เลขทะเบียน lab -302

วิเคราะห์ความกระด้าง

การวิเคราะห์ความกระด้าง (Hardness Water)

สารบัญ Table of Contents

การวิเคราะห์ (Hardness Water) ในตัวอย่างน้ำ โดยวิธี EDTA Titrimetric Method

ความกระด้างของน้ำ

ความกระด้างของน้ำ (Hardness Water) คือ น้ำที่มีส่วนประกอบของ แคลเซียม หรือ แมกนีเซียม ผสมอยู่ ซึ่งในการทดสอบความกระด้างของน้ำ สามารถทดสอบได้โดย นำน้ำกระด้างจะทำปฏิกิริยากับ อินดิเคเตอร์ (Eriochrome black T) เมื่อทำการไตเตรท น้ำที่มีส่วนประกอบของ แคลเซียม หรือ แมกนีเซียม ผสมอยู่ ด้วยสารละลายมาตรฐาน EDTA เพื่อหาปริมาณ แคลเซียม หรือ แมกนีเซียม ที่อยู่ภายในน้ำ และคำนวณหาค่าความกระด้างของน้ำ

รับวิเคราะห์น้ำเสีย น้ำกระด้าง พารามิเตอร์อื่นๆ ทุกชนิด

เครื่องมือและอุปกรณ์ในการวิเคราะห์ Hardness Water

วิเคราะห์ Total Hardness

  1. ขวดปรับปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 1,000 มิลลิลิตร
  2. บีกเกอร์ (Beaker)
  3. กระบอกตวงสาร (cylinder)
  4. ขวดสําหรับฉีดล้างชนิดพลาสติก (WashingBottle)
  5. ปิเปตแบบขีด (Measuring,GraduatedPipette) ขนาด 1,2,5และ 10 มิลลิลิตร
  6. ปิเปตแบบปริมาตร (Volumetricpipette) 5 และ 10 มิลลิลิตร
  7. บิวเรต (Microburette) ขนาด 25 มิลลิลิตร
  8. กระจกนาฬิกา (Glasswatch)
  9. ขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyerflask) ขนาด 125 มิลลิลิตร
  10. เครื่องกวนสารชนิดแม่เหล็กพร้อมให้ความร้อน (Hotplate magnetic stirrers)

สารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์ (Hardness Water)

  1. สารละลายบัฟเฟอร์
  2. สารละลายมาตรฐาน แคลเซียม (CaCO3) 0.01 M
  3. สารมาตรฐาน EDTA 0.01 M
  4. อีริโอโครมแบล็คที (Eriochrome Black T)
  5. เอททิลเรด (Methyl red indicator)
  6. แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ ( NH4OH ) ความเข้มข้น 3N
  7. กรดไฮโดรคลอริก (HCl) ความเข้มข้น 1+1 HCl N

รายละเอียดการเตรียมสารและข้อมูลเพิ่มเติมทุกท่านสามารถดูได้ที่
Standard Method for the Examination of Water and Wastewater 23rd EDITION EDTA , Titrimetric Method Part 2340 C

ขั้นตอนการทดสอบ Hardness Water

วิเคราะห์น้ำกระด้าง

  1. นำตัวอย่างที่จะทำการวิเคราะห์ ปริมาตร 25 มิลลิลิตร และทำการเจือจางด้วยน้ำกลั่นให้เป็น 50 มิลลิลิตร
    ใส่ลงในขวดรูปชมพู่
  2. ทำการเติมสารละลายบัฟเฟอร์ 1-2 มิลลิลิตร (โดยปกติ 1 มิลลิลิตร เพียงพอที่จะทำให้ได้ค่า pH 10.0 ± 1)
  3. จากนั้นเติมสารละลาย อินดิเคเตอร์ 2-3 หยด
  4. เริ่มการไตเเตรทโดยใช้สารละลาย EDTA อย่างช้าๆ โดยจุดยุติ เป็นสีน้ำเงิน
  5. บันทึกปริมาณสารละลาย EDTA ที่ใช้

ความกระด้างของน้ำ(mg/L) = (ความเข้มข้นของ EDTA ×ปริมาณของEDTA ที่ใช้×10^5)/ปริมาณของตัวอย่างที่ใช้

เป็นอย่างไรบ้าง การวิเคราะห์หาความกระด้างของน้ำ ไม่ซับซ้อนเลยใช่ไหมครับ หากสนใจหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสีย สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางต่างๆ

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ บริการวิเคราะห์น้ำเสีย
062-337-0067
sscoillab@thailandwastemanagement.com

รับวิเคราะห์น้ำเสีย น้ำประปา น้ำดื่ม น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน 

วิเคราะห์โลหะหนัก ทุกชนิด

ติดตามเราได้ที่ TIKTOK - Thaitestlab

วิเคราะห์แม่นยำ ราคาย่อมเยาว์

รับผลวิเคราะห์ภายใน 3-5 วัน

การันตีเรื่องคุณภาพการวิเคราะห์

บุคลากรผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 10 ปี

ผ่านการอบรม QA/QC  ข้อกำหนด ISO17025 และ หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

อุปกรณ์มาตรฐานระดับสากล

ตามมาตรฐานสมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยและมาตรฐานจากอเมริกา

บริการครบวงจร

มีบริการรับตัวอย่างถึงที่ ยินดีให้คำปรึกษา รวมทั้งคำแนะนำในด้านต่างๆ ฟรี

อ่านบทความน่ารู้เพิ่มเติมได้เลย

การจัดการของเสียห้องปฏิบัติการ

การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?

การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน

Read More »
กระดาษลิตมัส

กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออะไร? ใช้งานอย่างไร?

กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) เป็นเครื่องมือทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลาย กระดาษลิตมัสมีบทบาทสำคัญในการทำงานในห้องปฏิบัติการ

Read More »
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน

ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) คืออะไร?

ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ปฏิกิริยานี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้สารอีกตัวหนึ่งได้รับอิเล็กตรอนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างต่อเนื่อง

Read More »
วิธีตรวจน้ำดื่ม ด้วยตนเอง

วิธีการเช็กคุณภาพน้ำดื่มด้วยตัวเองเบื้องต้น

น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา เราต้องแน่ใจว่าน้ำที่เราดื่มนั้นสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้

Read More »
ตรวจคุณภาพน้ำดื่ม

วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด

Read More »

แชร์บทความ

Facebook
Pinterest
LinkedIn