สารบัญ Table of Contents
วิธีในการวิเคราะห์น้ำเพื่อหาค่าซัลไฟด์ (Sulfide)
การวิเคราะห์น้ำเพื่อหาค่าซัลไฟด์ (Sulfide)ในตัวอย่างน้ำและน้ำเสีย โดยวิธี Iodometric Method ว่ามีวิธีการทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย
การวิเคราะห์ซัลไฟด์ (Sulfide) คือ การวิเคราะห์สารประกอบซัลไฟด์ที่สามารถละลายได้ด้วยกรดในตัวอย่าง จะทำปฏิกิริยากับไอโอดีนที่มากเกินพอ ซัลไฟด์ในสารละลายจะถูกออกซิไดซ์ไปเป็นซัลเฟอร์ และทำการไตเตรทไอโอดีนคงเหลือ ด้วยสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต เพื่อหาปริมาณไอโอดีนที่ทำปฏิกิริยากับซัลไฟด์ และคำนวณกลับหาค่าซัลไฟด์นั่นเอง
รับวิเคราะห์ค่าซัลไฟล์ พารามิเตอร์น้ำเสียอื่นๆ ปรึกษาฟรี!!
เครื่องแก้วและอุปกรณ์ที่ใช้วิเคราะห์ค่า Sulfide
- ขวดบีโอดี (BOD Bottle) ขนาด 300 มิลลิลิตร
- บิวเรต (Burette) ขนาด 10 มิลลิตร
- ขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer Flask)
- ปิเปตแบบปริมาตร (Measuring Pipette) ขนาด 1 , 2 , 5 มิลลิลิตร
- ขวดปรับปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 1,000 มิลลิลิตร
- กระบอกตวง (Cylinder) 100 มิลลิลิตร
- เครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum Pump) และชุดกรอง กรวยบุชเนอร์
- กระดาษกรองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร
- ขวดสำหรับฉีดล้าง (Washing Bottle)
สารเคมีที่ใช้วิเคราะห์ Sulfide
- กรดไฮโดรคลอริก (HCl) ความเข้มขน 6 N
- สารละลายมาตรฐานไอโอดีน (Standard Iodine Solution) ความเข้มข้น 0.025 N
- น้ำแป้ง (Starch Solution)
- สารละลายซิงค์อะซิเตท (Zinc Acetate Solution) ความเข้มข้น 2 N
- สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide Solution) ความเข้มข้น 6 N
- สารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต (Sodium Thiosulfate Solution) 0.025 N
- สารละลายมาตรฐานซัลไฟด์ (Standard Sulfide Solution) ความเข้มข้น 1,000 mg Sulfide/L
- น้ำ DI water
รายละเอียดการเตรียมสารและข้อมูลเพิ่มเติมทุกท่านสามารถดูได้ที่ Standard Method for Examination of water and wastewater (AWWA, APHA, WEF) , 2017 , Part 4500-S2 F.ค่ะ
ขั้นตอนการวิเคราะห์ซัลไฟล์
- หยดซิงค์อะซิเตท 12 หยด/น้ำตัวอย่าง 300 มิลลิลิตร ลงในขวดบีโอดี เติมตัวอย่างน้ำลงไปประมาณครึ่งขวด และหยดสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 6-7 หยด เพื่อให้ pH > 9 รินน้ำจนเต็มขวด ปิดจุกให้สนิท เขย่าโดยคว่ำขวดไปมา 10-20 ครั้ง และตั้งทิ้งไว้ 30 นาที เพื่อให้เกิดการตกตะกอนของซิงค์ซัลไฟด์ (Zinc Sulfide , ZnS)
หากต้องการทำทันทีหลังจากเก็บตัวอย่าง ให้เติมน้ำใส่ขวดบีโอดี 300 มิลลิลิตร และทำขั้นตอนที่ 3 ได้เลย
- ทำการกรอง โดยใช้กระดาษกรองรองที่กรวยบุชเนอร์ ฉีดน้ำลงไปเล็กน้อย เพื่อให้กระดาษกรองแนบกับตัวกรวย เปิดเครื่องดูดสุญญากาศ พร้อมรินน้ำส่วนใสลงไป ประมาณครึ่งขวด เขย่าขวดและเทส่วนตะกอนลงไป
เมื่อกรองเสร็จ พับกระดาษกรองที่มีตะกอน ใส่กลับคืนในขวดบีโอดี
เติมน้ำ DI Water ปริมาตร 100 มิลลิลิตร ลงไปในขวดบีโอดี ปิเปตกรดไฮโดรคลอริก 2 มิลลิลิตร และ ปิเปตไอโอดีน 1 มิลลิตร ตามลงไป (จนมีสีเหลืองของไอโอดีน พร้อมจดปริมาตรที่เติมลงไป)
ไตเตรทด้วยสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต จนเป็นสีเหลืองฟางข้าว โดยใช้น้ำแป้ง 1 มิลลิลิตร เป็นอินดิเคเตอร์เพื่อให้เกิดสี จากนั้นไตเตรทต่อจนสีน้ำเงินของน้ำแป้งหายไป จดปริมาตรที่ใช้ไตเตรท
