหนึ่งได้รับอิเล็กตรอนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างต่อเนื่อง

อ่านเพิ่มเติม
วิธีตรวจน้ำดื่ม ด้วยตนเอง

วิธีการเช็กคุณภาพน้ำดื่มด้วยตัวเองเบื้องต้น

น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา เราต้องแน่ใจว่าน้ำที่เราดื่มนั้นสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้

อ่านเพิ่มเติม
ตรวจคุณภาพน้ำดื่ม

วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด

อ่านเพิ่มเติม

แชร์บทความ

Facebook
Pinterest
LinkedIn