เลขทะเบียน lab -302

ขึ้นทะเบียนห้องแลป

อยากขึ้นทะเบียนห้องแลปทำอย่างไร

Table of Contents

อยากขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการ กับกรมโรงงาน ทำอย่างไร

ทำไมห้องแลปต้องขึ้นทะเบียน? เป็นคำถามที่หลายๆคนอาจจะสงสัย  ก็ต้องลองคิดดูเหมือนคลินิกของหมอครับที่ต้องขึ้นทะเบียนก่อน  ไม่ใช่ว่าคุณจบวิทยาศาสตร์มาแล้วจะเปิดแลปได้เลย  วันนี้เราจะดูการเตรียมตัว ขึ้นทะเบียนห้องแลปอย่างไรให้ ผ่านฉลุย!

ห้องแลปนี้จะขึ้นตรงกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามกฎหมาย อ้างอิงกฏหมาย ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชน พ.ศ. 2560 อ่านเพิ่มเติม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/155/1.PDF

ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่า คุณต้องการเป็นห้องแลปแบบไหน : สาย ร. หรือสาย ว. ?

ห้องปฏิบัติการประเภท ร. คืออะไร

ห้องแลปประเภท ร. คือ ห้องแลปภายใน

ห้องแลปคุณไม่สามารถรับวิเคราะห์ตัวอย่างจากภายนอกได้ ผลวิเคราะห์ที่คุณรายงานจะไม่สามารถนำไปใช้ภายนอกและอ้างอิงตามกฏหมายไม่ได้ แต่ต้องการคุณภาพและถูกต้องตามกฏหมาย (เหมาะกับห้องแลปเฉพาะโรงงาน)

ห้องปฏิบัติการประเภท ว. คืออะไร

ห้องแลปประเภท ว. คือห้องแลปวิเคราะห์เอกชน 

ตรงข้ามกับ ร. ห้องแลปคุณสามารถทั้งวิเคราะห์ตัวอย่างภายนอกและนำรายงานไปใช้ได้ตามกฎหมาย (ใช้ได้เฉพาะ Parameter ที่คุณขึ้นทะเบียนเท่านั้น) * ถ้าขึ้นห้องแลป แบบ ว. การ Audit ห้องแลปจะเข้มข้นมากกว่า ร.

เตรียมห้องปฏิบัติการอย่างไร? ให้พร้อมก่อนขึ้นทะเบียน

ห้องแลปวิเคราะห์ COD

เมื่อเราทราบว่าเราต้องการทำห้องแลปแบบไหนแล้ว เราต้องเตรียม Infrastructure ห้องแลปให้พร้อมตามหัวข้อดังต่อไปนี้

  • เตรียมพื้นที่สำหรับการสร้างห้องแลป การออกแบบห้องแลปให้เป็นไปตามมาตรฐานการสร้างห้องแลป มีระบบความปลอดภัย
  • อุปกรณ์ เครื่องมือ สารเคมี สำหรับพารามิเตอร์ที่คุณจะวิเคราะห์ในห้องแลป
  • บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์และคุณสมบัติต้องตรงตามกฎหมาย
  • ระบบเอกสารในห้องแลป: Work Instruction, WI ของแต่ละพารามิเตอร์(ต้องตามมาตรฐานที่ห้องแลปใช้อ้างอิงทุกอย่าง) ฟอร์มลงข้อมูล ฟอร์มรายงานผลการวิเคราะห์
 

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน ห้องปฏิบัติการทำอย่างไร?

  1. ส่งบุคลากรห้องแลปอบรม ให้อบรมตามกฎหมายของกรมโรงงาน, และต้องอย่าลืมทดสอบสมรรถนะของบุคลากรห้องแลป (ความสามารถในการวิเคราะห์ในแต่ละพารามิเตอร์ที่จะขอขึ้น)
  2. สอบเทียบเครื่องมือและเครื่องแก้ว : ทำแผนสอบเทียบ/ทวนสอบและเลือกบริษัทสอบเทียบที่มี ISO/IEC 17025
  3. วิเคราะห์ตัวอย่างและเก็บข้อมูล : วิเคราะห์ตัวอย่างที่ห้องแลป เก็บข้อมูล ทำ MDLของทุกพารามิเตอร์ ให้ทำการเก็บข้อมูลการวิเคราะห์อย่างน้อย 1 เดือน
  4. กรอกเอกสารแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนฯ
  5. ส่งเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ : การยื่นเอกสารให้ตรวจสอบกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนว่าห้องแลปของคุณจะต้องยื่นที่ไหน
  6. รอวันที่เจ้าหน้าที่เข้ามา Audit : เจ้าหน้าที่จะนัดวันเวลาที่เข้ามา Audit ห้องแลป ซึ่งระยะเวลาการตรวจเอกสารขึ้นอยู่กับปริมาณพารามิเตอร์ที่คุณขอขึ้นทะเบียน
  7. รอเอกสารขึ้นทะเบียน : ระยะเวลานั้นจะถูกแจ้งในวันที่ห้องแลปได้รับการ Audit

จบแล้วกับขั้นตอนหลักๆของการขึ้นทะเบียนห้องแลปวิเคราะห์เอกชนที่ขึ้นกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม 

สำหรับการขึ้นทะเบียนครั้งแรกมันอาจจะมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ 

ห้องแลปบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด ทะเบียน ว.302 ยินดีให้บริการปรึกษา หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ 24 ชั่วโมง 

ที่ https://www.facebook.com/sscoillab

โทร 062-3370067

E-mail : sscoillab@thailandwastemanagement.com

การจัดการของเสียห้องปฏิบัติการ

การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?

การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน

Read More »
กระดาษลิตมัส

กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออะไร? ใช้งานอย่างไร?

กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) เป็นเครื่องมือทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลาย กระดาษลิตมัสมีบทบาทสำคัญในการทำงานในห้องปฏิบัติการ

Read More »
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน

ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) คืออะไร?

ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ปฏิกิริยานี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้สารอีกตัวหนึ่งได้รับอิเล็กตรอนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างต่อเนื่อง

Read More »
วิธีตรวจน้ำดื่ม ด้วยตนเอง

วิธีการเช็กคุณภาพน้ำดื่มด้วยตัวเองเบื้องต้น

น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา เราต้องแน่ใจว่าน้ำที่เราดื่มนั้นสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้

Read More »
ตรวจคุณภาพน้ำดื่ม

วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด

Read More »

แชร์บทความ

Facebook
Pinterest
LinkedIn