**การรักษาสภาพตัวอย่าง หากยังไม่ได้ทำการวิเคราะห์ ให้เก็บตัวอย่างใส่ในขวดแก้วหรือพลาสติก (PET) เติมซิงค์อะซิเตท 12 หยด/น้ำตัวอย่าง 300 มิลลิลิตร และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จน pH > 9 แช่เย็นที่อุณหภูมิ ≤ 6 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้ 7 วัน
การคำนวณผลการทดสอบ Sulfide
ซัลไฟด์ (มิลลิกรัมต่อลิตร) =
เมื่อ
A = ปริมาตรของสารละลายไอโอดีนที่ใช้ (มิลลิลิตร)
B = ความเข้มข้นของสารละลายไอโอดีน (นอร์มัล)
C = ปริมาตรของสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้ (มิลลิลิตร)
D = ความเข้มข้นของสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต (นอร์มัล)
เป็นยังไงบ้างคะ การวิเคราะห์หาค่าซัลไฟด์ ไม่ยากเลยใช่มั้ยคะ หากท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสียเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ทางช่องทางต่างๆ
ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ บริการวิเคราะห์น้ำเสีย
โทร 062-337-0067
sscoillab@thailandwastemanagement.com
นึกถึงวิเคราะห์คุณภาพน้ำ นึกถึงห้องปฏิบัติการ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด (ว-302)
เรายินดีให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและน้ำเสียตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น pH COD BOD TSS TDS Sulfide เป็นต้น โดยเครื่องมือที่ทันสมัยและผ่านการสอบเทียบจากสถาบันที่ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน
เปิดให้บริการทุกวัน จันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 8.00 – 17.00 น.
รับวิเคราะห์น้ำเสีย น้ำประปา น้ำดื่ม น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน
วิเคราะห์โลหะหนัก ทุกชนิด
บทความน่ารู้เพิ่มเติม
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ ทำอย่างไรบ้าง?
การจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างวิธีการจัดการของเสียในแต่ละชนิดกัน
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) คืออะไร? ใช้งานอย่างไร?
กระดาษลิตมัส (Litmus Paper) เป็นเครื่องมือทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลาย กระดาษลิตมัสมีบทบาทสำคัญในการทำงานในห้องปฏิบัติการ
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) คืออะไร?
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation Reaction) ปฏิกิริยานี้เกี่ยวข้องกับการสูญเสียอิเล็กตรอนของสารหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้สารอีกตัวหนึ่งได้รับอิเล็กตรอนและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างต่อเนื่อง
วิธีการเช็กคุณภาพน้ำดื่มด้วยตัวเองเบื้องต้น
น้ำดื่มเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา เราต้องแน่ใจว่าน้ำที่เราดื่มนั้นสะอาดและปลอดภัยต่อสุขภาพ การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้วิธีง่าย ๆ ต่อไปนี้
วิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม (Drinking Water Analysis)
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มจากขวดบรรจุ หรือว่าน้ำประปาที่สามารถนำมาดื่มได้ เพื่อดูคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี หรือทางด้านจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพตามกฎหมายที่กำหนด
น้ำเสียคืออะไร วิเคราะห์อย่างไร (Sewage Waste Analysis)
น้ำเสีย (Sewage waste) คืออะไร แล้วเรามีวิธีการวิเคราะห์ Analysis อย่างไรบ้าง