Table of Contents
การวิเคราะห์โลหะหนักในน้ำเสีย
โลหะหนักคืออะไร ?
โลหะหนัก คือ ธาตุที่มีค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ 5 เท่า ขึ้นไป ซึ่งโลหะหนักมีทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และมีความเป็นพิษต่อร่างกาย เช่น ปรอท (Hg) , ตะกั่ว (Pb) และแคดเมียม (Cd) โลหะหนักพวกนี้สามารถพบได้เองตามธรรมชาติ และเกิดจากอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ
โลหะหนักเป็นวัตถุดิบ ที่หลายภาคส่วนนำมาใช้ในการกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านอุตสาหกรรม เช่นการผลิตพลาสติก สี หรือถ่านไฟฉาย หรือทางด้านการเกษตร จะมีโลหะหนักเป็นส่วนผสมในยาฆ่าแมลงและปุ๋ยต่างๆ
สนใจวิเคราะห์โลหะหนัก ราคาพิเศษ โทรเลย 062-337-0067
สนใจวิเคราะห์โลหะหนัก ปรึกษาฟรี
ทำไมต้องวิเคราะห์หาโลหะหนัก ?
ในชีวิตประจำวัน คนเราอาจมีการรับโลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย จากการหายใจ สัมผัสผิวหนัง กินอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนักพวกนี้อยู่ โดยเฉพาะชุมชนหรือหมู่บ้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้โลหะหนักเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตต่างๆ ซึ่งบางโรงงานอาจมีการลักลอบปล่อยน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างผิดวิธี ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมแบบฉับพลันและระยะยาวได้
การวิเคราะห์โลหะหนัก เพื่อทราบว่าในน้ำนั้น ไม่ได้มีปริมาณของโลหะหนักมากเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และไม่ให้มีผลต่อสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในน้ำ เมื่อคนนำสัตว์น้ำนั้นมาประกอบอาหาร ต้องไม่มีการรับโลหะหนักจนส่งผลต่อสุขภาพและชีวิต
การตรวจวิเคราะห์โลหะหนักในน้ำเสียตามมาตรฐาน มีอะไรบ้าง?
ตามประกาศนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 76/2560 ต้องมีการตรวจหาโลหะหนักตามรายการดังนี้
•สังกะสี (Zn)
• โครเมียมเฮกซะวาเลนท์ (Cr6+)
• โครเมียมไตรวาเลนท์ (Cr3+)
• สารหนู (As)
• ทองแดง (Cu)
• ปรอท (Hg)
• แคดเมียม (Cd)
• แบเรียม (Ba)
• ซีลีเนียม (Se)
• ตะกั่ว (Pb)
• นิกเกิล (Ni)
• แมงกานีส (Mn)
• เงิน (Ag)
• เหล็ก (Fe)
ค่ามาตรฐานของโลหะหนักในน้ำเสีย
- สังกะสี (Zinc) ไม่เกิน ๕.๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
- โครเมียมเฮกซะวาเลนท์ (Hexavalent Chromium) ไม่เกิน ๐.๒๕ มิลลิกรัมต่อลิตร
- โครเมียมไตรวาเลนท์ (Trivalent Chromium) ไม่เกิน ๑.๗๕ มิลลิกรัมต่อลิตร
- สารหนู (Arsenic) ไม่เกิน ๐.๒๕ มิลลิกรัมต่อลิตร
- ทองแดง (Copper) ไม่เกิน ๒.๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
- ปรอท (Mercury) ไม่เกิน 0.0๐๕ มิลลิกรัมต่อลิตร
- แคดเมียม (Cadmium) ไม่เกิน 0.07 มิลลิกรัมต่อลิตร
- แบเรียม (Barium) ไม่เกิน 0.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
- ซีลีเนียม (Selenium) ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร
- ตะกั่ว (Lead) ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
- นิกเกิล (Nickel) ไม่เกิน ๑.๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
- แมงกานีส (Manganese) ไม่เกิน ๕.๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
- เงิน (Silver) ไม่เกิน ๑.๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
- เหล็กทั้งหมด (Total Iron) ไม่เกิน ๑๐.๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
จากพารามิเตอร์ที่กล่าวไปข้างต้น ทางห้องปฏิบัติการบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด สามารถรับวิเคราะห์คุณภาพน้ำ โดยราคาค่าวิเคราะห์โลหะหนักในน้ำเสียจะอยู่ที่ 7,950 บาท ต่อ 1 ตัวอย่าง (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
การวิเคราะห์โลหะหนักทำได้อย่างไร ?
วิธีปฏิบัติการหาค่าโลหะหนัก จะแบ่งขั้นตอนต่างๆ ได้แก่
- การเตรียมตัวอย่างน้ำ
- การเตรียมสารมาตรฐานสำหรับสอบเทียบ
- การวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยเครื่องมือขั้นสูง เช่น Inductively Coupled Plasma (ICP-OES, ICP-AE) หรือ Atomic Absorption Spectrometer (AA, AAs)
- การคำนวณผลข้อมูล
เราปฏิบัติตามคู่มือมาตรฐาน Standard Method for Examination of water and wastewater (AWWA, APHA, WEF) Part 3125. ซึ่งทุกท่านสามารถดูวิธีและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ค่ะ
การวิเคราะห์โลหะหนัก สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งอาหาร น้ำดื่ม หรือแม้แต่กระทั่งน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ
สามารถสอบถามราคาและส่วนลดพิเศษ ได้ที่ เบอร์โทร 062-337-0067
นึกถึงวิเคราะห์คุณภาพน้ำ นึกถึงห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด (ว-302)
เรายินดีให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสียตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น pH COD BOD TSS TDS Sulfide เป็นต้น โดยเครื่องมือที่ทันสมัยและผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 8.00 – 17.00 น.
รับวิเคราะห์น้ำเสีย น้ำประปา น้ำดื่ม น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน
วิเคราะห์โลหะหนัก ทุกชนิด